พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 8)

  1. ทิฏฐะ,ทิฐ,ทิฐ-
    หมายถึง [ทิดถะ-] (แบบ) ว. อันบุคคลเห็นแล้ว, ทันตาเห็น. (ป. ทิฏฺ; ส. ทฺฤษฺฏ).
  2. ทิฏฐานุคติ
    หมายถึง (แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺานุคติ ว่า ดำเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).
  3. ทิฏฐุชุกรรม
    หมายถึง (แบบ) น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  4. ทิฐธรรม
    หมายถึง (แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺธมฺม).
  5. ทิฐิ
    หมายถึง [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺิ; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  6. ทิด
    หมายถึง น. คำนำหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
  7. ทิต
    หมายถึง (แบบ) ว. รุ่งเรือง, สว่าง. (ป. ทิตฺต).
  8. ทิน
    หมายถึง (แบบ) ก. ให้แล้ว. (ป. ทินฺน).
  9. ทิน,ทิน,ทิน-
    หมายถึง [ทินนะ-] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  10. ทินกร
    หมายถึง [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  11. ทินศูนย์
    หมายถึง [ทินนะ-] น. วันร้าย (ใช้ในตำราหมอดู).
  12. ทินาท
    หมายถึง (โหร) น. เวลาตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงเที่ยงวัน.
  13. ทิพ,ทิพ-
    หมายถึง [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  14. ทิพจักขุ
    หมายถึง [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  15. ทิพย,ทิพย-,ทิพย์
    หมายถึง [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  16. ทิพยจักษุ
    หมายถึง [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  17. ทิพยจักษุญาณ
    หมายถึง น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, จุตูปปาตญาณ ก็เรียก. (ส. ทิพฺยจกฺษุ + ป. าณ; ป. ทิพฺพจกฺขุาณ).
  18. ทิพยญาณ
    หมายถึง น. ความรู้เป็นทิพย์.
  19. ทิพยพยาน
    หมายถึง น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
  20. ทิพยมานุษ
    หมายถึง น. ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์. (ส.).
  21. ทิพยรส
    หมายถึง น. รสทิพย์, รสเลิศ.
  22. ทิพยเนตร
    หมายถึง น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด. (ส.; ป. ทิพฺพเนตฺต).
  23. ทิพยโศรตร
    หมายถึง [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  24. ทิพา
    หมายถึง (แบบ) น. วัน.
  25. ทิพากร
    หมายถึง น. พระอาทิตย์.
  26. ทิพโสต
    หมายถึง [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  27. ทิม
    หมายถึง น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสำหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระราชวัง เช่น ทิมตำรวจ ทิมกลอง.
  28. ทิมดาบ
    หมายถึง (โบ) น. ทิมที่พวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ.
  29. ทิมทอง
    หมายถึง น. ชื่อดาวฤกษ์สตภิสัช.
  30. ทิว
    หมายถึง น. แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น ทิวเขา ทิวไม้.
  31. ทิว
    หมายถึง น. ชื่อธงที่มีรูปลักษณะคล้ายกระบอก, เทียว ก็ว่า.
  32. ทิว,ทิว-,ทิว-,ทิวะ
    หมายถึง [ทิวะ-] น. วัน; สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่เทวโลก หมายถึง ตาย. (ป., ส.).
  33. ทิวกาล
    หมายถึง น. เวลากลางวัน.
  34. ทิวงคต
    หมายถึง (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
  35. ทิวทัศน์
    หมายถึง [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียนหรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  36. ทิวส,ทิวส-,ทิวสะ
    หมายถึง [ทิวะสะ] (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  37. ทิวสภาค
    หมายถึง น. ส่วนของวัน. (ป.).
  38. ทิวา
    หมายถึง (แบบ) น. วัน. (ป., ส.).
  39. ทิวากร
    หมายถึง น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้าแนบนอน ทิวากรเราแนบประจำนาง. (กากี). (ป.).
  40. ทิวากาล
    หมายถึง น. เวลากลางวัน.
  41. ทิศ,ทิศา
    หมายถึง น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
  42. ทิศทาง
    หมายถึง น. แนว, ทางที่มุ่งไป.
  43. ทิศาดร
    หมายถึง (กลอน) น. ทิศ.
  44. ทิศานุทิศ
    หมายถึง น. ทิศน้อยทิศใหญ่. (ส.).
  45. ทิศาปาโมกข์
    หมายถึง น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  46. ทิ่ม
    หมายถึง ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
  47. ทิ่มตำ
    หมายถึง ว. อาการที่พูดทับถม ปรักปรำ ซํ้าเติมให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มตำ.
  48. ทิ่มแทง
    หมายถึง ก. ทิ่มให้ทะลุเข้าไป, อาการที่แทงซํ้าหลาย ๆ ครั้ง. ว. อาการที่พูดเสียดสีให้เจ็บใจ เรียกว่า พูดทิ่มแทง.
  49. ทิ้ง
    หมายถึง ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  50. ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
    หมายถึง ก. เอาใจใส่ดูแลบ้างไม่เอาใจใส่ดูแลบ้าง.
  51. ทิ้งกระจาด
    หมายถึง น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทึ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรยทาน ต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
  52. ทิ้งขว้าง
    หมายถึง ก. ไม่เอาใจใส่ดูแล, พรากหนีไป.
  53. ทิ้งจดหมาย
    หมายถึง ก. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์.
  54. ทิ้งถ่วง
    หมายถึง ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย.
  55. ทิ้งถ่อน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Albizia procera Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใบมน ๆ เล็ก ๆ ดอกสีเหลือง เปลือกใช้ทำยาได้.
  56. ทิ้งทวน
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำอย่างไว้ฝีมือ, ทำจนสุดความสามารถ, ไม่ทำอีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวยโอกาสทำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอำนาจ.
  57. ทิ้งทาน
    หมายถึง ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, โปรยทาน ก็ว่า.
  58. ทิ้งทูด
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกนกทึดทือ, เท้งทูด ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
  59. ทิ้งท้าย
    หมายถึง ก. ปล่อยทีเด็ดตอนลงท้าย.
  60. ทิ้งฟ้อง
    หมายถึง (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกำหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว.
  61. ทิ้งมะพร้าวห้าว
    หมายถึง น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
  62. ทิ้งย่อ
    หมายถึง ก. กระโดดลงมาแล้วย่อหัวเข่าพร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้า.
  63. ทิ้งไพ่
    หมายถึง ก. ปล่อยไพ่ตัวที่ไม่ต้องการให้แก่มือล่าง.
  64. ที
    หมายถึง น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอกจำนวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  65. ที
    หมายถึง น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  66. ทีฆ,ทีฆ-
    หมายถึง [ทีคะ-] (แบบ) ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ป.; ส. ทีรฺฆ).
  67. ทีฆชาติ
    หมายถึง น. งู. (ป.).
  68. ทีฆนิกาย
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.
  69. ทีฆสระ
    หมายถึง น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
  70. ทีฆายุ
    หมายถึง (แบบ) ว. อายุยืน. (ป.).
  71. ทีท่า
    หมายถึง น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
  72. ทีนี้
    หมายถึง น. ต่อนี้ไป เช่น ทีนี้จะไม่ทำอีก.
  73. ทีป,ทีปะ
    หมายถึง [ทีบ, ทีปะ] (แบบ) น. เกาะ; แสงไฟ. (ป., ส.).
  74. ทีม
    หมายถึง น. ชุด, หมู่, คณะ. (อ. team).
  75. ทีรฆ,ทีรฆ-
    หมายถึง [ทีระคะ-] (แบบ) ว. ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ส.; ป. ทีฆ).
  76. ทีหลัง
    หมายถึง น. ภายหลัง, หลังจากนั้น, ทีหน้าทีหลัง ก็ว่า.
  77. ทีเดียว
    หมายถึง ว. ฉับพลัน, ทันที, เช่น พูดออกมาทีเดียวนะ; แท้จริง เช่น เก่งทีเดียว.
  78. ทีเด็ด
    หมายถึง น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด.
  79. ทีเล่นทีจริง
    หมายถึง (สำ) ก. แสร้งทำเล่น ๆ หรือล้อหลอกเป็นการลองเชิง แต่เมื่อเห็นเขาเผลอตัวหรือไม่ว่าก็เอาจริง, เล่นก็ได้ จริงก็ได้.
  80. ทีเอ็นที
    หมายถึง น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒ °ซ. เป็นวัตถุระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
  81. ทีใครทีมัน
    หมายถึง น. โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น.
  82. ที่
    หมายถึง น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คำใช้แทนคำนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คำนำหน้าสังขยาบอกลำดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  83. ที่กัลปนา
    หมายถึง (กฎ) น. ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา.
  84. ที่จริง
    หมายถึง ว. จริง, แท้, แน่นอน. สัน. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร, อันที่จริง หรือ ตามที่จริง ก็ว่า.
  85. ที่ดิน
    หมายถึง น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำนํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
  86. ที่ดินของรัฐ
    หมายถึง (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
  87. ที่ดินมือเปล่า
    หมายถึง น. ที่ดินซึ่งผู้ครอบครองยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน.
  88. ที่ทาง
    หมายถึง น. พื้นที่, ที่ดิน.
  89. ที่ทำการ
    หมายถึง น. สถานที่ทำงาน.
  90. ที่ธรณีสงฆ์
    หมายถึง (กฎ) น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
  91. ที่นอน
    หมายถึง น. ฟูก, เบาะ, เครื่องปูลาดสำหรับนอน, ราชาศัพท์เรียกว่า พระที่.
  92. ที่นั่ง
    หมายถึง (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ประทับสำหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  93. ที่ปรึกษา
    หมายถึง น. ผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนำ.
  94. ที่พึ่ง
    หมายถึง น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัยยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตำราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  95. ที่มั่น
    หมายถึง น. ที่ตั้งสำหรับต่อสู้.
  96. ที่มา
    หมายถึง น. ต้นเค้า, ต้นกำเนิด.
  97. ที่รัก
    หมายถึง น. คนรัก, คำแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  98. ที่ราชพัสดุ
    หมายถึง (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  99. ที่ราบ
    หมายถึง น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  100. ที่ราบสูง
    หมายถึง น. ที่ราบซึ่งสูงกว่าระดับผิวโลกโดยรอบตั้งแต่ ๓๐๐ เมตรขึ้นไป.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 8)"