พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 7)

  1. ทาย
    หมายถึง น. ป่า. (ป.; ส. ทาว).
  2. ทายก
    หมายถึง [-ยก] น. ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า ทายิกา. (ป., ส.).
  3. ทายัช
    หมายถึง (แบบ) น. ทรัพย์มรดก. (ป. ทายชฺช; ส. ทายาทฺย).
  4. ทายา
    หมายถึง ว. ดี, สำคัญ, ที่ต้องการ, เช่น กูจะให้ขนมของทายา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทยา ก็ใช้.
  5. ทายาด
    หมายถึง ว. ยวดยิ่ง, ยิ่งยวด, เช่น ทนทายาด, พระญาณสมเด็จทรง ทายาด. (ยวนพ่าย).
  6. ทายาท
    หมายถึง น. ผู้สืบสันดาน, ผู้สืบสกุล, โดยปริยายหมายถึงผู้รับหรือผู้อยู่ในฐานะที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททางการเมือง; (กฎ) บุคคลรวมทั้งทารกในครรภ์มารดาซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม ถ้าสิทธินั้นเกิดขึ้นตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม. (ป., ส.).
  7. ทายาทโดยธรรม
    หมายถึง (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับที่กฎหมายกำหนดไว้.
  8. ทายิกา
    หมายถึง ดู ทายก.
  9. ทาร,ทาร-
    หมายถึง [ทาระ-] (แบบ) น. เมีย เช่น ทารทาน คือ การให้เมียเป็นทาน. (ป., ส.).
  10. ทารก
    หมายถึง น. เด็กที่ยังไม่เดียงสา, เด็กเล็ก ๆ, เด็กแบเบาะ. (ป., ส.).
  11. ทารพี
    หมายถึง [ทาระ-] (กลอน) น. ทัพพี, ทรพี, เช่น จัดแจงข้าวปลาทารพี. (ขุนช้างขุนแผน).
  12. ทาริกา
    หมายถึง น. เด็กหญิง. (ป., ส.).
  13. ทารุ
    หมายถึง (แบบ) น. ท่อนไม้, ฟืน, ชิ้นไม้. (ป., ส.).
  14. ทารุณ,ทารุณ-
    หมายถึง [ทารุนนะ-] ว. ดุร้าย, โหดร้าย, ร้ายกาจ. (ป., ส.).
  15. ทารุณกรรม
    หมายถึง [ทารุนนะกำ] น. การกระทำอย่างโหดร้าย. (ส.).
  16. ทาว
    หมายถึง ก. อ้อนวอน, วิงวอน, ขอร้อง, เช่น ต้องทาวกันแล้วทาวกันเล่า.
  17. ทาษ
    หมายถึง (โบ) น. ทาส.
  18. ทาส,ทาส-
    หมายถึง [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาสความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาสการพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าวทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่า ทาสสินไถ่, ผู้ที่เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
  19. ทาสทาน
    หมายถึง [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
  20. ทาสน้ำเงิน
    หมายถึง ดู น้ำเงิน ๑.
  21. ทาสปัญญา
    หมายถึง [ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).
  22. ทาสี
    หมายถึง น. ทาสผู้หญิง. (ป., ส.).
  23. ทำ
    หมายถึง ก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.
  24. ทำกรรม
    หมายถึง ก. ทำสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ, ทำกรรมทำเวรก็ว่า.
  25. ทำการบ้าน
    หมายถึง ก. ทำงานหรือทำแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทำนอกเวลาเรียน.
  26. ทำขวัญ
    หมายถึง ก. ทำพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทำขวัญนาค ทำขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
  27. ทำครัว
    หมายถึง ก. หุงหาอาหาร.
  28. ทำคลอด
    หมายถึง ก. ช่วยให้ทารกคลอดจากครรภ์มารดา.
  29. ทำความ
    หมายถึง ก. ก่อเหตุขึ้น, ก่อเรื่องขึ้น.
  30. ทำคุณ
    หมายถึง ก. ประกอบพิธีเพื่อทำร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถาเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทำคุณทำไสย ก็ว่า.
  31. ทำคุณบูชาโทษ
    หมายถึง (สำ) ก. ทำคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทำดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
  32. ทำงน
    หมายถึง ก. ห่วงใย, ยุ่งใจ. น. ภาระ. (ข. ทํงน่ ว่า หนัก).
  33. ทำซ้ำ
    หมายถึง (กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  34. ทำตัว
    หมายถึง ก. วางตัว, ประพฤติ, เช่น ทำตัวดี ทำตัวไม่ดี.
  35. ทำตา
    หมายถึง ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทำตาเล็กตาน้อย ทำตาขุ่นตาเขียว.
  36. ทำที
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาหรืออาการให้ผู้อื่นสำคัญผิด.
  37. ทำท่า
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  38. ทำนบ
    หมายถึง น. สิ่งก่อสร้างที่ปิดกั้นลำน้ำไม่ให้น้ำไหลผ่าน.
  39. ทำนวย
    หมายถึง น. หมู่, เหล่า.
  40. ทำนวย
    หมายถึง น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น แท้ทวยทำนวยน้อม. (สมุทรโฆษ). (แผลงมาจาก ทวย).
  41. ทำนอง
    หมายถึง น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำนองคลองธรรม ทำนองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทำนองสวด ทำนองเทศน์ ทำนองเพลง.
  42. ทำนองเสนาะ
    หมายถึง น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  43. ทำนาบนหลังคน
    หมายถึง (สำ) ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น.
  44. ทำนาย
    หมายถึง ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  45. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ
    หมายถึง (สำ) ก. ทำการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์.
  46. ทำนุ
    หมายถึง ก. บำรุง, อุดหนุน. (แผลงมาจาก ทะนุ).
  47. ทำนุบำรุง
    หมายถึง ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทำนุบำรุงบิดามารดา ทำนุบำรุงบุตรธิดา; ซ่อมแซมรักษา, อุดหนุนให้เจริญขึ้น, เช่น ทำนุบำรุงวัด; ธำรงรักษาไว้ เช่น ทำนุบำรุงศาสนา ทำนุบำรุงบ้านเมือง, ทะนุบำรุง ก็ว่า.
  48. ทำนูล
    หมายถึง ก. บอก, กล่าว; ยกขึ้นเทินหัว. (แผลงมาจาก ทูล). (ข.).
  49. ทำบาป
    หมายถึง ก. ประกอบกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น, ทำบาปทำกรรม ก็ว่า.
  50. ทำบุญ
    หมายถึง ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.
  51. ทำบุญเอาหน้า
    หมายถึง (สำ) ก. ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  52. ทำปลา
    หมายถึง ก. ทำปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุงออกเป็นต้นให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร.
  53. ทำปากทำคอ
    หมายถึง ก. จีบปากจีบคอเวลาพูด.
  54. ทำพิษ
    หมายถึง (ปาก) ก. ให้ผลร้าย.
  55. ทำฟัน
    หมายถึง ก. ทำให้ฟันอยู่ในสภาพปรกติหรือใช้การได้ด้วยการอุด ถอน หรือใส่ฟันใหม่ เป็นต้น.
  56. ทำมัง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Litsea petiolata Hook.f. ในวงศ์ Lauraceae ใบและเนื้อไม้มีกลิ่นคล้ายแมงดา, ชะมัง ก็เรียก.
  57. ทำร้าย
    หมายถึง ก. ทำให้บาดเจ็บหรือเสียหาย.
  58. ทำร้ายร่างกาย
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.
  59. ทำฤทธิ์
    หมายถึง ก. ทำพยศหรืออาละวาดเพื่อให้ได้รับการเอาอกเอาใจ (มักใช้แก่เด็ก), ทำฤทธิ์ทำเดช ก็ว่า.
  60. ทำลาย
    หมายถึง ก. อาการที่ทำให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย, ทำให้พัง เช่น ทำลายกำแพง, ทำให้ฉิบหาย เช่น ทำลายวงศ์ตระกูล, ทำให้หมดสิ้นไป เช่น ทำลายชื่อเสียง ทำลายหลักฐาน. (แผลงมาจากทลาย).
  61. ทำลายขวัญ
    หมายถึง ก. ทำให้เสียขวัญ.
  62. ทำลายสถิติ
    หมายถึง ก. สร้างสถิติขึ้นมาใหม่ให้ดีกว่าเหนือกว่าสถิติเดิม.
  63. ทำลิง
    หมายถึง ก. ทำอาการซุกซนอย่างลิงอย่างค่าง, ทำลิงทำค่าง ก็ว่า.
  64. ทำวน
    หมายถึง ก. ห่วงใย, วุ่นวายใจ.
  65. ทำวัตร
    หมายถึง ก. กระทำกิจที่พึงกระทำตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่นไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทำวัตรพระ ก็ว่า; ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
  66. ทำวัตรค่ำ
    หมายถึง ก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็นหรือคํ่า.
  67. ทำวัตรเช้า
    หมายถึง ก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเช้า.
  68. ทำสาว
    หมายถึง ก. ตบแต่งช่องคลอดให้เหมือนสภาพเดิม.
  69. ทำหน้าทำตา
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทำหน้าทำตาล้อหลอก.
  70. ทำหมัน
    หมายถึง ก. ทำการคุมกำเนิดโดยกรรมวิธีที่จะไม่ให้ชายหรือหญิงสามารถมีลูกอีกต่อไป.
  71. ทำหูทวนลม
    หมายถึง ก. ได้ยินแต่ทำเป็นไม่ได้ยิน.
  72. ทำเจ็บ
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเสียเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  73. ทำเนา
    หมายถึง ว. ช่างเถิด, ตามมี.
  74. ทำเนียบ
    หมายถึง น. ที่พักทางราชการของผู้มีตำแหน่งสูง เช่น ทำเนียบผู้สำเร็จราชการ, ที่ทำการของคณะรัฐบาล เรียกว่า ทำเนียบรัฐบาล.
  75. ทำเนียบ
    หมายถึง ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลำดับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบราชการ, การแบ่งประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบช้าง ทำเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
  76. ทำเนียบนาม
    หมายถึง น. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทำเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.
  77. ทำเนียม
    หมายถึง ว. เทียม. (โบ) น. ธรรมเนียม. (สามดวง). (แผลงมาจาก เทียม).
  78. ทำเป็น
    หมายถึง ก. แสร้งแสดง เช่น ทำเป็นหลับ; วางท่า เช่น ทำเป็นคุณนาย, ใช้ว่า ทำเป็นว่า ก็มี.
  79. ทำเล
    หมายถึง น. ถิ่นที่, ตำบล, ภูมิที่ตั้ง, (มักใช้แก่แหล่งทำมาหากิน) เช่น ทำเลการค้า.
  80. ทำเวร
    หมายถึง ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำงาน โดยเฉพาะทำความสะอาดห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทำเวรทำกรรม ก็ว่า.
  81. ทำเวลา
    หมายถึง ก. ทำให้ได้เวลาตามกำหนด, เร่งให้เร็วขึ้น.
  82. ทำเสน่ห์
    หมายถึง ก. ทำให้เพศตรงข้ามหลงรักด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์.
  83. ทำเสียเจ็บ
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเอาเจ็บ ก็ว่า.
  84. ทำเหตุ
    หมายถึง ก. ก่อเหตุ.
  85. ทำเอาเจ็บ
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้เดือดร้อนลำเค็ญ, ทำเจ็บ หรือ ทำเสียเจ็บ ก็ว่า.
  86. ทำแท้ง
    หมายถึง ก. รีดลูก, มีเจตนาทำให้ทารกออกจากครรภ์มารดาก่อนกำหนดและตาย.
  87. ทำโทษ
    หมายถึง ก. ลงโทษ.
  88. ทำใจ
    หมายถึง ก. ควบคุมใจ.
  89. ทำให้,ทำเอา
    หมายถึง ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทำให้เขาได้ไปเมืองนอก ทำเอาเขายํ่าแย่ไป.
  90. ทำได้,ทำได้ลงคอ
    หมายถึง ก. ทำอย่างไม่เกรงใจ.
  91. ทำไปทำมา
    หมายถึง ก. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ทำไปทำมากลับได้กำไร ทำไปทำมาจวนติดตะราง.
  92. ทำไพ่
    หมายถึง ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทำไพ่อาจทำให้เป็นประโยชน์แก่มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  93. ทำไฟ
    หมายถึง ก. เดินสายไฟ; ทำให้เกิดกระแสไฟ เช่น เครื่องทำไฟ.
  94. ทำไม
    หมายถึง ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทำอะไร เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ ใครจะทำไม.
  95. ทิคัมพร
    หมายถึง [-พอน] น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นคนเปลือย, คู่กับ นิกายเศวตัมพร. (ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า).
  96. ทิฆัมพร
    หมายถึง [-พอน] น. ท้องฟ้า. (ป. ทีฆ + อมฺพร).
  97. ทิงเจอร์
    หมายถึง น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึกไอโอดีนในเอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
  98. ทิช,ทิช-,ทิชะ
    หมายถึง [ทิชะ-] (แบบ) น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง คือ นก และพราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช).
  99. ทิชากร
    หมายถึง น. “ผู้เกิด ๒ ครั้ง”, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
  100. ทิชาชาติ
    หมายถึง น. “ผู้เกิด ๒ ครั้ง”, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 7)"