พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 6)

  1. ทับเกษตร
    หมายถึง [-กะเสด] น. ที่อยู่ริมเขตบ้าน, เขตที่, พระระเบียง.
  2. ทับเกษตร
    หมายถึง [-กะเสด] น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง.
  3. ทับเล็ก
    หมายถึง ดู ค่อม ๒.
  4. ทับแพ
    หมายถึง น. กระท่อมบนแพ.
  5. ทัป
    หมายถึง น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คำหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
  6. ทัปนะ
    หมายถึง [ทับปะนะ] (แบบ) น. แว่นส่องหน้า, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้. (ป. ทปฺปน; ส. ทรฺปณ).
  7. ทัพ
    หมายถึง น. กองทหาร, ลักษณนามว่า กอง หรือ ทัพ.
  8. ทัพ,ทัพ-,ทัพ-,ทัพพะ
    หมายถึง [ทับพะ-] น. เครื่องใช้ต่าง ๆ, สมบัติ, เงิน, มักใช้ประกอบส่วนหน้าสมาส. (ป.).
  9. ทัพพี
    หมายถึง น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทรพี ก็ว่า. (ป. ทพฺพิ; ส. ทรฺวี).
  10. ทัพสัมภาระ
    หมายถึง [ทับพะ-] น. สิ่งหรือเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถ หรือเกวียน เป็นต้น. (ป.).
  11. ทัศ
    หมายถึง (แบบ) ว. สิบ เช่น ทัศนัข. (ส.); ครบ, ถ้วน, เช่น บารมี ๓๐ ทัศ.
  12. ทัศน-
    หมายถึง [ทัดสะนะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  13. ทัศน
    หมายถึง [ทัดสะนะ-] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  14. ทัศนคติ
    หมายถึง น. แนวความคิดเห็น.
  15. ทัศนวิสัย
    หมายถึง (ภูมิ) น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร.
  16. ทัศนศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งว่าด้วยเรื่องราวของแสง. (อ. optics).
  17. ทัศนศิลป์
    หมายถึง น. ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วยการจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม.
  18. ทัศนศึกษา
    หมายถึง ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วยการดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
  19. ทัศนะ
    หมายถึง [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  20. ทัศนา
    หมายถึง [ทัดสะนา] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  21. ทัศนาการ
    หมายถึง น. อาการดู.
  22. ทัศนาจร
    หมายถึง ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศหรือโบราณสถานเป็นต้น.
  23. ทัศนีย
    หมายถึง [ทัดสะนียะ-] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย; ส. ทรฺศนีย).
  24. ทัศนีย-
    หมายถึง [ทัดสะนียะ-] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย; ส. ทรฺศนีย).
  25. ทัศนียภาพ
    หมายถึง น. ภาพที่น่าดู, มักใช้หมายถึงภูมิประเทศที่สวยงาม.
  26. ทัศนีย์
    หมายถึง [ทัดสะนี] ว. น่าดู, งาม, ทรรศนีย์ ก็ใช้. (ป. ทสฺสนีย; ส. ทรฺศนีย).
  27. ทัศนูปกรณ์
    หมายถึง น. อุปกรณ์ช่วยการเห็น เช่น กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์.
  28. ทัศน์
    หมายถึง [ทัด] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทรรศนะ ก็ใช้. (ป. ทสฺสน; ส. ทรฺศน).
  29. ทัศไนย
    หมายถึง [ทัดสะไน] ว. น่าดู, งาม. (แผลงมาจาก ทัศนีย์).
  30. ทัสนานุตริยะ
    หมายถึง [ทัดสะนานุดตะริยะ] น. สิ่งที่เห็นอันประเสริฐ, การเห็นอันประเสริฐ เช่นการเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป. ทสฺสนานุตฺตริย).
  31. ทัฬหะ,ทัฬหิ,ทัฬหี
    หมายถึง [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ, ทฺฤฒี).
  32. ทัฬหิกรณ์
    หมายถึง [ทันหิกอน] น. เครื่องทำให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชักมาอ้างเพื่อให้คำพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
  33. ทัฬหีกรรม
    หมายถึง [ทันฮีกำ] น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น ทำทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  34. ทั่ง
    หมายถึง น. แท่งเหล็กสำหรับช่างใช้รองรับในการตีโลหะบางชนิด เช่นเหล็ก ทอง ให้เป็นรูปต่าง ๆ.
  35. ทั่ว
    หมายถึง ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกหนทุกแห่ง, เช่น ทั่วตัว ทั่วโลก ทั่วหน้า.
  36. ทั่วถึง
    หมายถึง ว. ถึงทุกคน, ครบทั่วทุกคน.
  37. ทั่วทุกสารทิศ,ทั่วทุกหัวระแหง
    หมายถึง ว. ทั่วทุกหนทุกแห่ง.
  38. ทั่วไป,ทั่ว ๆ ไป
    หมายถึง ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จำกัด เช่น กฎทั่วไป, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป.
  39. ทั้ง
    หมายถึง ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อมด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กำหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทำทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนำซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทำให้ท้องผูกทั้งจะทำให้ใจสั่นอีกด้วย.
  40. ทั้ง กับ,ทั้ง...กับ,ทั้ง และ,ทั้ง...และ
    หมายถึง สัน. รวมทั้ง ๒ อย่าง เช่น ทั้งผักกับผลไม้ล้วนน่ากิน ทั้งผักและผลไม้ล้วนน่ากิน.
  41. ทั้ง ทั้ง,ทั้ง...ทั้ง
    หมายถึง ว. ด้วย เช่น ทั้งกินทั้งเล่น คือ กินด้วยเล่นด้วย ให้ทั้งข้าวทั้งเงิน คือ ให้ข้าวด้วยเงินด้วย. สัน. และ เช่น ทั้งภูเก็ตทั้งเชียงใหม่ล้วนน่าเที่ยว.
  42. ทั้งกลม
    หมายถึง ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น; เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องด้วยว่า ตายทั้งกลม คือ ตายทั้งหมด.
  43. ทั้งขึ้นทั้งล่อง
    หมายถึง (สำ) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทำนองไม่ดี).
  44. ทั้งคน
    หมายถึง ว. ใช้ประกอบท้ายคำหรือความ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำหรือความข้างหน้า เช่น แม่ทั้งคน.
  45. ทั้งดุ้น
    หมายถึง ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น.
  46. ทั้งที
    หมายถึง ว. ไหน ๆ ก็ได้โอกาสแล้ว เช่น มาทั้งที.
  47. ทั้งที่,ทั้ง ๆ ที่
    หมายถึง ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกำลังเจริญก้าวหน้า.
  48. ทั้งนั้น
    หมายถึง ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนแต่สาว ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น.
  49. ทั้งนี้
    หมายถึง สัน. ตามที่กล่าวมานี้ เช่น ทั้งนี้กล่าวตามที่เขาบันทึกไว้หรือกล่าวตามพจนานุกรม.
  50. ทั้งนี้ทั้งนั้น
    หมายถึง ว. พอสรุปลงได้ว่า.
  51. ทั้งปวง,ทั้งผอง,ทั้งเพ,ทั้งมวล,ทั้งสิ้น,ทั้งหมด
    หมายถึง ว. หมดด้วยกัน.
  52. ทั้งหลาย
    หมายถึง ว. หมดด้วยกัน เช่น คนทั้งหลายเกิดมาแล้วต้องตาย, มีจำนวนมาก เช่น คนทั้งหลายเขาพูดกันว่า.
  53. ทั้งอย่างนั้น
    หมายถึง ว. ทั้ง ๆ ที่เป็นอยู่ในลักษณะอาการเช่นนั้น.
  54. ทั้งเนื้อทั้งตัว
    หมายถึง ว. ทั้งหมดเท่าที่มีติดตัวอยู่.
  55. ทา
    หมายถึง ก. คำรวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทาเกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปมา ก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
  56. ทาก
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกปลิง ในชั้น Hirudinea ลำตัวขนาดต่าง ๆ กัน ลักษณะเป็นปล้อง ยืดหดได้มาก อยู่ตามป่า มีสารฮิรูดิน (hirudin) เมื่อดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นทำให้เลือดไม่แข็งตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Haemadipsa interrupta ในวงศ์ Hirudidae.
  57. ทาก
    หมายถึง น. ชื่อหอยกาบเดี่ยวหลายชนิด หลายวงศ์ ในชั้น Gastropoda เช่น ชนิด Achatina fulica วงศ์ Achatinidae มีเปลือกหุ้มตัว, ชนิด Limax flavus วงศ์ Limacidae ตัวแบนยาว มีเปลือกเล็กแบนมากไม่หุ้มตัว ทั้ง ๒ ชนิดอยู่บนบก.
  58. ทาง
    หมายถึง น. เรียกใบของต้นไม้บางชนิด เช่น หมาก มะพร้าว กล้วย, ลักษณนามเรียกใบหมาก ใบมะพร้าว ใบกล้วย เป็นต้น ว่า ทาง เช่น ใบกล้วยทางหนึ่ง ใบมะพร้าว ๒ ทาง.
  59. ทาง
    หมายถึง น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  60. ทางการ
    หมายถึง น. ระเบียบปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทาง, ฝ่ายที่เป็นกิจการ. ว. ที่เป็นงานเป็นการ.
  61. ทางข้าม
    หมายถึง น. ทางม้าลาย; (กฎ) พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้าม โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทาง และหมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้าข้าม ไม่ว่าในระดับใต้พื้นดินหรือเหนือพื้นดิน.
  62. ทางช้างเผือก
    หมายถึง น. แสงกลุ่มดาวซึ่งแผ่เห็นสว่างเป็นพืดในท้องฟ้า.
  63. ทางด่วน
    หมายถึง น. ทางหรือถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็วและปลอดภัย มีการควบคุมและกำหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออกเฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน.
  64. ทางผ่าน
    หมายถึง น. บุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือดุจสะพานเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ.
  65. ทางพิเศษ
    หมายถึง (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ.
  66. ทางมะพร้าว
    หมายถึง น. ชื่องูชนิด Elaphe radiata ในวงศ์ Colubridae ท่อนหัวมีลายยาว ตามลำตัวสีดำขาว ท่อนหางสีนํ้าตาลแดง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าว ก็เรียก.
  67. ทางม้าลาย
    หมายถึง น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทาสีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.
  68. ทางสาธารณะ
    หมายถึง (กฎ) น. ทางบกหรือทางนํ้าสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และหมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับประชาชนโดยสารด้วย.
  69. ทางสามแพร่ง
    หมายถึง น. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
  70. ทางสายกลาง
    หมายถึง น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.
  71. ทางหลวง
    หมายถึง (กฎ) น. ทางหรือถนนซึ่งจัดไว้เพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น นอกจากทางรถไฟ และหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด สะพาน ท่อหรือรางระบายน้ำ อุโมงค์ ร่องน้ำ กำแพงกันดิน เขื่อน รั้ว หลักสำรวจ หลักเขต หลักระยะ ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ เครื่องสัญญาณไฟฟ้า เครื่องแสดงสัญญาณ ที่จอดรถ ที่พักคนโดยสาร เรือสำหรับขนส่งข้ามฟาก ท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ และอาคารหรือสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์งานทางบรรดาที่ได้จัดไว้ในเขตทางหลวงและเพื่อประโยชน์แก่งานทางนั้นด้วย.
  72. ทางออก
    หมายถึง (สำ) น. ทางรอด, วิธีแก้ปัญหา.
  73. ทางเก็บ
    หมายถึง น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  74. ทางเท้า
    หมายถึง น. ทางข้างถนนที่มักยกสูงขึ้นสำหรับให้คนเดิน, บาทวิถี ก็ว่า.
  75. ทางเอก
    หมายถึง น. ทางที่รถแล่นผ่านไปได้ก่อนรถทางโท.
  76. ทางโท
    หมายถึง น. ทางที่รถต้องยอมให้รถทางเอกผ่านไปได้ก่อน.
  77. ทางใน
    หมายถึง น. การหยั่งรู้ด้วยพลังจิต, โดยปริยายหมายถึงการนึกเดาเอาเอง.
  78. ทาฐะ,ทาฒะ
    หมายถึง (แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทาา; ส. ทาฒา).
  79. ทาฐิกะ,ทาฒิกะ
    หมายถึง (ราชา) น. หนวด (ที่คาง), เครา. (ป. ทาิก; ส. ทาฒิก).
  80. ทาน
    หมายถึง ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคำ ต้าน เป็น ต้านทาน.
  81. ทาน
    หมายถึง ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.
  82. ทาน,ทาน,ทาน-
    หมายถึง [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป., ส.).
  83. ทานกัณฑ์
    หมายถึง [ทานนะ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ.
  84. ทานตะวัน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Helianthus annuus L. ในวงศ์ Compositae ช่อดอกกลมใหญ่สีเหลือง กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบ เมล็ดให้นํ้ามัน กินได้.
  85. ทานต์
    หมายถึง (แบบ) ว. เชื่อง, ใจเย็น, ใจดี. (ส.).
  86. ทานบดี
    หมายถึง [ทานนะบอดี] น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทานปติ).
  87. ทานบน
    หมายถึง (โบ) น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทัณฑ์บน ก็ว่า.
  88. ทานบารมี
    หมายถึง [ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).
  89. ทานพ
    หมายถึง [-นบ] น. อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย. (ป., ส.).
  90. ทานมัย
    หมายถึง [ทานนะไม] ว. สำเร็จด้วยทาน, แล้วไปด้วยทาน. (ป., ส.).
  91. ทานศีล
    หมายถึง [ทานะสีน] ว. มีการให้เป็นปรกติ. (ส.; ป. ทานสีล).
  92. ทานาธิบดี
    หมายถึง น. เจ้าของทาน. (ป., ส. ทาน + อธิปติ).
  93. ทาบ
    หมายถึง ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
  94. ทาบกิ่ง
    หมายถึง น. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยใช้ต้นตอที่เพาะไว้ตัดให้สูงจากโคนต้นเล็กน้อยในลักษณะแฉลบ แล้วนำไปทาบที่กิ่งของอีกต้นหนึ่งซึ่งปาดให้แฉลบเช่นเดียวกับต้นตอที่จะทาบ ใช้แถบพลาสติกพันบริเวณที่ทาบให้แน่น. ก. ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.
  95. ทาบทาม
    หมายถึง ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถามเพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  96. ทาม
    หมายถึง น. ที่ริมฝั่งลำนํ้า มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
  97. ทาม
    หมายถึง ก. ดาม; ลองดู, เลียบเคียง.
  98. ทาม
    หมายถึง น. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควายไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทำเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถหรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).
  99. ทาย
    หมายถึง (กลอน) ก. ยก; ถือ เช่น ทายธนู ว่า ถือธนู.
  100. ทาย
    หมายถึง ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทำนาย ก็ว่า.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 6)"