พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 5)

  1. ทะเลหลวง
    หมายถึง น. ทะเลใหญ่, มหาสมุทร, ทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่นอกน่านนํ้าอาณาเขตของประเทศที่เป็นเจ้าของ.
  2. ทะเลอาณาเขต
    หมายถึง น. ส่วนของทะเลซึ่งแต่ละประเทศกำหนดว่าอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น ๆ โดยกำหนดเป็นระยะทางวัดจากชายฝั่งทะเลตามแต่จะตกลงกัน. (อ. territorial sea).
  3. ทะเลาะ
    หมายถึง ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
  4. ทะเลาะเบาะแว้ง
    หมายถึง ก. ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หยุม ๆ หยิม ๆ.
  5. ทะเลิ่กทะลั่ก
    หมายถึง ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่งหน้าตาทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
  6. ทะเลใน
    หมายถึง น. ทะเลภายใน, ทะเลหน้าใน ก็เรียก.
  7. ทะเลไหล่ทวีป
    หมายถึง น. บริเวณทะเลตื้นที่อยู่เหนือไหล่ทวีป. (อ. epicontinental sea).
  8. ทะเล่อทะล่า
    หมายถึง ว. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพรวดพราดโดยไม่ถูกกาลเทศะหรืออย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในที่ประชุม วิ่งทะเล่อทะล่าออกไปที่ถนนเลยถูกรถชน.
  9. ทะเล้น
    หมายถึง ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้นออก. ว. ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือโอกาส.
  10. ทะเวน
    หมายถึง (โบ) ก. พานักโทษไปประจานในที่ต่าง ๆ, ตะเวน ตระเวน หรือ กระเวน ก็ว่า.
  11. ทะแม่ง,ทะแม่ง ๆ
    หมายถึง (ปาก) ว. มีลักษณะลับลมคมในหรือมีอะไรเคลือบแฝงอยู่ทำให้น่าสงสัย.
  12. ทะแย
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยโบราณทำนองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
  13. ทะแยกลองโยน
    หมายถึง น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
  14. ทะแยสามชั้น
    หมายถึง น. เพลงสำหรับร้องรับในวงมโหรีปี่พาทย์.
  15. ทัก
    หมายถึง ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบหน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตามลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.
  16. ทัก
    หมายถึง (ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทำด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).
  17. ทักขิญ
    หมายถึง [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจาปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิญฺ).
  18. ทักขิณ
    หมายถึง (แบบ) ว. ทักษิณ, ใต้; ข้างขวา. (ป.; ส. ทกฺษิณ).
  19. ทักขิณา
    หมายถึง น. ทักษิณา, ทานเพื่อผลอันเจริญ; ขวา, ทิศใต้. (ป.; ส. ทกฺษิณา).
  20. ทักขิณาบถ
    หมายถึง น. เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้. (ป.).
  21. ทักขิณาวัฏ
    หมายถึง น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
  22. ทักขิโณทก
    หมายถึง น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทำทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น. (ป.).
  23. ทักขิไณยบุคคล
    หมายถึง [-ไนยะ-] น. บุคคลผู้ควรรับทักษิณา. (ป.).
  24. ทักข์
    หมายถึง ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ป.).
  25. ทักข์
    หมายถึง ก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลำน้ำน้อย).
  26. ทักทาย
    หมายถึง ก. ไต่ถามถึงความเป็นอยู่หรือทุกข์สุขอย่างเป็นกันเอง.
  27. ทักทิน
    หมายถึง [ทักกะทิน] น. วันชั่วร้าย (ใช้ในตำราหมอดู).
  28. ทักท้วง
    หมายถึง ก. กล่าวหรือแสดงออกเป็นทำนองว่ายังไม่เห็นด้วย.
  29. ทักนิมิต
    หมายถึง ก. ถามตอบในการผูกพัทธสีมา.
  30. ทักษ,ทักษ-
    หมายถึง [-สะ-] (แบบ) ว. สามารถ, เหมาะ, ขยัน, หมั่น, คล่องแคล่ว, แข็งแรง. (ส.).
  31. ทักษะ
    หมายถึง น. ความชำนาญ. (อ. skill).
  32. ทักษา
    หมายถึง (โหร) น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
  33. ทักษิณ
    หมายถึง น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. ว. ใต้; ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. (ส.; ป. ทกฺขิณ).
  34. ทักษิณนิกาย
    หมายถึง น. เถรวาท, หินยาน.
  35. ทักษิณา
    หมายถึง น. ของทำบุญ. (ส.).
  36. ทักษิณาจาร
    หมายถึง น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
  37. ทักษิณาทาน
    หมายถึง น. การให้ของทำบุญทำทาน.
  38. ทักษิณานุประทาน
    หมายถึง น. การทำบุญอุทิศส่วนกุศลเพิ่มให้แก่ผู้ตาย. (ส.).
  39. ทักษิณายัน
    หมายถึง น. ทางใต้; (ดารา) จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. (ส.; ป. ทกฺขิณ + ส. อายน).
  40. ทักษิณาวรรต
    หมายถึง น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
  41. ทักษิโณทก
    หมายถึง น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทำทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่า พระเต้าษิโณทก. (ส.).
  42. ทัคธ์
    หมายถึง ว. ไหม้, เกรียม, แห้ง. (ส.).
  43. ทัง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Vernicia วงศ์ Euphorbiaceae คือชนิด V. fordii Airy Shaw และชนิด V. montana Lour. เมล็ดให้นํ้ามันใช้ทากันซึม.
  44. ทัง
    หมายถึง สัน. ทั้ง.
  45. ทังวล,ทังวี้ทังวล
    หมายถึง (กลอน) ก. กังวล, ห่วงใย, เช่น เป็นทังวี้ทังวลวุ่นวาย. (คาวี).
  46. ทังสเตน
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐ °ซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก. (อ. tungsten).
  47. ทัณฑ,ทัณฑ-,ทัณฑ์
    หมายถึง [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจำพวก เช่น ทหาร ตำรวจ. (ป., ส.).
  48. ทัณฑกรรม
    หมายถึง [ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ. (ส.).
  49. ทัณฑฆาต
    หมายถึง ชื่อเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง มีรูปดังนี้ ( ์ ) ไม้ทัณฑฆาต ก็ว่า
  50. ทัณฑนิคม
    หมายถึง [ทันทะ-] (กฎ) น. สถานที่ควบคุมและฝึกอบรมนักโทษเด็ดขาดในขั้นต่อจากเรือนจำ.
  51. ทัณฑวิทยา
    หมายถึง [ทันทะ-] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา. (อ. penology).
  52. ทัณฑสถาน
    หมายถึง [ทันทะ-] (กฎ) น. เรือนจำพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุมกักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.
  53. ทัณฑะ
    หมายถึง [ทันดะ] น. มาตราโบราณสำหรับวัดความยาว ๑ ทัณฑะ เท่ากับ ๒ ศอก.
  54. ทัณฑิกา
    หมายถึง [ทันทิ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีกลอนสัมผัสกันคล้ายกาพย์สุรางคนางค์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  55. ทัณฑิมา
    หมายถึง [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
  56. ทัณฑีบท
    หมายถึง [ทันทีบด] น. โคลงโบราณชนิดหนึ่ง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  57. ทัณฑ์บน
    หมายถึง น. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คำรับรองที่ทำขึ้นตามคำสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกำหนด.
  58. ทัด
    หมายถึง น. ชื่อกลองชนิดหนึ่งที่ขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  59. ทัด
    หมายถึง ก. เอาสิ่งของหรือดอกไม้เหน็บหูตรงบริเวณที่เรียกว่า ทัดดอกไม้. น. เรียกทรงผมผู้หญิงที่มีผมยื่นยาวทั้ง ๒ ข้างจอนผมสำหรับทัดหูว่า ผมทัด.
  60. ทัด
    หมายถึง (กลอน) ก. ต้านไว้, ทานไว้.
  61. ทัด,ทัด,ทัดเทียม
    หมายถึง ว. เท่าเทียม, เสมอ, เช่น ฝีมือทั้งสองฝ่ายนั้นดีทัดกัน. (พงศ. เลขา).
  62. ทัดดอกไม้
    หมายถึง น. ส่วนอวัยวะบริเวณระหว่างหูกับขมับ.
  63. ทัดทา
    หมายถึง น. กระดานมีด้ามสำหรับโกยข้าวเปลือก.
  64. ทัดทาน
    หมายถึง ก. กล่าวหรือแสดงออกเป็นทำนองห้ามหรือท้วงเพื่อให้งดไว้.
  65. ทัต,-ทัต
    หมายถึง ก. ให้แล้ว, ใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น พรหมทัต เทวทัต. (ป. ทตฺต).
  66. ทัน
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).
  67. ทัน
    หมายถึง ว. เป็นไปตามเวลาที่กำหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กำหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  68. ทันกิน
    หมายถึง ก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.
  69. ทันควัน
    หมายถึง ว. ทันทีทันใด, ฉับพลัน.
  70. ทันต,ทันต-,ทันต์,ทันต์
    หมายถึง [ทันตะ-] (แบบ) น. ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์. (ป., ส.).
  71. ทันตชะ
    หมายถึง [ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).
  72. ทันตา
    หมายถึง ว. ทันที่ตาเห็นในปัจจุบัน, ในชาตินี้, ในเวลานั้น, ทันตาเห็น ก็ว่า.
  73. ทันติน,ทันตี
    หมายถึง (แบบ) น. ช้าง. (ส. ทนฺตินฺ; ป. ทนฺตี).
  74. ทันตแพทย์
    หมายถึง [ทันตะ-] น. แพทย์ผู้มีหน้าที่ตรวจรักษาโรคทางฟัน เหงือก ขากรรไกร และโรคภายในช่องปาก.
  75. ทันต์
    หมายถึง (แบบ) ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว. (ป.).
  76. ทันที
    หมายถึง ว. ในขณะนั้นเอง, ทันทีทันใด หรือ ทันใดนั้น ก็ว่า.
  77. ทันท่วงที
    หมายถึง ว. ทันต่อเหตุการณ์พอดิบพอดี.
  78. ทันธ,ทันธ-,ทันธ์
    หมายถึง [ทันทะ-] (แบบ) ว. ช้า ๆ, เงื่อง, เกียจคร้าน; หนัก; เขลา เช่น ทันธปัญญา คือ ปัญญาเขลา. (ป.).
  79. ทันน้ำ
    หมายถึง ว. ให้ทันคราวนํ้าขึ้น.
  80. ทันน้ำทันฝน
    หมายถึง ว. ให้ทันหน้านํ้าหน้าฝน, ให้ทันฤดูกาล.
  81. ทันสมัย
    หมายถึง ว. ตามสมัยที่นิยมกัน.
  82. ทันใจ
    หมายถึง ว. เร็วทันเท่ากับใจนึกหรือต้องการ.
  83. ทันใด
    หมายถึง ว. เดี๋ยวนั้น, บัดนั้น.
  84. ทับ
    หมายถึง น. กระท่อมหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทำอยู่ชั่วคราว.
  85. ทับ
    หมายถึง ก. วางข้างบน, ซ้อนข้างบน, อาการที่ของหนัก ๆ โค่นหรือล้มลงพาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง เช่น ต้นไม้ล้มทับบ้าน, อาการที่สิ่งที่มีล้อเคลื่อนไปด้วยกำลังเร็วแล้วปะทะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกดหรือบดลงไปโดยแรง เช่น รถทับคน; ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่สัตว์บางชนิด เช่น ม้า วัว ควาย); เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ / ที่ขีดเอนหลังจำนวนเลขว่า ทับ.
  86. ทับ
    หมายถึง (โบ) น. โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม.
  87. ทับ
    หมายถึง น. ชื่อด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Buprestidae ลำตัวยาวโค้งนูนแข็งมาก หัวเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหลายสี ที่พบบ่อยมีสีเขียวเป็นมันเลื่อม เช่น ชนิด Sternocera aequisignata, S. ruficornis.
  88. ทับถม
    หมายถึง ก. เพิ่มซับซ้อนกันเข้ามามากมาย; โดยปริยายหมายความว่ากล่าวซํ้าเติมให้เขาเสียหายหนักขึ้น.
  89. ทับทรวง
    หมายถึง น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับหน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก.
  90. ทับทาง
    หมายถึง น. ชื่องูบกบางชนิด เช่น งูสามเหลี่ยม ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางเหลือง, งูทับสมิงคลา ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางขาว.
  91. ทับทางขาว
    หมายถึง ดู ทับสมิงคลา.
  92. ทับทิม
    หมายถึง น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รองแกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทำด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทำด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่งคล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
  93. ทับทิม
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Punica granatum L. ในวงศ์ Punicaceae เนื้อที่หุ้มเมล็ดสีแดงใสคล้ายพลอยทับทิม กินได้ เปลือกของต้น ของผล และของราก ใช้ทำยาได้.
  94. ทับที่
    หมายถึง ว. เรียกอาการที่นอนตรงที่ของคนตายว่า นอนทับที่.
  95. ทับลัคน์
    หมายถึง (โหร) ก. ลักษณะที่ดาวพระเคราะห์มีตำแหน่งอยู่ในเรือนเดียวกันหรือจรมาร่วมลัคนา.
  96. ทับศัพท์
    หมายถึง ว. ที่รับเอาคำของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธีถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
  97. ทับสมิงคลา
    หมายถึง [ทับสะหฺมิงคฺลา] น. ชื่องูพิษชนิด Bungarus candidus ในวงศ์ Elapidae หัวสีดำ ตัวมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว เขี้ยวพิษผนึกแน่นกับขากรรไกรบน ขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร, ทับทางขาว ก็เรียก.
  98. ทับสิทธิ์
    หมายถึง ก. ไม่ยอมใช้สิทธิ์ของตน, สละสิทธิ์, นอนหลับทับสิทธิ์ ก็ว่า.
  99. ทับหลัง
    หมายถึง น. ลวดลายที่ทำประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).
  100. ทับหลังลัคน์
    หมายถึง (โหร) ก. เรียกลักษณะที่พระเคราะห์ที่อยู่ในเรือนวินาศหรือเป็น ๑๒ กับลัคนาว่า พระเคราะห์ทับหลังลัคน์.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 5)"