พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 3)

  1. ทวิบท,ทวิบาท
    หมายถึง น. สัตว์สองเท้า. (ส.).
  2. ทวิป
    หมายถึง น. ช้าง. (ส. ทฺวิป ว่า ผู้ดื่ม ๒ หน คือ ด้วยงวงและด้วยปาก).
  3. ทวิภาค
    หมายถึง น. ๒ ส่วน. (ส.).
  4. ทวิภาคี
    หมายถึง (การทูต) ว. สองฝ่าย. น. เรียกสัญญาระหว่างประเทศที่มีคู่สัญญา ๒ ฝ่ายว่า สัญญาทวิภาคี (bilateral treaty).
  5. ทวิระ
    หมายถึง [ทะวิ-] (แบบ) ว. สอง. (ส.).
  6. ทวี
    หมายถึง [ทะวี] ก. เพิ่มขึ้น, มากขึ้น, เช่น งานทวีขึ้น. (ป., ส. ทฺวิ).
  7. ทวีคูณ
    หมายถึง ว. ๒ เท่า. (ส. ทฺวิคุณ; ป. ทิคุณ).
  8. ทวีธาภิเษก
    หมายถึง น. ชื่อพระราชพิธีการสมโภชที่รัชกาลที่ ๕ ได้ครองราชสมบัติยืนนานมาเป็น ๒ เท่าของรัชกาลที่ ๔, เรียกเหรียญที่จัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีนี้ว่า เหรียญทวีธาภิเษก.
  9. ทวีป
    หมายถึง [ทะวีบ] น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป; (โบ) เกาะ เช่น ลังกาทวีป สิงหฬทวีป; ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่ามี ๔ ทวีป คือ ๑. ชมพูทวีป ๒. อมรโคยานทวีป ๓. อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป ๔. บุพวิเทหทวีป. (ส.; ป. ทีป).
  10. ทวีปี
    หมายถึง [ทะวี-] (แบบ) น. เสือ, เสือดาว. (ส.).
  11. ทว่า
    หมายถึง [ทะว่า] สัน. แต่ถ้าว่า, แต่ว่า, ย่อมาจาก แต่ทว่า.
  12. ทศ,ทศ,ทศ-
    หมายถึง [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  13. ทศ,ทศ,ทศา
    หมายถึง [ทด, ทะสา] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ส.).
  14. ทศกัณฐ์
    หมายถึง น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  15. ทศชาติ
    หมายถึง น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
  16. ทศทิศ
    หมายถึง น. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑. (ส.).
  17. ทศนิยม
    หมายถึง น. จำนวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกำหนดจุดจุดหนึ่งให้อยู่ข้างหน้าหรืออยู่ระหว่างตัวเลขต่าง ๆ เช่น .๘๕๖, ๑๒.๐๘. (อ. decimal).
  18. ทศพร
    หมายถึง น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
  19. ทศพล
    หมายถึง น. ผู้มีกำลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า.
  20. ทศพิธราชธรรม
    หมายถึง น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  21. ทศม,ทศม-
    หมายถึง [ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).
  22. ทศมาส
    หมายถึง น. ๑๐ เดือน.
  23. ทศมี
    หมายถึง [ทะสะมี, ทดสะมี] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมีดิถี = วัน ๑๐ คํ่า. (ส.).
  24. ทศวรรษ
    หมายถึง น. รอบ ๑๐ ปี. (อ. decade).
  25. ทศางค์
    หมายถึง [ทะสาง] น. มาตราวัดนํ้าฝนเท่ากับ ๑๐ สตางค์ เป็น ๑ ทศางค์, และ ๑๐ ทศางค์ เป็น ๑ นิ้ว.
  26. ทศเบญจกูล
    หมายถึง น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตำราแพทย์แผนโบราณ.
  27. ทสา
    หมายถึง [ทะ-] (แบบ) น. ชายผ้า, ชายครุย. (ป.).
  28. ทหระ
    หมายถึง [ทะหะ-] (แบบ) น. เด็ก. ว. หนุ่ม. (ป., ส.).
  29. ทหาร
    หมายถึง [ทะหาน] น. ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ. (อะหม หาน ว่า นักรบ).
  30. ทหารกองประจำการ
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
  31. ทหารกองเกิน
    หมายถึง (กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอพร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว.
  32. ทหารผ่านศึก
    หมายถึง (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการทหาร หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด.
  33. ทหารเกณฑ์
    หมายถึง (ปาก) น. ทหารกองประจำการ.
  34. ทหารเลว
    หมายถึง (โบ) น. พลทหาร.
  35. ทอ
    หมายถึง ก. พุ่งเส้นด้ายหรือเส้นไหมเป็นต้นให้ขัดกับเส้นยืนในเครื่องทอ เช่น ทอผ้า ทอไหม ทอกระสอบ ทอเสื่อ.
  36. ทอ
    หมายถึง (ถิ่น) ก. ขวิด, กระทบ, ชน, เช่น วัวควายทอคนตาย.
  37. ทอก
    หมายถึง น. โบราณเรียกนกยางชนิดหนึ่งว่า ยางทอก; เรียกหมูขนาดใหญ่เขี้ยวตันว่า หมูทอก; เรียกช้างตัวใหญ่ ๆ ที่เป็นจ่าฝูงว่า อ้ายทอก.
  38. ทอง
    หมายถึง น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคำ; เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม.
  39. ทอง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง เรียกว่า เพลงทอง และมีชนิดย่อยว่า ทองย่อน ทองย้อย.
  40. ทอง
    หมายถึง น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Kuntze เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน; ชนิด B. superba Roxb. เป็นไม้เถา, ทองเครือ หรือ ตานจอมทอง ก็เรียก.
  41. ทองกร
    หมายถึง (ราชา) น. กำไลมือ.
  42. ทองกวาว
    หมายถึง [-กฺวาว] (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).
  43. ทองขาว
    หมายถึง (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทำให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่าขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.
  44. ทองคำ
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ °ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ และทำเงินตรา ปัจจุบันกำหนดความบริสุทธิ์ของทองคำด้วยหน่วยกะรัต โดยกำหนดว่า ทองคำ ๒๔ กะรัตเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  45. ทองคำขาว
    หมายถึง น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเป็นเงางาม บุให้เป็นแผ่นหรือรีดให้เป็นเส้นลวดได้ ประกอบด้วยทองคำเจือโลหะอื่น เช่น เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียม เพื่อให้ได้สีเงินคล้ายแพลทินัม มักใช้ทำเครื่องรูปพรรณ. (อ. white gold).
  46. ทองคำเปลว
    หมายถึง น. ทองคำที่ตีแผ่ให้บางที่สุด ตัดใส่แผ่นกระดาษ ใช้สำหรับปิดบนสิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป.
  47. ทองจังโก
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.
  48. ทองชมพูนุท
    หมายถึง น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้มออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.
  49. ทองชุบ
    หมายถึง น. โลหะชุบทอง, ทองวิทยาศาสตร์ ก็เรียก.
  50. ทองดอกบวบ
    หมายถึง น. ทองเนื้อหก มีสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ.
  51. ทองดำ
    หมายถึง น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Acheta bimaculatus ในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร อกกว้างประมาณ ๙ มิลลิเมตร โดยทั่วไปสีดำตลอดทั้งตัว ยกเว้นบริเวณโคนปีกคู่แรกมีจุดโตสีเหลืองหรือแดงปนเหลือง ๒ จุด ขาคู่สุดท้ายสีนํ้าตาลแดง.
  52. ทองดำ
    หมายถึง น. ทองชนิดหนึ่ง โบราณเข้าใจกันว่ามีสีเนื้อดำ นับถือเป็นของวิเศษ.
  53. ทองดำ
    หมายถึง น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลสีเขียวค่อนข้างดำ.
  54. ทองตะกู
    หมายถึง น. ทองตะโก.
  55. ทองตะโก
    หมายถึง น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบนแผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
  56. ทองตากู
    หมายถึง น. ทองตะโก.
  57. ทองต้นแขน
    หมายถึง น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, พาหุรัด ก็ว่า.
  58. ทองทราย
    หมายถึง น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มีพื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
  59. ทองทศ
    หมายถึง น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท.
  60. ทองทึบ
    หมายถึง ว. มีพื้นเป็นทองทึบทั้งหมด.
  61. ทองธรรมชาติ
    หมายถึง น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  62. ทองธรรมชาติ
    หมายถึง ดู ทอง ๒.
  63. ทองนพคุณ
    หมายถึง น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนดราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  64. ทองนพคุณเก้าน้ำ
    หมายถึง น. ทองนพคุณ.
  65. ทองนอก
    หมายถึง น. ทองเค.
  66. ทองบรอนซ์
    หมายถึง น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ สัมฤทธิ์ ก็เรียก. (อ. bronze).
  67. ทองปราย
    หมายถึง (โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปรายทุกคน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  68. ทองปลายแขน
    หมายถึง น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดข้อมือ.
  69. ทองปลายแขน
    หมายถึง น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. ผลยาว ปลายงอ.
  70. ทองพระกร
    หมายถึง (ราชา) น. กำไลมือ.
  71. ทองพระขุน
    หมายถึง (ราชา) น. ขุนเพ็ด.
  72. ทองพระบาท
    หมายถึง น. (ราชา) กำไลเท้า.
  73. ทองพลุ
    หมายถึง น. ขนมแป้งทอดชนิดหนึ่ง ทอดเป็นก้อนกลมแล้วผ่ายัดไส้ภายหลัง, โบราณเรียก ท้องพลุ. (ปาเลกัว).
  74. ทองพัดดึงส์
    หมายถึง น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท.
  75. ทองพันชั่ง
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhinacanthus nasutus Kurz ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีขาว ใบและรากใช้ทำยาได้.
  76. ทองพันดุล
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Decaschistia parviflora Kurz ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพูอมส้ม.
  77. ทองพิศ
    หมายถึง น. ค่ากำหนดแลกเปลี่ยนของเหรียญทองกระษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท.
  78. ทองภู
    หมายถึง น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำยา. (พจน. ๒๔๙๓).
  79. ทองม้วน
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งประสมกับกะทิและไข่ เทราดลงในพิมพ์ซึ่งมักมีลักษณะกลมให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผิงไฟให้สุกแล้วม้วนเป็นหลอด, ถ้าพับเป็นชิ้น เรียก ทองพับ, มีทั้งอย่างรสเค็มและรสหวาน.
  80. ทองย้อย
    หมายถึง น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
  81. ทองรูปพรรณ
    หมายถึง [-รูบปะพัน] น. ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ.
  82. ทองลิน
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labiobarbus kuhlii ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างยาวเรียว แบนข้าง หนวดสั้น ครีบหลังยาวทำนองเดียวกับปลาซ่าซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เกล็ดข้างลำตัวมีจุดสีดำจนเห็นเรียงกันเป็นสายตามยาวหลายเส้น ที่คอดหางมีจุดใหญ่สีดำ ขนาดยาวกว่า ๒๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก.
  83. ทองวิทยาศาสตร์
    หมายถึง น. โลหะชุบทอง, ทองชุบ ก็เรียก.
  84. ทองสักโก
    หมายถึง น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, พายัพเรียก ทองจังโก.
  85. ทองสัมฤทธิ์
    หมายถึง น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, สัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก.
  86. ทองหมั้น
    หมายถึง น. ทองคำที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  87. ทองหยอง
    หมายถึง (ปาก) น. ทองรูปพรรณ.
  88. ทองหยอด
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่แดงประสมแป้งเล็กน้อย หยอดเป็นลูกกลม ๆ อย่างหยดนํ้าในนํ้าเชื่อมเดือด ๆ, ลักษณนามว่า ลูก.
  89. ทองหยิบ
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อย หยอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อนออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ ๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
  90. ทองหลาง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Erythrina วงศ์ Leguminosae เช่น ทองหลางป่า [E. subumbrans (Hassk.) Merr.], ทองหลางลาย หรือ ทองเผือก (E. variegata L.), ทองหลางนํ้า หรือ ทองโหลง (E. fusca Lour.) ดอกออกเป็นช่อสีแดงคล้ำ.
  91. ทองอังกฤษ
    หมายถึง น. เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคำหรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้น.
  92. ทองอุไร
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Tecoma stans (L.) Kunth ในวงศ์ Bignoniaceae ขอบใบหยัก ดอกสีเหลืองสด รูปแตร, พวงอุไร ก็เรียก.
  93. ทองเค
    หมายถึง น. เรียกทองคำที่มีเกณฑ์สำหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะอื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคำ ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  94. ทองเครือ
    หมายถึง ดู ทอง ๒.
  95. ทองเนื้อเก้า
    หมายถึง น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  96. ทองเนื้อแท้
    หมายถึง น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  97. ทองเผือก
    หมายถึง ดู ทองหลาง.
  98. ทองเหลือง
    หมายถึง น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงและสังกะสี ลักษณะเป็นโลหะสีเหลือง.
  99. ทองเอก
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัดใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
  100. ทองแดง
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓ °ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี. (อ. copper).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 3)"