พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 2)

  1. ทรหวล
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ว. พัดหอบเอาไป.
  2. ทรหึง
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ว. นาน; เสียงเอ็ดอึง.
  3. ทรหึงทรหวล
    หมายถึง [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  4. ทรหู,ทรฮู
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ทรหูรํ่าร้อง. (ม. คำหลวง ชูชก).
  5. ทรอ
    หมายถึง [ซอ] (โบ) น. ซอ เช่น เสียงสารสังคีตขับทรอท่อ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  6. ทรอมโบน
    หมายถึง [ทฺรอม-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีท่อลมสวมซ้อนกันและบังคับเสียงโดยวิธีชักท่อลมเลื่อนเข้าออก, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trombone).
  7. ทรอึง
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ก. ถือตัว. (คำฤษดี).
  8. ทรอุ้ม
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ว. ชรอุ่ม, มืด, มืดมัว.
  9. ทระนง
    หมายถึง [ทอระ-] (กลอน) ก. ทะนง.
  10. ทรัพย,ทรัพย-,ทรัพย์
    หมายถึง [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  11. ทรัพยสิทธิ
    หมายถึง [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  12. ทรัพยากร
    หมายถึง [ซับพะยากอน] น. สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์.
  13. ทรัพยากรธรณี
    หมายถึง น. ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ นํ้ามัน.
  14. ทรัพยากรธรรมชาติ
    หมายถึง น. ทรัพย์อันเกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ.
  15. ทรัพย์นอกพาณิชย์
    หมายถึง (กฎ) น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
  16. ทรัพย์มรดก
    หมายถึง (กฎ) ดู มรดก.
  17. ทรัพย์สมบัติ
    หมายถึง น. ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้.
  18. ทรัพย์สิน
    หมายถึง (กฎ) น. วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง.
  19. ทรัพย์สินของแผ่นดิน
    หมายถึง (กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของรัฐ.
  20. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
    หมายถึง (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน.
  21. ทรัพย์สินส่วนพระองค์
    หมายถึง (กฎ) น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น.
  22. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    หมายถึง (กฎ) น. ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง.
  23. ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
    หมายถึง (สำ) น. สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
  24. ทรัมเป็ต
    หมายถึง [ทฺรำ-] น. ชื่อแตรประเภทหนึ่ง มีเสียงแหลม, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. trumpet).
  25. ทรานซิสเตอร์
    หมายถึง [ทฺราน-] น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสารกึ่งตัวนำ มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสำหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอก ใช้สำหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยายซึ่งเคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มีขั้วหนึ่งเป็นขั้วร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. transistor).
  26. ทราบ
    หมายถึง [ซาบ] ก. รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว เรียนมาเพื่อทราบ.
  27. ทราบฝ่าพระบาท
    หมายถึง (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า).
  28. ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
    หมายถึง (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
  29. ทราบฝ่าละอองพระบาท
    หมายถึง (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
  30. ทราบเกล้าทราบกระหม่อม
    หมายถึง (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), ใช้ย่อว่า ทราบเกล้าฯ.
  31. ทราม
    หมายถึง [ซาม] ว. เลว เช่น ใจทราม, เสื่อม เช่น ปัญญาทราม จิตทราม; ไหลอาบเป็นแห่ง ๆ เช่น เลือดไหลทรามลงตามขา.
  32. ทรามชม
    หมายถึง [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
  33. ทรามวัย
    หมายถึง [ซาม-] น. หญิงสาววัยรุ่น.
  34. ทรามสงวน,ทรามสวาท
    หมายถึง [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
  35. ทรามเชย
    หมายถึง [ซาม-] น. หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก.
  36. ทราย
    หมายถึง [ซาย] ดู เนื้อทราย.
  37. ทราย
    หมายถึง [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย กระดาษทราย.
  38. ทราย
    หมายถึง [ซาย] น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิด Ensidens ingallsianus ในวงศ์ Unionidae อาศัยอยู่ในทราย.
  39. ทราย
    หมายถึง [ซาย] ดู ซ่อนทราย (๑).
  40. ทรายขาว
    หมายถึง [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Scolopsis วงศ์ Nemipteridae ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลมอยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด S. cancellatus, S. dubiosus.
  41. ทรายแก้ว
    หมายถึง น. แร่ควอตซ์ที่มีขนาดเล็กเท่าเม็ดทราย มีลักษณะเป็นสีขาวใส ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว.
  42. ทรายแป้ง
    หมายถึง น. ทรายที่มีขนาดละเอียดยิบ. (อ. silt).
  43. ทริทร
    หมายถึง [ทะริด] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ส.; ป. ทลิทฺท).
  44. ทรุด
    หมายถึง [ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกำลังต้านทานไม่พอ เช่น กำแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.
  45. ทรุดนั่ง
    หมายถึง ก. ลดตัวลงนั่ง.
  46. ทรุดโทรม
    หมายถึง ว. เสื่อมไปเพราะร่วงโรย ครํ่าคร่า หรือตรากตรำเกินไป.
  47. ทรุม
    หมายถึง [ทฺรุม, ทฺรุมะ] (แบบ) น. ต้นไม้. (ส.; ป. ทุม).
  48. ทรู่
    หมายถึง [ซู่] (กลอน) ก. ลากไป, คร่าไป.
  49. ทรเล่ห์
    หมายถึง [ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล. (ม. คำหลวง มหาพน).
  50. ทรเหล
    หมายถึง [ทอระเหน] (กลอน) น. ความลำบากในการเดินทางไป เช่น เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  51. ทฤฆ,ทฤฆ-
    หมายถึง [ทฺรึคะ-] ว. ยาว, ยืนยาว, เช่น ทฤฆชนม์ ทฤฆชาติ ทฤฆายุ. (แผลงมาจาก ส. ทีรฺฆ; ป. ทีฆ).
  52. ทฤษฎี
    หมายถึง [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺิ). (อ. theory).
  53. ทฤษฎีบท
    หมายถึง น. ข้อความที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง และใช้ในการอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ข้อความอื่นได้. (อ. theorem).
  54. ทล
    หมายถึง [ทน] (แบบ) น. ใบไม้, กลีบดอกไม้. (ป., ส.).
  55. ทลบม
    หมายถึง [ทนละบม] (กลอน) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น ทลบมด้วยรัตจันทน์.
  56. ทลอึง
    หมายถึง [ทนละ-] (กลอน) ก. ตั้งมั่น, มั่นคง.
  57. ทลาย
    หมายถึง [ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
  58. ทลิท
    หมายถึง [ทะลิด] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น พราหมณพฤฒาเฒ่าทลิทยากยิ่งยาจก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺท).
  59. ทลิททก
    หมายถึง [ทะลิดทก] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น ส่วนออเฒ่าพฤฒาทลิททก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺทก).
  60. ทวง
    หมายถึง ก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.
  61. ทวงถาม
    หมายถึง (กฎ) ก. เรียกร้องให้ชำระหนี้.
  62. ทวด
    หมายถึง น. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.
  63. ทวดน้อย
    หมายถึง น. เรียกคนชั้นน้องของทวดว่า ทวดน้อย.
  64. ทวดึงส์,ทวัตดึงส์
    หมายถึง [ทะวะดึง, ทะวัดดึง] (แบบ) ว. สามสิบสอง. (ป. ทฺวตฺตึส; ส. ทฺวาตฺรึศตฺ).
  65. ทวน
    หมายถึง ก. ฝ่ากระแสนํ้าหรือกระแสลม ในคำว่า ทวนนํ้า ทวนลม, เอาใบพายรานํ้าไว้เพื่อชะลอให้เรือหยุด; กลับมาตั้งต้นใหม่, กลับซํ้าใหม่, เช่น อ่านทวน ทวนเพลง; ย้อนทาง เช่น ทวนเข็มนาฬิกา ทวนแสง; เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทวนกระแสจิต ทวนกระแสโลก.
  66. ทวน
    หมายถึง น. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดรูปพรรณ อีกข้างหนึ่งสำหรับยึดกับฐานที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อนั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลายคันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสำหรับรองตะคันอบนํ้าหอม.
  67. ทวนทบ
    หมายถึง ก. ย้อนกลับทำซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยำ, ทบทวน ก็ว่า.
  68. ทวนสบถ
    หมายถึง ก. ไม่ทำตามคำสบถ.
  69. ทวนสาบาน
    หมายถึง ก. ไม่ทำตามคำสาบาน.
  70. ทวย
    หมายถึง น. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.
  71. ทวย
    หมายถึง น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสำหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขันใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จากเบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
  72. ทวยะ
    หมายถึง [ทะวะยะ] น. หมวด ๒, ส่วนทั้ง ๒. (ป., ส.).
  73. ทวยโถง
    หมายถึง (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
  74. ทวอย
    หมายถึง [ทะ-] น. ชื่อเพลงร้องรำอย่างหนึ่ง.
  75. ทวัตดึงสาการ
    หมายถึง (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
  76. ทวัย
    หมายถึง [ทะไว] (แบบ) น. หมวด ๒, ส่วนทั้ง ๒. (ป., ส.).
  77. ทวา
    หมายถึง [ทะวา] (แบบ) ว. สอง. (ป., ส. ทฺวา).
  78. ทวาตรึงประดับ
    หมายถึง น. ชื่อโคลงโบราณ.
  79. ทวาทศม,ทวาทศม-
    หมายถึง [ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).
  80. ทวาทศมณฑล
    หมายถึง น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี; ชื่อมาตราวัดจักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑลหนึ่ง. (ส.).
  81. ทวาทศะ
    หมายถึง [ทะวาทะสะ] ว. สิบสอง. (ส. ทฺวาทศนฺ; ป. ทฺวาทส).
  82. ทวาทศี
    หมายถึง ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศีดิถี = วัน ๑๒ คํ่า. (ส.).
  83. ทวาบร
    หมายถึง [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
  84. ทวาบรยุค
    หมายถึง [ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
  85. ทวาย
    หมายถึง [ทะ-] น. ชื่อเมืองทางภาคใต้ของประเทศพม่า, เรียกชาวเมืองนั้นว่า ชาวทวาย.
  86. ทวาย
    หมายถึง [ทะ-] น. ชื่อยำชนิดหนึ่ง มีผักลวก เช่น ผักบุ้ง กะหลํ่าปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิ นํ้าพริกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว เรียกว่า ยำทวาย.
  87. ทวาย
    หมายถึง [ทะ-] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  88. ทวาร,ทวาร-
    หมายถึง [ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคำ เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคำสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).
  89. ทวารทั้งเก้า
    หมายถึง น. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.
  90. ทวารบถ
    หมายถึง [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกำแพงเชิงเทินป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
  91. ทวารบาล
    หมายถึง [ทะวาระบาน] น. ผู้เฝ้าประตู, นายประตู. (ป.).
  92. ทวารประดับ
    หมายถึง [ทะวาน-] น. ชื่อโคลงโบราณ, สกัดแคร่ ก็เรียก.
  93. ทวิ
    หมายถึง [ทะวิ] (แบบ) ว. สอง. (ป., ส.).
  94. ทวิช,ทวิช-
    หมายถึง [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
  95. ทวิชงค์
    หมายถึง น. พราหมณ์. (ส.).
  96. ทวิชชาติ
    หมายถึง น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป., ส.).
  97. ทวิชากร
    หมายถึง [ทะวิ-] (แบบ) น. ฝูงนก. (ส.).
  98. ทวิชาติ
    หมายถึง น. นก; พราหมณ์. (ส. ทฺวิชาติ ว่า ผู้เกิด ๒ หน).
  99. ทวิตียะ,ทวิตียา
    หมายถึง [ทะวิ-] (แบบ) ว. ที่ ๒. (ส.).
  100. ทวิบถ
    หมายถึง น. สถานที่ที่ทางทั้ง ๒ ตัดผ่านกัน, สี่แยก. (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 2)"