พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ต (หน้าที่ 4)

  1. ตรุ
    หมายถึง [ตะรุ] (แบบ) น. ต้นไม้. (ป., ส.).
  2. ตรุณ,ตรุณะ
    หมายถึง [ตะรุน, ตะรุนะ] (แบบ) น. เด็กรุ่น. ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า ตรุณี. (ป., ส.).
  3. ตรุย
    หมายถึง [ตฺรุย] (โบ) น. กรุย เช่น มีตรุยปัก. (สามดวง).
  4. ตรุษ,ตรุษไทย
    หมายถึง [ตฺรุด] น. เทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ คํ่า เดือน ๔.
  5. ตรุษจีน
    หมายถึง [ตฺรุด-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Bougainvillea glabra Choisy ในวงศ์ Nyctaginaceae ใบประดับสีม่วงแดง กลีบดอกสีขาวรวมติดกัน ปลูกเป็นไม้ประดับ.
  6. ตรู
    หมายถึง [ตฺรู] ว. งาม.
  7. ตรู่
    หมายถึง [ตฺรู่] น. เวลาสาง ๆ เริ่มเห็นแสงเงินแสงทอง.
  8. ตรเลิด
    หมายถึง [ตฺระเหฺลิด] (กลอน) ก. เตลิด, กระเจิดกระเจิง, กระจัดกระจาย.
  9. ตร่ำ
    หมายถึง [ตฺรํ่า] ก. เอาพร้าหวดตัดตอหญ้าที่เหลืออยู่ให้เตียน, กรํ่า ก็ว่า.
  10. ตฤณ,ตฤณ-
    หมายถึง [ตฺริน, ตฺรินนะ-] (แบบ) น. หญ้า. (ส.; ป. ติณ).
  11. ตฤณชาติ
    หมายถึง น. หญ้าต่าง ๆ. (ส.).
  12. ตฤณมัย
    หมายถึง ว. แล้วไปด้วยหญ้า, ทำด้วยหญ้า. น. สนามหญ้า. (ส.).
  13. ตฤตีย,ตฤตีย-,ตฤตียะ
    หมายถึง [ตฺริตียะ-] (แบบ) ว. ที่ ๓. (ส.; ป. ตติย).
  14. ตฤท
    หมายถึง [ตฺริด] (แบบ) ก. เจาะ, แทง. (ส.; ป. ตุท).
  15. ตฤป
    หมายถึง [ตฺริบ] (แบบ) ก. อิ่ม, ให้อิ่ม, ให้กิน, เลี้ยง, กิน เช่น ตฤปตฤณ. (ส.; ป. ตปฺป).
  16. ตฤษณา
    หมายถึง [ตฺริดสะหฺนา] (แบบ) น. ความปรารถนา, ความอยาก, ความดิ้นรน. (ส.; ป. ตณฺหา).
  17. ตฤๅ
    หมายถึง [ตฺรี] น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. (ข. ตฺรี).
  18. ตลก
    หมายถึง [ตะหฺลก] ก. ทำให้คนอื่นขบขันด้วยคำพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า แกล้งทำให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทำให้คนอื่นขบขันด้วยคำพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น เช่น หนังตลก, เรียกผู้ที่ทำให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทำให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  19. ตลกคะนอง
    หมายถึง ว. อาการที่พูดหรือทำให้ขบขันด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
  20. ตลกบาตร
    หมายถึง [ตะหฺลก-] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ถลกบาตร ก็ว่า.
  21. ตลกหัวเราะ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  22. ตลกโปกฮา
    หมายถึง ว. อาการที่พูดชวนให้ขบขันเฮฮา.
  23. ตลบ
    หมายถึง [ตะหฺลบ] ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นเป็นผืนเช่นชายม่านตีนมุ้งที่อยู่ข้างล่างหกกลับไปพาดไว้ข้างบนทั้งผืนทั้งแผ่น เช่น ตลบม่าน ตลบมุ้ง; ยกกลับ, หกกลับ, เช่น ตีตลบ; ย้อนกลับไปกลับมา เช่น เดินเสียหลายตลบ ฝุ่นตลบ; ฟุ้งไป, กระจายไป, (ใช้แก่กลิ่น), กลบ ก็ว่า.
  24. ตลบตะแลง
    หมายถึง ว. พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน.
  25. ตลบนก
    หมายถึง ก. จับนกโดยการขึงตาข่ายดักไว้ เมื่อนกบินมาก็ตลบตาข่ายแล้วม้วนตาข่ายรวบนกเข้าไว้.
  26. ตลบหลัง
    หมายถึง ก. ปล่อยให้ล่วงลํ้าเข้าไปแล้วย้อนกลับมาตีหรือทำร้ายภายหลัง.
  27. ตลอด
    หมายถึง [ตะหฺลอด] บ. แต่ต้นไปจนถึงปลาย, แต่ต้นจนจบ, แต่จุดหนึ่งไปจนถึงอีกจุดหนึ่ง, เช่น ตลอดวันตลอดคืน ดูแลให้ตลอด ทำไปไม่ตลอด, ทั่ว เช่น ดูแลไม่ตลอด.
  28. ตลอดรอดฝั่ง
    หมายถึง ว. ถึงจุดหมายปลายทาง, พ้นอันตราย, ผ่านอุปสรรคมาได้.
  29. ตละ
    หมายถึง [ตะละ] ว. เช่น, เหมือน, ดุจ, เช่น ตละยักษ์.
  30. ตละ
    หมายถึง [ตะละ] น. เจ้า. (ต.).
  31. ตละ
    หมายถึง [ตะละ] น. พื้น, ชั้น. (ป.).
  32. ตลับ
    หมายถึง [ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมากมีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สำหรับใส่หมาก).
  33. ตลับ
    หมายถึง [ตะหฺลับ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Meretrix วงศ์ Veneridae เปลือกหนาคล้ายรูปสามเหลี่ยม เป็นมัน มีสีต่าง ๆ กัน ฝังตัวอยู่ตามพื้นที่เป็นทรายหรือโคลนในทะเล.
  34. ตลับนาก
    หมายถึง [ตะหฺลับ-] น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลค่อนข้างกลม กลิ่นหอม.
  35. ตลาด
    หมายถึง [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด.
  36. ตลาดท้องน้ำ
    หมายถึง น. ตลาดนํ้า.
  37. ตลาดนัด
    หมายถึง น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันที่กำหนดเท่านั้น.
  38. ตลาดน้ำ
    หมายถึง น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.
  39. ตลาดมืด
    หมายถึง น. ตลาดที่แอบซื้อขายกันลับ ๆ โดยหลีกเลี่ยงข้อกำหนดที่ทางการได้วางไว้.
  40. ตลาดยี่สาน
    หมายถึง น. ตลาดที่ขายของแห้งเช่นผ้า.
  41. ตลาดสด
    หมายถึง น. ตลาดที่ขายของสด.
  42. ตลาดหน้าคุก
    หมายถึง (สำ) ว. แพง. น. ตลาดที่ถือโอกาสขายโก่งราคาแพงกว่าปรกติและผู้ซื้อจำเป็นต้องซื้อ.
  43. ตลาดหลักทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. ตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายหลักทรัพย์, (ปาก) ตลาดหุ้น.
  44. ตลาดหุ้น
    หมายถึง (ปาก) น. ตลาดหลักทรัพย์.
  45. ตลาดเงิน
    หมายถึง น. ที่แลกเปลี่ยนกู้ยืมเงิน.
  46. ตลิ่ง
    หมายถึง [ตะหฺลิ่ง] น. ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมแม่นํ้าลำคลอง.
  47. ตลึง
    หมายถึง [ตะลึง] น. ต้นอัญชัน. (ช.).
  48. ตลุก
    หมายถึง [ตะหฺลุก] (ถิ่น) น. ปลักควาย, แอ่งน้ำตามลำห้วยที่ขาดเป็นช่วง ๆ ในหน้าแล้ง. (ข. ถฺลุก).
  49. ตวง
    หมายถึง ก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จำนวนหรือปริมาณ; (โบ) นับ, กะ, ประมาณ, ทำให้เต็ม, เช่น ช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง. (จารึกสยาม).
  50. ตวงพระธาตุ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  51. ตวัก
    หมายถึง [ตะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ จ่า ก็ว่า.
  52. ตวัด
    หมายถึง [ตะหฺวัด] ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัดชายกระเบน, โอบรัดเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดคอ, แกว่งไม้หรือเชือกให้ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้.
  53. ตวาด
    หมายถึง [ตะหฺวาด] ก. ขู่เต็มเสียง, คุกคามด้วยแผดเสียง, พูดเสียงดังด้วยความโกรธ.
  54. ตอ
    หมายถึง น. โคนของต้นไม้ที่ลำต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว, สิ่งบางอย่างเช่นเสาหรือหลักที่ปักไว้หรือที่ยังเหลืออยู่แต่โคนเมื่อบางส่วนถูกตัด หัก หรือกร่อนไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  55. ตอก
    หมายถึง ก. เอาค้อนหรือสิ่งอื่นตีตะปูหรือหลักเป็นต้นให้เข้าไป; เร่งให้วัวควายวิ่ง ใช้ว่า ตอกวัว ตอกควาย. น. ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้นแบนยาว ขนาดหนาหรือบางตามต้องการ สำหรับผูกมัดหรือสานสิ่งต่าง ๆ; ชื่อมีดชนิดหนึ่ง ปลายแหลมคล้ายมีดเหน็บ แต่สั้นกว่า ด้ามยาวและงอน.
  56. ตอก
    หมายถึง ก. แตก. น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอกว่า ข้าวตอก.
  57. ตอกลิ่ม
    หมายถึง ก. ทำให้แยกโดยใช้ลิ่ม, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้บุคคล ๒ ฝ่ายแตกแยกกันหรือบาดหมางกันยิ่งขึ้น เช่น ตอกลิ่มให้ทั้ง ๒ ฝ่ายทะเลาะกัน.
  58. ตอกหน้า
    หมายถึง (ปาก) ก. ว่าใส่หน้าอย่างไม่ไว้หน้า.
  59. ตอกหมัน
    หมายถึง ก. ตอกลูกประสักกำกับให้กระดานเรือติดกับกงเป็นต้น.
  60. ตอง
    หมายถึง น. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จำนวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง.
  61. ตอง
    หมายถึง ดู สลาด.
  62. ตองกราย
    หมายถึง ดู กราย ๑.
  63. ตองตอย
    หมายถึง ว. ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), กรองกรอย ก็ว่า; (โบ) แคระ, ไม่สมประกอบ, ไม่สมบูรณ์, (ใช้แก่ต้นไม้ที่ไม่เจริญสมอายุ).
  64. ตองตึง
    หมายถึง ดู พลวง ๒.
  65. ตองเปรียง
    หมายถึง [-เปฺรียง] น. จองเปรียง คือพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเจ้า ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒. (สามดวง).
  66. ตองเหลือง
    หมายถึง น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ผีตองเหลือง ก็เรียก.
  67. ตองแตก
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Baliospermum montanum (Willd.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae รากใช้ทำยาได้ แต่มีสารพิษอยู่ด้วย เมล็ดมีพิษ, ทนดี ก็เรียก.
  68. ตอด
    หมายถึง ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
  69. ตอด
    หมายถึง (กลอน) น. ต้นสลอด.
  70. ตอด
    หมายถึง น. การบรรเลงดนตรีอย่างหนึ่ง ทำเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทำนองเพลง, ลูกตอด ก็ว่า.
  71. ตอดต่อ
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  72. ตอดเล็ก ตอดน้อย
    หมายถึง ก. ค่อย ๆ หาผลประโยชน์ทีละเล็กละน้อย เช่น ผู้ผลิตขึ้นราคาสินค้าทีละนิดหน่อย เป็นต้น เหมือนปลาที่กินเหยื่อบนเบ็ด ค่อย ๆ ตอด ค่อย ๆ เล็ม ได้ประโยชน์โดยไม่เจ็บตัว
  73. ตอน
    หมายถึง น. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.
  74. ตอบ
    หมายถึง ก. ทำหรือพูดโต้ในทำนองเดียวกับที่มีผู้ทำหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยมตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคำถาม, แจ้งกลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไปว่า แก้มตอบ.
  75. ตอบแทน
    หมายถึง ก. ทำทดแทนแก่ผู้ทำก่อน, ให้ทดแทนแก่ผู้ให้ก่อน, เช่น ตอบแทนบุญคุณ, บางทีใช้สั้น ๆ ว่า ตอบ เช่น เลี้ยงตอบ.
  76. ตอบโต้
    หมายถึง ก. โต้กลับไป, ตอบแทนการกระทำของฝ่ายตรงข้าม, แก้แค้น.
  77. ตอม
    หมายถึง ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชายตอมผู้หญิง.
  78. ตอม่อ
    หมายถึง น. เสาขนาดสั้น มักใช้ไม้ไผ่ปักขึ้นสำหรับรับรอดในเรือนเครื่องผูก, ส่วนบนของฐานรากที่รองรับโครงสิ่งก่อสร้าง, เสาตอม่อ ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงมีรูปร่างล่ำเตี้ย เช่น เตี้ยม่อต้อเหมือนตอม่อค้ำยุ้ง; เสาชาน เสาแคร่ หรือเสาช่วยค้ำจุนเรือนโดยปักแนบกับเสาเรือน, เสาตอม่อ หรือ เสาหมอ ก็ว่า; ใช้ว่า ตะม่อ ก็มี.
  79. ตอร์ปิโด
    หมายถึง น. เครื่องกลจำพวกลูกระเบิดที่ปล่อยให้แล่นไปในนํ้า เพื่อทำลายที่หมายในการศึก, ลักษณนามว่า ลูก. (อ. torpedo).
  80. ตอเบา
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกระถิน. (ดู กระถิน).
  81. ตอแย
    หมายถึง ก. ยั่วให้เกิดความรำคาญหรือให้โกรธ, สนใจ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าไปตอแยด้วย.
  82. ตอแหล
    หมายถึง [-แหฺล] เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
  83. ตอแหล
    หมายถึง [-แหฺล] ว. เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วผิดปรกติ เช่น มะเขือตอแหล.
  84. ตะ
    หมายถึง ก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.
  85. ตะกรน
    หมายถึง [-กฺรน] น. ขี้ตะกอนที่จับเกรอะอยู่ที่ก้นภาชนะ, กากโลหะที่หลอมแล้วติดอยู่ตามก้นเบ้า, ตะกรัน ก็ว่า.
  86. ตะกรน
    หมายถึง [-กฺรน] น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้ายอยู่ข้างใน.
  87. ตะกรวย
    หมายถึง [-กฺรวย] (โบ) น. กรวย เช่น สานตะกร้อตะกรวยครอบศีรษะ. (สามดวง).
  88. ตะกรัน
    หมายถึง [-กฺรัน] ดู ตะกรน ๒.
  89. ตะกรับ
    หมายถึง [-กฺรับ] น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สำหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง (โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น), รังผึ้ง ก็ว่า; เหล็กทำเป็นซี่ ๆ มีด้ามจับ สำหรับปิ้งปลาเป็นต้น.
  90. ตะกรับ
    หมายถึง [-กฺรับ] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus ในวงศ์ Scatophagidae รูปร่างสั้น แบนข้างและกว้างมาก หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทาหรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา อยู่ได้ทั้งในนํ้าจืดและทะเล, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. (๒) ดู หมอช้างเหยียบ.
  91. ตะกรับ
    หมายถึง [-กฺรับ] น. ชื่อกกชนิด Cyperus procerus Rottb. ในวงศ์ Cyperaceae ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม ใบยาวและแคบ ดอกสีนํ้าตาล.
  92. ตะกราม
    หมายถึง [-กฺราม] น. ชื่อนกกระสาชนิด Leptoptilos dubius ในวงศ์ Ciconiidae เป็นนกกระสาที่ใหญ่ที่สุด ตัวสีเทา หัวสีแดงส้ม ตลอดหัวและลำคอไม่มีขน ปากใหญ่แข็งแรงปลายแหลมตรง ขายาว มีถุงลมสีส้มห้อยอยู่ด้านหน้าของลำคอ และมีพู่ขนสีขาวรอบฐานคอ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก.
  93. ตะกรุด
    หมายถึง [-กฺรุด] น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด ก็ว่า.
  94. ตะกรุม
    หมายถึง [-กฺรุม] น. ชื่อนกกระสาชนิด Leptoptilos javanicus ในวงศ์ Ciconiidae รูปร่างคล้ายนกตะกราม แต่ขนาดเล็กกว่า หัวและคอสีเหลือง ไม่มีถุงลมและพู่ขนสีขาวที่คอ.
  95. ตะกรุม
    หมายถึง [-กฺรุม] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำยาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  96. ตะกรุมตะกราม
    หมายถึง [-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทำไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการบริโภคเป็นต้น.
  97. ตะกร่อม
    หมายถึง [-กฺร่อม] น. เครื่องมือจับปูทะเล. (ดู กะกร่อม).
  98. ตะกร้อ
    หมายถึง [-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สำหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สำหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.
  99. ตะกร้า
    หมายถึง [-กฺร้า] น. ภาชนะสานโปร่งสำหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้ว บางชนิดไม่มี.
  100. ตะกละ
    หมายถึง [-กฺละ, -กฺลาม] ว. มักกิน, กินไม่เลือก, เห็นแก่กิน, มักใช้รวมกันว่า ตะกละตะกลาม ก็มี, จะกละจะกลาม ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า อยากได้มาก ๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ต (หน้าที่ 4)"