พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ต (หน้าที่ 2)

  1. ตยุติ
    หมายถึง [ตะยุติ] (แบบ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติลงเกอด. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
  2. ตรง,ตรง ๆ
    หมายถึง [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกำหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  3. ตรงกัน
    หมายถึง ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถวให้ตรงกัน.
  4. ตรงกันข้าม
    หมายถึง ว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดำ ดีกับชั่ว.
  5. ตรณี
    หมายถึง [ตะระนี] (แบบ) น. เรือ. (ป., ส.).
  6. ตรม
    หมายถึง [ตฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น ตรมใจ; กลัด เช่น ตรมหนอง, กรม ก็ว่า.
  7. ตรมตรอม
    หมายถึง [-ตฺรอม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรมกรอม ก็ว่า.
  8. ตรมวล
    หมายถึง [ตฺรม-วน] (โบ) น. ตำบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  9. ตรมเตรียม
    หมายถึง [-เตฺรียม] ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เกรียมกรม หรือ เตรียมตรม ก็ได้.
  10. ตรรก,ตรรก-,ตรรกะ
    หมายถึง [ตักกะ] (แบบ) น. ความตรึก, ความคิด. (ส. ตรฺก; ป. ตกฺก).
  11. ตรรกวิทยา
    หมายถึง น. ตรรกศาสตร์.
  12. ตรรกศาสตร์
    หมายถึง น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการคิดหาเหตุผลว่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่, ใช้ว่า ตรรกวิทยา ก็มี. (อ. logic).
  13. ตรลบ
    หมายถึง [ตฺระหฺลบ] (กลอน) ก. ตลบ, เอาข่ายครอบนก. ว. หกหลังมา; กลับย้อนหลัง; ฟุ้ง.
  14. ตรลอด
    หมายถึง [ตฺระหฺลอด] (กลอน) บ. ตลอด, สิ้น, ทั่ว, แต่ต้นจนปลาย.
  15. ตรละ
    หมายถึง [ตะระละ] (แบบ) น. ข้าวต้ม. (ป., ส.).
  16. ตรละ
    หมายถึง [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
  17. ตรลา
    หมายถึง [ตะระลา] (แบบ) น. ข้าวต้ม; นํ้าผึ้ง; เหล้า. (ป., ส. ตรล).
  18. ตรลาด
    หมายถึง [ตฺระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ.
  19. ตรวจ
    หมายถึง [ตฺรวด] ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย เช่น ตรวจพล ตรวจราชการ, พิจารณาดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เป็นต้น เช่น ตรวจบัญชี ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจดวงชะตา, พิจารณาหาสมุฏฐาน เช่น ตรวจโรค, สำรวจ เช่น ตรวจพื้นที่. น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.
  20. ตรวจการ
    หมายถึง ก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ชุดตรวจการ, ตรวจราชการ ก็ว่า.
  21. ตรวจการณ์
    หมายถึง ก. ตรวจค้นด้วยสายตาหรือใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วย เพื่อรวบรวมข่าวสารหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.
  22. ตรวจข่าว
    หมายถึง ก. พิจารณาข่าวว่าควรอนุญาตให้พิมพ์ได้หรือไม่, พิจารณาข่าวที่ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์แล้ว.
  23. ตรวจตรา
    หมายถึง ก. พิจารณาดูให้รอบคอบถี่ถ้วน.
  24. ตรวจราชการ
    หมายถึง ก. ตรวจดูการงานให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย เช่น ผู้ตรวจราชการภาค, ตรวจการ ก็ว่า.
  25. ตรวจเลือด
    หมายถึง ก. ตรวจดูว่าเลือดอยู่ในกลุ่มไหน หรือมีเชื้อโรคอยู่ในเลือดหรือไม่ หรือเพื่อทราบโรคบางอย่าง เป็นต้น.
  26. ตรวด
    หมายถึง [ตฺรวด] (กลอน) ว. กรวด, สูงชัน, เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  27. ตรวน
    หมายถึง [ตฺรวน] น. เครื่องจองจำนักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขานักโทษ มีโซ่ล่ามถึงกัน.
  28. ตรวย
    หมายถึง [ตฺรวย] ก. พุ่งตรงมา เช่น บ้างเป็นเสาตรวยตรงลงถึงดิน. (อิเหนา).
  29. ตรอก
    หมายถึง [ตฺรอก] น. ทางที่แยกจากถนนใหญ่และมีขนาดเล็กกว่าถนน.
  30. ตรอง
    หมายถึง [ตฺรอง] ก. คิดทบทวน.
  31. ตรอมตรม
    หมายถึง [ตฺรอม-, -ตฺรม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรอมใจ หรือ กรอมกรม ก็ว่า.
  32. ตรอมใจ
    หมายถึง [ตฺรอม-, -ตฺรม] ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, กรอมใจ หรือ กรอมกรม ก็ว่า.
  33. ตระ
    หมายถึง [ตฺระ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  34. ตระ
    หมายถึง [ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).
  35. ตระกล
    หมายถึง [ตฺระกน] ว. มีมาก; งาม.
  36. ตระกวน
    หมายถึง [ตฺระ-] น. ผักบุ้ง. (ข. ตฺรกวน).
  37. ตระกอง
    หมายถึง [ตฺระ-] ก. กอด, เกี่ยวพัน, กระกอง ก็ว่า. (ข. ตฺรกง).
  38. ตระกัด
    หมายถึง [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกำหนัด ในความตระกัดกรีธา. (ม. คำหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
  39. ตระการ
    หมายถึง [ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.
  40. ตระกูล
    หมายถึง [ตฺระ-] น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์.
  41. ตระกูลมูลชาติ
    หมายถึง [-มูนชาด] (สำ) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
  42. ตระคัร
    หมายถึง [ตฺระคัน] (แบบ) น. ไม้กฤษณา เช่น กฤษณาขาวและตระคัร ก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ป.; ส. ตคร).
  43. ตระง่อง
    หมายถึง [ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.
  44. ตระจัก
    หมายถึง [ตฺระ-] ว. ตระชัก, เย็น. (ข. ตรฺชาก่).
  45. ตระชัก
    หมายถึง [ตฺระ-] ว. เย็น, บางทีใช้ ตระจัก ตามเสียงเขมร. (ข. ตฺรชาก่).
  46. ตระดก
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
  47. ตระดาษ
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
  48. ตระทรวง
    หมายถึง [ตฺระซวง] (โบ) น. กระทรวง. (สามดวง).
  49. ตระนาว
    หมายถึง [ตฺระ-] น. เรียกกระแจะชนิดหนึ่ง.
  50. ตระบก
    หมายถึง [ตฺระ-] ดู กระบก.
  51. ตระบอก
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).
  52. ตระบอง
    หมายถึง [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
  53. ตระบัด
    หมายถึง [ตฺระ-] ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, กระบัด ก็ใช้. ก. พลันไป.
  54. ตระบัด
    หมายถึง [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
  55. ตระบัดสัตย์
    หมายถึง ก. ไม่รักษาคำมั่นสัญญา.
  56. ตระบัน
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) น. กลีบซ้อน.
  57. ตระพอง
    หมายถึง [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  58. ตระพัง
    หมายถึง [ตฺระ-] น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า. (เทียบ ข. ตฺรพำง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
  59. ตระมื่น
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ว. สูงใหญ่, ทะมื่น ก็ใช้.
  60. ตระลาการ
    หมายถึง [ตฺระ-] (โบ) น. ตำแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชำระเอาความเท็จจริง.
  61. ตระวัน
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) น. ตะวัน, ดวงอาทิตย์.
  62. ตระสัก
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ว. งามสง่า; ไพเราะ.
  63. ตระหง่อง,ตระหน่อง
    หมายถึง [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  64. ตระหง่าน
    หมายถึง [ตฺระหฺง่าน] ว. สูงเด่นเป็นสง่า.
  65. ตระหนก
    หมายถึง [ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
  66. ตระหนัก
    หมายถึง [ตฺระหฺนัก] ก. รู้ประจักษ์ชัด, รู้ชัดแจ้ง.
  67. ตระหนี่
    หมายถึง [ตฺระหฺนี่] ว. หวงไม่อยากให้ง่าย ๆ เช่น ตระหนี่ทรัพย์ ตระหนี่ความรู้.
  68. ตระหนี่ตัว
    หมายถึง ก. หวงตัว ไม่ยอมให้ใครอุ้ม (ใช้แก่เด็ก).
  69. ตระหน่ำ
    หมายถึง [ตฺระหฺนํ่า] (กลอน) ก. กระหนํ่า.
  70. ตระอร
    หมายถึง [ตฺระออน] ก. ทำให้ชอบใจ; ประคับประคอง เช่น เกื้อกามตระอร. (กฤษณา).
  71. ตระอาล
    หมายถึง [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คำหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
  72. ตระเชิญ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า เพลงตระเชิญ.
  73. ตระเตรียม
    หมายถึง [ตฺระเตฺรียม] ก. จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, โบราณใช้ว่า กระเกรียม.
  74. ตระเบ็ง
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง.
  75. ตระเวน
    หมายถึง [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยวตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นำนักโทษตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
  76. ตระเวนเวหา
    หมายถึง น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
  77. ตระเวนไพร,ตระเวนวัน
    หมายถึง ดู ระวังไพร, ระวังวัน.
  78. ตระเว็ด
    หมายถึง [ตฺระเหฺว็ด] น. รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า, ใช้ว่า เจว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  79. ตระแตร้น,ตะแตร้น
    หมายถึง [ตฺระแตฺร้น, -แตฺร้น] (กลอน) ว. เสียงช้างร้อง.
  80. ตระแบก
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) น. ต้นตะแบก, กระแบก ก็เรียก.
  81. ตระแบง
    หมายถึง [ตฺระ-] ก. ผูกไขว้, ผูกบิด. (ข. ตฺรแบง ว่า ผูกไขว้ด้วยไม้ขันชะเนาะ).
  82. ตระแบง
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. สะแบง, สะพาย, เช่น ตาวตระแบง.
  83. ตระแบน,ตระแบ่น
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. ทิ้งลง, ตกลง, โผลง, เช่น ตระแบนไว้กลางดิน. (โบ) น. แผ่น. (อนันตวิภาค).
  84. ตระแบ่
    หมายถึง [ตฺระ-] (โบ) ก. แผ่. (อนันตวิภาค).
  85. ตระโบม
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. โลมเล้า, กอด, กระโบม ก็ว่า.
  86. ตระโมจ
    หมายถึง [ตฺระโหฺมด] ว. ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, โดดเดี่ยว. (ข. สฺรโมจ).
  87. ตระโอม
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) ก. โอบกอด.
  88. ตระไน
    หมายถึง [ตฺระ-] (กลอน) น. นกกระไน เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์). (ดู กระไน).
  89. ตรัง
    หมายถึง [ตฺรัง] (โบ) ก. ติดอยู่ เช่น สิ่งสินตรังตรา. (ม. คำหลวง มหาราช), ต้องกวางทรายตายเหลือตรัง. (อนิรุทธ์).
  90. ตรังค,ตรังค-,ตรังค์
    หมายถึง [ตะรังคะ-, ตะรัง] (แบบ) น. ลูกคลื่น. (ป., ส.).
  91. ตรังคนที,ตรังควชิราวดี
    หมายถึง น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง, คู่กับ มหาตรังคนที.
  92. ตรับ,ตรับฟัง
    หมายถึง [ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.
  93. ตรัย
    หมายถึง [ไตฺร] ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคำสมาส เช่น ตรัยตรึงศ์ รัตนตรัย. (ส.).
  94. ตรัยตรึงศ์
    หมายถึง [ไตฺรตฺรึง] น. ดาวดึงส์, สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ที่พระอินทร์ครอง. (ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ; ป. เตตฺตึส ว่า สามสิบสาม).
  95. ตรัส
    หมายถึง (ราชา) ก. พูด. ว. แจ้ง, สว่าง, ชัดเจน.
  96. ตรัสรู้
    หมายถึง [ตฺรัดสะ-] ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า); โดยปริยายหมายความว่า รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.
  97. ตรัสวิน
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เคลื่อนที่เร็ว
  98. ตรัสสา
    หมายถึง [ตฺรัดสา] น. คำยกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. (พระราชวิจารณ์).
  99. ตรา
    หมายถึง [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทำเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว, สำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สำหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราไว้; กำหนดไว้, จดจำไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
  100. ตรากตรำ
    หมายถึง [ตฺรากตฺรำ] ว. ทนทำอย่างไม่คิดถึงความยากลำบาก เช่น ทำงานอย่างตรากตรำ; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่างตรากตรำ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ต (หน้าที่ 2)"