พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 7)

  1. ชุด
    หมายถึง น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ถักด้วยหวายหรือเถาวัลย์เป็นตา; สิ่งที่ถักด้วยหวายหรือเถาวัลย์เป็นตาห่าง ๆ รูปคล้ายกระชุ สำหรับใส่หมูเป็น.
  2. ชุด
    หมายถึง น. ด้ายหรือนุ่นเป็นต้นสำหรับเป็นเชื้อให้ไฟติดในเวลาตีหินเหล็กไฟเป็นต้น.
  3. ชุดสากล
    หมายถึง น. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.
  4. ชุติ
    หมายถึง (แบบ) น. ความโพลง, ความรุ่งเรือง, ความสว่างไสว; ดวงดาว. (ป.; ส. ชฺยุติ).
  5. ชุติมา
    หมายถึง น. ผู้มีความรุ่งเรือง. (ป.; ส. ชฺยุติมตฺ).
  6. ชุน
    หมายถึง ก. ซ่อมผ้าหรือแหเป็นต้นที่ขาดทะลุเป็นรูให้เป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการถักหรือด้วยวิธีอื่น ๆ. น. เครื่องมือสำหรับถัก. (ข. ชุล).
  7. ชุบ
    หมายถึง ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสารละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียนหนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  8. ชุบชีวิต
    หมายถึง ก. ทำให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทำให้มีชีวิตขึ้น เช่น ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บำรุงให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น.
  9. ชุบชู
    หมายถึง น. ชื่อของหวานอย่างหนึ่ง คล้ายลอยแก้ว.
  10. ชุบตัว
    หมายถึง ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงในยุโรปและอเมริกา เช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  11. ชุบมือเปิบ
    หมายถึง (สำ) ก. ฉวยประโยชน์จากคนอื่นโดยไม่ได้ลงทุนลงแรง.
  12. ชุบย้อม
    หมายถึง ก. บำรุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
  13. ชุบสรง
    หมายถึง น. ผ้าผลัดอาบนํ้าเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบสรง.
  14. ชุบอาบ
    หมายถึง น. ผ้าผลัดอาบนํ้า เรียกว่า ผ้าชุบอาบ.
  15. ชุบเลี้ยง
    หมายถึง ก. บำรุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
  16. ชุม
    หมายถึง ก. มารวมกันจากที่ต่าง ๆ เช่น ชุมพล; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ขโมยชุม ยุงชุม.
  17. ชุมชน
    หมายถึง น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน.
  18. ชุมทางรถไฟ
    หมายถึง น. สถานีที่รวมทางแยกรถไฟ.
  19. ชุมนุม
    หมายถึง น. กอง, หมู่, พวก. ก. ประชุม, รวมกัน.
  20. ชุมนุมชน
    หมายถึง น. หมู่ชนที่รวมกันอยู่หนาแน่น, หมู่ชนที่มารวมกันมาก ๆ.
  21. ชุมพร
    หมายถึง น. ชื่อมะเดื่อชนิดหนึ่ง. (ดู มะเดื่อ). (เลือนมาจาก อุทุมพร).
  22. ชุมพร
    หมายถึง น. ชื่อปลาเนื้ออ่อน. (เลือนมาจาก สลุมพร).
  23. ชุมพา
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ขนยาวคล้ายขนแกะ. (พจน. ๒๔๙๓).
  24. ชุมรุม
    หมายถึง น. ที่พัก, ที่อาศัย.
  25. ชุมสาย
    หมายถึง น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย ว่า พระที่นั่งชุมสาย.
  26. ชุมสายโทรศัพท์
    หมายถึง น. ศูนย์กลางคู่สายโทรศัพท์ และเป็นที่ที่สายโทรศัพท์หมายเลขต่าง ๆ เชื่อมติดต่อกัน.
  27. ชุมเพ็ด
    หมายถึง น. ชื่อว่านชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  28. ชุมเห็ด
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Senna วงศ์ Leguminosae คือ ชุมเห็ดไทย [S. tora (L.) Roxb.] ใบเล็ก และ ชุมเห็ดเทศ [S. alata (L.) Roxb.] ใบใหญ่, ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทำยาได้.
  29. ชุมแพรก
    หมายถึง [-แพฺรก] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Heritiera javanica Kosterm. ในวงศ์ Sterculiaceae เนื้อไม้ใช้ทำบ้านและเครื่องเรือนเป็นต้น.
  30. ชุมแสง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Xanthophyllum lanceatum (Miq.) J.J. Sm. ในวงศ์ Xanthophyllaceae ใช้ทำยาได้.
  31. ชุลมุน
    หมายถึง [ชุนละ-] ว. อาการที่เป็นไปอย่างสับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น เดินกันชุลมุน ชกต่อยกันชุลมุน.
  32. ชุลี
    หมายถึง (กลอน) น. การประนมมือ, การไหว้. (ตัดมาจาก อัญชลี).
  33. ชุษณ,ชุษณ-,ชุษณะ
    หมายถึง [ชุดสะนะ] (แบบ) ว. ขาว, สว่าง. (ส. โชฺยตฺสฺนา).
  34. ชุษณปักษ์
    หมายถึง น. ข้างขึ้น. (ส. โชฺยตฺสฺนปกฺษ; ป. ชุณฺหปกฺข).
  35. ชุ่ง
    หมายถึง (โบ) สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้ายโชยชาย. (ลอ).
  36. ชุ่ม
    หมายถึง ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
  37. ชุ่มชื่น
    หมายถึง ก. รู้สึกสดชื่น, สดชื่น.
  38. ชุ่มชื้น
    หมายถึง ว. มีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่.
  39. ชุ่มใจ,ชุ่มอกชุ่มใจ
    หมายถึง ก. อิ่มเอิบใจ.
  40. ชุ่ย
    หมายถึง (วรรณ) ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม. (ขุนช้างขุนแผน).
  41. ชุ่ย,ชุ่ย,ชุ่ย ๆ
    หมายถึง ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ ทำชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.
  42. ชุ้ง
    หมายถึง ว. โค้ง, คด.
  43. ชู
    หมายถึง ก. ยกขึ้นสูงกว่าระดับเดิม เช่น ชูมือ, บำรุงให้ดีขึ้น เช่น ชูกำลัง.
  44. ชูกลิ่น
    หมายถึง ก. ส่งกลิ่น.
  45. ชูคอ
    หมายถึง ก. ชะเง้อคอ, อาการที่นั่งยืดคอวางท่าภาคภูมิ.
  46. ชูชีพ
    หมายถึง น. เครื่องช่วยพยุงตัวในนํ้าหรือในอากาศ เช่น พวงมาลัยชูชีพ ร่มชูชีพ.
  47. ชูรส
    หมายถึง ว. ที่ทำให้มีรสชาติดีขึ้น เช่น ผงชูรส.
  48. ชูหน้าชูตา
    หมายถึง ก. ทำให้มีหน้ามีตาขึ้น, เชิดหน้าชูตา ก็ว่า.
  49. ชูโรง
    หมายถึง น. ตัวแสดงที่ทำให้คณะดีขึ้น.
  50. ชูใจ
    หมายถึง ก. ทำให้ใจมีกำลังขึ้น.
  51. ชู้
    หมายถึง น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชายที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามีอยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้, เรียกชายหรือหญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
  52. ชู้สาว
    หมายถึง ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว.
  53. ชู้เหนือขันหมาก
    หมายถึง (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงคู่หมั้นของชายอื่น.
  54. ชู้เหนือผัว
    หมายถึง (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงซึ่งสามียังมีชีวิตอยู่.
  55. ชู้เหนือผี
    หมายถึง (กฎ; เลิก) น. ชายที่ลอบได้เสียกับหญิงที่สามีตาย ขณะที่ศพสามียังอยู่บนเรือน.
  56. ชเนตตี
    หมายถึง [ชะเนดตี] น. แม่ เช่น ชเนตตีสมะนามกร. (ฉันท์วรรณพฤติ). (ป.; ส. ชนยิตฺรี).
  57. ชเล
    หมายถึง (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
  58. ชโย
    หมายถึง [ชะ-] น. ความชนะ. (คำเดียวกับ ชัย). อ. คำที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  59. ชโลง
    หมายถึง [ชะ-] (โบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซ, จรรโลง, จูง เช่น ให้เป็นหลักชโลงจิต. (กฎ. ราชบุรี).
  60. ชโลทร
    หมายถึง [ชะโลทอน] น. แม่นํ้า, ทะเล, ห้วงนํ้า, ท้องนํ้า. (ป., ส. ชล + อุทร).
  61. ชโลม
    หมายถึง [ชะ-] ก. ลูบไล้ให้เปียก เช่น ชโลมยา ชโลมนํ้ามันยาง; ทำให้ชุ่มชื่น เช่น ชโลมใจ.
  62. ชไม
    หมายถึง [ชะ-] ว. ทั้งคู่, ทั้ง ๒. (ข.).
  63. ช็อก
    หมายถึง น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูกกระทบจิตใจอย่างรุนแรง หรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  64. ช็อกโกเลต,ช็อกโกแลต
    หมายถึง น. ขนมหวานทำจากเมล็ดโกโก้และนํ้าตาล บางชนิดก็มีไส้หวาน. ว. เรียกสีอย่างสีนํ้าตาลไหม้ ว่า สีช็อกโกเลต หรือ สีช็อกโกแลต. (อ. chocolate).
  65. ช่วง
    หมายถึง น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
  66. ช่วง
    หมายถึง ว. สว่าง, รุ่งโรจน์.
  67. ช่วง
    หมายถึง ก. มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ ใช้ เป็น ช่วงใช้. (ไทยใหญ่ ช่วง ว่า ใช้).
  68. ช่วง
    หมายถึง ก. แย่ง, ชิง, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ ชิง เป็น ช่วงชิง หรือ ชิงช่วง.
  69. ช่วงชัย
    หมายถึง น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  70. ช่วงชิง
    หมายถึง ก. แย่งชิง.
  71. ช่วงทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) ก. เอาทรัพย์สินอันหนึ่งแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีฐานะทางกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน.
  72. ช่วงบาท
    หมายถึง น. ผู้อยู่ในระยะเท้า “คือ ใกล้เท้า หมายความว่า ผู้รับใช้”.
  73. ช่วงสิทธิ์
    หมายถึง (กฎ) ก. เข้าสวมสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง.
  74. ช่วงเมือง
    หมายถึง (โบ) น. เมืองเล็กที่ขึ้นแก่ประเทศราช.
  75. ช่วงโชติ
    หมายถึง ก. สว่างรุ่งโรจน์, โชติช่วง ก็ว่า.
  76. ช่วงใช้
    หมายถึง ก. รับใช้ เช่น เป็นข้าช่วงใช้.
  77. ช่วย
    หมายถึง ก. ส่งเสริมเพื่อให้สำเร็จประโยชน์; ป้องกัน เช่น ช่วยไม่ได้.
  78. ช่วยเหลือ
    หมายถึง ก. ช่วยกิจการของเขาเพื่อให้พร้อมมูลขึ้น.
  79. ช่อ
    หมายถึง น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟ โคมช่อองุ่น.
  80. ช่อ
    หมายถึง ก. ชักรอก.
  81. ช่อง
    หมายถึง น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทำได้.
  82. ช่องกุด
    หมายถึง น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกำแพงเมืองหรือกำแพงวังชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
  83. ช่องดาล
    หมายถึง น. รูสำหรับสอดลูกดาลเข้าไปเขี่ยดาลที่ขัดบานประตู.
  84. ช่องตีนกา
    หมายถึง น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาทใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
  85. ช่องว่าง
    หมายถึง น. ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่ทำให้เข้ากันยาก เช่น ช่องว่างระหว่างชนชั้น ช่องว่างระหว่างวัย.
  86. ช่องเขา
    หมายถึง น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามจากทิวเขาด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก.
  87. ช่องแคบ
    หมายถึง น. ทางนํ้ายาวที่อยู่ระหว่างแผ่นดินหรือเกาะ เชื่อมต่อทะเลทั้ง ๒ ข้าง.
  88. ช่องไฟ
    หมายถึง น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
  89. ช่อน
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus ในวงศ์ Channidae ลำตัวทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนวเส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลำตัวเป็นสีนํ้าตาลเทาหรือค่อนข้างดำ ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดำพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดำ พบชุกชุมทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
  90. ช่อฟ้า
    หมายถึง น. ชื่อตัวไม้ที่ติดอยู่บริเวณหน้าจั่ว รูปเหมือนหัวนาคชูขึ้นเบื้องบน.
  91. ช่อม่วง
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง. (เห่เรือ); ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง.
  92. ช่อย
    หมายถึง (โบ) ก. ช่วย. (จารึกสยาม).
  93. ช่อลำดวน
    หมายถึง ดู สำลี ๓.
  94. ช่ออินทนิล
    หมายถึง ดู สร้อยอินทนิล.
  95. ช่าง
    หมายถึง ว. ปล่อย, วางธุระ, เช่น ช่างเถิด ช่างมัน.
  96. ช่าง
    หมายถึง น. ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่างเก่งจริง ๆ.
  97. ช่างกระไร
    หมายถึง คำกล่าวเนื่องจากติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง.
  98. ช่างทอง
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  99. ช่างปะไร
    หมายถึง (ปาก) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว, ไม่เอาธุระ.
  100. ช่างฝีมือ
    หมายถึง น. ผู้มีความรู้ความสามารถในงานวิชาชีพโดยเฉพาะด้านหัตถกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และวิศวกรรม.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 7)"