พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 4)

  1. ชัน
    หมายถึง ก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.
  2. ชัน
    หมายถึง น. ยางไม้สำหรับยาเรือเป็นต้น.
  3. ชันกาด
    หมายถึง [ชันนะ-] ดู ตะกาด ๒.
  4. ชันกาด
    หมายถึง [ชันนะ-] น. ชื่อหญ้าชนิด Panicum repens L. ในวงศ์ Gramineae ใช้ทำยาได้.
  5. ชันคอ
    หมายถึง ก. เริ่มตั้งคอได้ (ใช้แก่เด็ก).
  6. ชันชี
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. สัญญา, นัดหมาย, ตกลงกัน. (ม. janji).
  7. ชันตาฆระ
    หมายถึง [ชันตาคะระ] (แบบ) น. เรือนไฟ, ห้องสำหรับรมไฟเพื่อให้เหงื่อออก. (ป.).
  8. ชันตุ
    หมายถึง (แบบ) น. สัตว์เกิด, สัตว์, คน, ต้นไม้. (ป., ส.).
  9. ชันนะตุ
    หมายถึง น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อราบนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทำให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
  10. ชันนุ,ชันนุกะ
    หมายถึง (แบบ) น. เข่า. (ป., ส. ชานุ). (ดู ชานุ, ชานุกะ).
  11. ชันพอน
    หมายถึง น. ชันชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองนวล สำหรับใช้พอนเรือเป็นต้น, ลาพอน ก็ว่า.
  12. ชันษา
    หมายถึง [ชันนะสา] น. อายุ. (ย่อมาจาก ชนมพรรษา).
  13. ชันสน
    หมายถึง น. ของแข็งลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน ได้จากการกลั่นยางสน. (ดู ยางสน ประกอบ).
  14. ชันสูตร
    หมายถึง [ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐานข้อเท็จจริง เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.
  15. ชันสูตรพลิกศพ
    หมายถึง (กฎ) ก. ตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย.
  16. ชันโรง
    หมายถึง [ชันนะ-] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้งธรรมดา รังทำจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ ขนาดหอยโข่งหรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่ง หรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.
  17. ชัปนะ
    หมายถึง [ชับปะนะ] (แบบ) น. การพูดพึมพำ, การสวดมนต์พึมพำ. (ป., ส. ชปน).
  18. ชัพ
    หมายถึง [ชับ] (แบบ) ว. เร็ว. (ป., ส. ชว).
  19. ชัมพูนท
    หมายถึง [ชำพูนด] น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุท หรือ ชามพูนท ก็ว่า. (ป.; ส. ชามฺพูนท).
  20. ชัย,ชัย-
    หมายถึง [ไช, ไชยะ-] น. การชนะ, ความชนะ. (ป., ส.).
  21. ชัยบาน
    หมายถึง [ไชยะ-] น. เครื่องดื่มในการมีชัย. (ป.).
  22. ชัยพฤกษ์
    หมายถึง [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทำยาได้.
  23. ชัยพฤกษ์
    หมายถึง [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง.
  24. ชัยภูมิ
    หมายถึง [ไชยะพูม] น. ทำเลที่เหมาะ. (ป., ส.).
  25. ชัยศรี
    หมายถึง [ไชสี] น. ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ (ใช้ประกอบกับชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นมงคล) เช่น พระขรรค์ชัยศรี นครชัยศรี.
  26. ชัยเภรี
    หมายถึง [ไชยะ-] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง. (ส.).
  27. ชัลลุกา
    หมายถึง [ชันลุกา] (แบบ) น. ปลิง. (ป. ชลุกา, ชลูกา; ส. ชลูกา).
  28. ชัวชม
    หมายถึง ก. ชื่นชม, รื่นรมย์, ชมชัว ก็ว่า.
  29. ชั่ง
    หมายถึง น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.
  30. ชั่งหลวง
    หมายถึง น. ชื่อมาตราชั่งของหลวง มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม.
  31. ชั่งใจ
    หมายถึง ก. คิดให้แน่ก่อนที่จะตัดสินใจ.
  32. ชั่ว
    หมายถึง น. ระยะ เช่น นํ้าลึก ๓ ชั่วคน สูง ๓ ชั่วลำตาล, ระยะเวลา, สมัย, ครั้ง, เช่น ชั่วปู่ย่าตายาย ชั่วพ่อชั่วแม่.
  33. ชั่ว
    หมายถึง ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีตประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  34. ชั่ว
    หมายถึง บ. ตลอด, สิ้น, เช่น ชั่วอายุ.
  35. ชั่วคน
    หมายถึง น. ช่วงเวลาประมาณชั่วอายุ.
  36. ชั่วคราว
    หมายถึง ว. ชั่วระยะเวลาไม่นาน, ไม่ประจำ, ไม่ตลอดไป.
  37. ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
    หมายถึง (สำ) ว. ปล่อยไปตามเรื่องตามราว ไม่เอาเป็นธุระ.
  38. ชั่วช้า
    หมายถึง ว. เลวทราม.
  39. ชั่วนาตาปี
    หมายถึง ว. ตลอดปี.
  40. ชั่วเบา
    หมายถึง (โบ) ว. ชั่วระยะเวลานานตราบที่ยังไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ.
  41. ชั่วแต่ว่า
    หมายถึง ว. เสียแต่ว่า, เว้นแต่ว่า, เพียงแต่ว่า.
  42. ชั่วแล่น
    หมายถึง น. ระยะเวลาที่เป็นไปชั่วครู่ชั่วคราว.
  43. ชั่วโมง
    หมายถึง น. ช่วงระยะเวลา ๖๐ นาที.
  44. ชั้น
    หมายถึง น. ที่สำหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มีบานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลำดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  45. ชั้นฉาย
    หมายถึง น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้งโบราณกำหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงา เป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  46. ชั้นชั่ว
    หมายถึง ว. อย่างตํ่า.
  47. ชั้นเชิง
    หมายถึง น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
  48. ชั้นเดียว
    หมายถึง น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่าสองชั้นเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตราจังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  49. ชั้ว
    หมายถึง น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และขาย ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขาย เจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย.
  50. ชั้ว
    หมายถึง น. ที่สำหรับวางตั้งของ รูปคล้ายตู้ แต่ใช้กระดานข้างตลอดเป็นเชิง.
  51. ชา
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้ปลูกเป็นรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
  52. ชา
    หมายถึง ก. หมายไว้, กำหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบเรือชา. (สมุทรโฆษ).
  53. ชา
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
  54. ชา
    หมายถึง (โบ) น. เรียกร้านหรือเรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและนํ้าหอมเป็นต้น.
  55. ชา
    หมายถึง ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
  56. ชา
    หมายถึง ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
  57. ชาคระ
    หมายถึง [ชาคะระ] (แบบ) น. ความเพียร, ความตื่นอยู่. (ป., ส.).
  58. ชาคริต
    หมายถึง [-คฺริด] ก. ตื่น, ระวัง. (ส.).
  59. ชาคริยานุโยค
    หมายถึง [ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).
  60. ชาญ
    หมายถึง ว. ชำนาญ.
  61. ชาด
    หมายถึง น. วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ทำยาไทยหรือประสมกับนํ้ามันสำหรับประทับตราหรือทาสิ่งของ, ชาดที่มาจากเมืองจอแสประเทศจีนเรียก ชาดจอแส, ชาดที่มาจากเมืองอ้ายมุ่ยประเทศจีนเรียก ชาดอ้ายมุ่ย. ว. สีแดงสดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด.
  62. ชาดก
    หมายถึง [ชา-ดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).
  63. ชาดหรคุณ
    หมายถึง [ชาดหอระ-] น. ชาดประสมกับปรอทและกำมะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และเพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).
  64. ชาต,ชาต-,ชาตะ
    หมายถึง [ชาตะ-] ก. เกิด. (ป.).
  65. ชาตบุษย์
    หมายถึง [ชาดตะบุด] น. ชื่อบัวชนิดหนึ่ง.
  66. ชาตรี
    หมายถึง [-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
  67. ชาตรูป
    หมายถึง น. ทอง. (ป., ส.).
  68. ชาตสระ
    หมายถึง [-สะ] น. สระธรรมชาติ. (ป.).
  69. ชาตา
    หมายถึง น. เวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
  70. ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-
    หมายถึง [ชาด, ชาติ-, ชาดติ-] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กำเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จำพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
  71. ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-
    หมายถึง [ชาด, ชาดติ-] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
  72. ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-
    หมายถึง [ชาด, ชาติ-, ชาดติ-] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
  73. ชาติธรรม
    หมายถึง [ชาติทำ] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
  74. ชาตินิยม
    หมายถึง [ชาดนิยม] น. ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่, ความรักชาติ.
  75. ชาติพันธุ์
    หมายถึง [ชาดติพัน] น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน. (อ. ethnos).
  76. ชาติพันธุ์วรรณนา
    หมายถึง [ชาดติพันวันนะนา] น. ชาติพันธุ์วิทยาสาขาหนึ่งที่พรรณนาถึงวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ. (อ. ethnography).
  77. ชาติพันธุ์วิทยา
    หมายถึง [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กำเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
  78. ชาติภูมิ
    หมายถึง [ชาดติพูม] น. ถิ่นที่เกิด.
  79. ชาติมาลา
    หมายถึง [ชาติ-] น. สาขาแห่งชาติ, โครงแห่งตระกูล, แผนเครือญาติ. (ส.).
  80. ชาติรส
    หมายถึง [ชาติรด, ชาดติรด] น. รสโดยกำเนิด เช่นรสหวานแห่งนํ้าตาล. (ป.).
  81. ชาน
    หมายถึง น. กากอ้อยหรือกากหมากที่เคี้ยวแล้วเป็นต้น เช่น ชานอ้อย ชานหมาก.
  82. ชาน
    หมายถึง น. เรียกพื้นเรือนนอกชายคาว่า นอกชาน, พื้นที่นอกตัวเรือน ตัวเมือง หรือตัวกำแพง เป็นต้น ออกไป เช่น ชานเมือง ชานกำแพง ชานเขื่อน.
  83. ชานคลอง
    หมายถึง (กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลองขนานไปกับคลอง.
  84. ชานฉัตร
    หมายถึง น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า.
  85. ชานชาลา
    หมายถึง น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสารมารอขึ้นรถ; ที่โล่งหน้าสถานที่สำคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.
  86. ชานุ,ชานุกะ
    หมายถึง น. เข่า, ชันนุ หรือ ชันนุกะ ก็ใช้. (ป., ส.).
  87. ชานุมณฑล
    หมายถึง น. สะบ้าเข่า. (ป., ส.).
  88. ชาปีไหน
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิด Caloenas nicobarica ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขี้อาย มักเกาะหลบตามกิ่งไม้หนาทึบ พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง สุราษฎร์ธานี, กะดง ก็เรียก.
  89. ชาม
    หมายถึง น. ภาชนะรูปคลุ่ม ๆ ชนิดหนึ่ง สำหรับใส่อาหารเป็นต้น.
  90. ชามพูนท
    หมายถึง [ชามพูนด] น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่า เกิดใต้ต้นหว้า), ชมพูนท ชมพูนุทหรือ ชัมพูนท ก็ว่า. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที.).
  91. ชามอีโน
    หมายถึง (โบ) น. ชามขนาดใหญ่อย่างชามโคม.
  92. ชามาดร,ชามาดา,ชามาตุ
    หมายถึง [-ดอน] น. ลูกเขย. (ป. ชามาตุ; ส. ชามาตฺฤ).
  93. ชาย
    หมายถึง ว. เห็นจะ, ค่อนข้าง, เช่น ชายจะเบากว่าพ่อชาลี. (ม. ร่ายยาว).
  94. ชาย
    หมายถึง น. ส่วนริมหรือปลายของสิ่งของบางอย่าง เช่น ชายผ้า ชายจีวร, ส่วนที่สุดเขต, ริม, เช่น ชายป่า ชายแดน ชายทะเล.
  95. ชาย
    หมายถึง น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
  96. ชาย
    หมายถึง ก. พัดอ่อน ๆ เช่น ลมชาย; คล้อย, บ่าย, เช่น ตะวันชาย; เดินเลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู.
  97. ชายกระเบน
    หมายถึง น. ชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, หางกระเบน ก็เรียก.
  98. ชายกระเบนเหน็บ
    หมายถึง น. อวัยวะตรงที่เหน็บชายกระเบน.
  99. ชายครุย
    หมายถึง น. ชายผ้าที่เป็นเส้น ๆ, ครุย ก็ว่า.
  100. ชายคา
    หมายถึง น. ส่วนที่สุดของหลังคาที่ยื่นพ้นตัวเรือนออกมา.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 4)"