พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 3)

  1. ชะง่อน
    หมายถึง น. หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา.
  2. ชะง้ำ
    หมายถึง ว. สูงและยื่นงํ้าออกมา.
  3. ชะฉ่า
    หมายถึง ว. เสียงลูกคู่ที่รับเพลงปรบไก่.
  4. ชะชิด
    หมายถึง ก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.
  5. ชะช่อง
    หมายถึง น. ช่อง, รูที่ผ่านได้, โอกาส, ทาง.
  6. ชะช้า
    หมายถึง อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
  7. ชะดีชะร้าย
    หมายถึง (ปาก) ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, โดยปรกติมักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นตามที่คาดไว้.
  8. ชะตา
    หมายถึง น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทำให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสำแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคำนวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  9. ชะต้า
    หมายถึง (แบบ) อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขาเป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
  10. ชะนี
    หมายถึง น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง.
  11. ชะนี
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดำและนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา, ชะนีมือดำ (H. agilis) สีดำ นํ้าตาล และเทา.
  12. ชะนีร่ายไม้
    หมายถึง น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  13. ชะนุง
    หมายถึง น. ไม้คู่สำหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวีเพื่อแยกเส้นด้าย.
  14. ชะพลู
    หมายถึง [-พฺลู] ดู ช้าพลู.
  15. ชะมด
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดน้ำมัน.
  16. ชะมด
    หมายถึง น. ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง.
  17. ชะมด
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอน หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  18. ชะมดต้น
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Abelmoschus moschatus Medic. subsp. moschatus ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง โคนกลีบสีนํ้าตาลเข้ม เมล็ดมีกลิ่นคล้ายกลิ่นชะมดเช็ด ใช้ทำยาได้, ฝ้ายผี ก็เรียก.
  19. ชะมดเชียง
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องหอมชนิดหนึ่งซึ่งได้จากกวางชะมดตัวผู้ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้. (ดู กวางชะมด ประกอบ).
  20. ชะมบ
    หมายถึง น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายสำหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน. (ปรัดเล).
  21. ชะมวง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia cowa Roxb. ในวงศ์ Guttiferae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก.
  22. ชะมัง
    หมายถึง ดู ทำมัง.
  23. ชะมัด
    หมายถึง ว. มาก, ยิ่ง, เช่น เก่งชะมัด, ชะมัดยาด ก็ว่า.
  24. ชะรอย
    หมายถึง ว. เห็นจะ, เห็นทีจะ, ท่าจะ, บางที, ในบทกลอนใช้ว่า รอย ก็มี.
  25. ชะลอ
    หมายถึง ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทำให้ช้าลง, ทำให้ช้าลงเพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.
  26. ชะลอม
    หมายถึง น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปทรงกระบอก สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, อีสานเรียก กระลอม ก็มี.
  27. ชะลาน
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะมักตกในระยะเวลาที่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ.
  28. ชะลิน
    หมายถึง ดู นวลจันทร์ทะเล.
  29. ชะลูด
    หมายถึง ว. เรียวยาวสูงขึ้นไป.
  30. ชะลูด
    หมายถึง ก. ลงท้อง, ท้องเดิน, (ใช้แก่ช้าง).
  31. ชะลูด
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Alyxia reinwardtii Blume ในวงศ์ Apocynaceae เปลือกหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม.
  32. ชะล่า
    หมายถึง น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ท้องแบน หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย หัวตัดท้ายตัด มีขนาดยาวมาก.
  33. ชะล่า
    หมายถึง ก. เหิมใจ, ได้ใจ, กำเริบ, กล้าล่วงเกิน.
  34. ชะวัง
    หมายถึง น. ชื่อหวายชนิดหนึ่งผิวงาม โดยมากใช้ทำไม้ถือ. (พจน. ๒๔๙๓).
  35. ชะวาก
    หมายถึง น. ช่องที่เวิ้งว้างเข้าไป.
  36. ชะวากทะเล
    หมายถึง น. ฝั่งทะเลที่เว้าเป็นช่องเข้าไปยังปากแม่นํ้า ซึ่งนํ้าจืดไหลมาผสมกับนํ้าทะเล.
  37. ชะวาด
    หมายถึง น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม. (เห่เรือ).
  38. ชะวุ้ง
    หมายถึง ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคำฉันท์).
  39. ชะอม
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Acacia pennata (L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) Nielsen ในวงศ์ Leguminosae มีหนาม กลิ่นแรง ใบเล็กเป็นฝอย ยอดและใบอ่อนกินได้.
  40. ชะอ้อน
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาวาจาเพื่อให้เขาเมตตา, ฉะอ้อน ก็ใช้. ว. กล้องแกล้ง, แน่งน้อย, รูปเล็กบาง, ฉะอ้อน ก็ใช้.
  41. ชะเงื้อม
    หมายถึง ว. ยื่นออกจากที่สูง.
  42. ชะเง้อ
    หมายถึง ก. ชูคอขึ้นดู.
  43. ชะเนาะ
    หมายถึง น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขันบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการทำนั่งร้าน, ลูกชะเนาะ ก็เรียก.
  44. ชะเนียง
    หมายถึง (ถิ่น-จันทบุรี) น. ต้นเนียง. (ดู เนียง ๒).
  45. ชะเพลิง
    หมายถึง ดู กระดูกค่าง.
  46. ชะเลง
    หมายถึง น. เครื่องดักปลาชนิดหนึ่งคล้ายชนาง.
  47. ชะเลย
    หมายถึง ก. ชะล่า เช่น พระทำเฉยจะให้นางชะเลยใจ. (อิเหนา).
  48. ชะเวิกชะวาก
    หมายถึง ว. เปิดกว้างและลึก เช่น สวมเสื้อคอกว้างชะเวิกชะวาก.
  49. ชะเอม
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum. ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทำยา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ (G. uralensis Fish.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  50. ชะแง้
    หมายถึง ก. เหลียวแลดู, เฝ้าคอยดู.
  51. ชะแม่
    หมายถึง น. หัวหน้าโขลน.
  52. ชะแลง
    หมายถึง น. เครื่องมือชนิดหนึ่ง ทำด้วยท่อนเหล็กมีปลายแบน สำหรับงัดสิ่งของหรือขุดดิน.
  53. ชะแล็ก
    หมายถึง (ปาก) น. เชลแล็ก. (อ. shellac).
  54. ชะแวง
    หมายถึง น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).
  55. ชะโงก
    หมายถึง ก. ยื่นหน้าหรือส่วนหน้าออกไป.
  56. ชะโงกผา
    หมายถึง น. หินซึ่งยื่นออกไปจากหน้าผา.
  57. ชะโด
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมีจำนวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒-๙๕ เกล็ด ข้างลำตัวมีแถบสีดำเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบเป็นสีแดงแถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  58. ชะโอน
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดำ เป็นพวกปลาเนื้ออ่อน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้น เหนือครีบอกมีจุดกลมสีดำ ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพร หรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดำบนลำตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.
  59. ชัก
    หมายถึง ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
  60. ชัก
    หมายถึง ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกอย่างกะทันหันและรุนแรง มักมีอาการมือเท้าเกร็ง.
  61. ชักกระบี่สี่ท่า
    หมายถึง น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  62. ชักครอก
    หมายถึง [-คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ ว่า ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
  63. ชักคราม
    หมายถึง [-คฺราม] ดู ชะคราม.
  64. ชักจูง
    หมายถึง ก. จูงใจเพื่อให้เห็นคล้อยตาม.
  65. ชักชวน
    หมายถึง ก. ชวนให้ทำด้วยกัน.
  66. ชักช้า
    หมายถึง ว. โอ้เอ้, ล่าช้า.
  67. ชักซอสามสาย
    หมายถึง น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  68. ชักซุงตามขวาง
    หมายถึง (สำ) ก. ทำอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความลำบาก; ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  69. ชักตะพานแหงนเถ่อ
    หมายถึง (สำ) ก. ตั้งใจทำอะไรแล้วไม่เป็นผลสำเร็จ ต้องคอยค้างอยู่.
  70. ชักนำ
    หมายถึง ก. เกลี้ยกล่อมหรือโน้มนำให้เห็นคล้อยตาม.
  71. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
    หมายถึง (สำ) ก. นำศัตรูเข้าบ้าน.
  72. ชักพระ
    หมายถึง น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  73. ชักยันต์
    หมายถึง ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้งบริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
  74. ชักรอก
    หมายถึง ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอกเพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะว่า โขนชักรอก.
  75. ชักรูป
    หมายถึง ก. บันทึกภาพโดยวิธีให้แสงจากสิ่งที่จะถ่ายไปลงบนแผ่นวัสดุใสเช่นฟิล์ม กระจกถ่ายรูป, ถ่ายรูป ก็ว่า.
  76. ชักศพ
    หมายถึง ก. ถือสายสิญจน์ที่โยงจากศพและนำศพให้เคลื่อนที่ไปยังที่เก็บ ที่ตั้ง หรือที่เผาศพ (ใช้แก่พระ).
  77. ชักสองแถว
    หมายถึง ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดำขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
  78. ชักสีหน้า
    หมายถึง ก. ทำสีหน้าโกรธไม่พอใจ, ชักหน้า ก็ว่า.
  79. ชักสื่อ
    หมายถึง ก. แนะนำชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว.
  80. ชักหน้า
    หมายถึง ก. ทำสีหน้าโกรธไม่พอใจ เช่น นางนั่งก้มพักตร์แล้วชักหน้า. (อิเหนา), ชักสีหน้า ก็ว่า.
  81. ชักหน้า
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อม ใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  82. ชักหน้าไม่ถึงหลัง
    หมายถึง (สำ) ก. มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย.
  83. ชักเงา
    หมายถึง ก. ทำให้เกิดเงา. ว. ที่ทำให้เกิดเงา เช่น นํ้ามันชักเงา.
  84. ชักเนื้อ
    หมายถึง ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจำนวนที่เขากำหนดไว้ แล้วเรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม.
  85. ชักเย่อ
    หมายถึง [ชักกะ-] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตน ถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะ ตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.
  86. ชักแป้งผัดหน้า
    หมายถึง น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  87. ชักแม่น้ำทั้งห้า
    หมายถึง (สำ) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคำยอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  88. ชักโครก
    หมายถึง [-โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
  89. ชักใบให้เรือเสีย
    หมายถึง (สำ) ก. พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  90. ชักใย
    หมายถึง (สำ) ก. บงการอยู่เบื้องหลัง.
  91. ชัค,ชัค-
    หมายถึง [ชักคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชัคสัตว์เสพสำราญ รมยทั่ว กันนา. (ตะเลงพ่าย). (ป. ชค).
  92. ชัง
    หมายถึง ก. เกลียด, ไม่ชอบ, ไม่รัก.
  93. ชังคา
    หมายถึง (กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).
  94. ชังฆ,ชังฆ-
    หมายถึง [ชังคะ-] (แบบ) น. ชงฆ์, แข้ง. (ป., ส.).
  95. ชังฆวิหาร
    หมายถึง น. การเดินไปมา.
  96. ชัชวาล
    หมายถึง [ชัดชะวาน] ว. สว่าง, รุ่งเรือง, โพลงขึ้น. (ส. ชฺวาล).
  97. ชัฏ
    หมายถึง [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจชาติชัฏขน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  98. ชัด
    หมายถึง ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
  99. ชัดช้า
    หมายถึง อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชะช้า ก็ว่า.
  100. ชัดเจน
    หมายถึง ว. ถูกต้องแน่นอน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ช (หน้าที่ 3)"