พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 9)

  1. จุดสัมผัส
    หมายถึง (คณิต) น. จุดที่เส้นสัมผัสแตะเส้นโค้ง. (อ. point of contact).
  2. จุดหมาย,จุดหมายปลายทาง
    หมายถึง น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมายที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  3. จุดหลอมเหลว
    หมายถึง น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). (อ. melting point).
  4. จุดหลัง
    หมายถึง ก. เอาเล็บจิกหรือกดตุ่มหรือผื่นที่หลังเพื่อแก้คันเป็นต้น.
  5. จุดอิ่มตัว
    หมายถึง น. ขีดขั้นที่อากาศสามารถรับไอนํ้าไว้ได้เต็มที่ ณ อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ถ้าได้รับเกินขีดขั้นนี้ ไอนํ้าที่ได้รับเกินมาจะควบแน่นเป็นหยดนํ้า. (อ. saturation point).
  6. จุดอ่อน
    หมายถึง น. จุดอ่อนแอ, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้โดยง่าย, ตรงข้ามกับ จุดแข็ง.
  7. จุดเดือด
    หมายถึง น. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. (อ. boiling point).
  8. จุดเด่น
    หมายถึง น. สิ่งที่ปรากฏชัดสะดุดตาหรือสะดุดใจ.
  9. จุดเยือกแข็ง
    หมายถึง น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). (อ. freezing point).
  10. จุดเหี่ยวเฉา
    หมายถึง น. ขีดขั้นที่กำหนดปริมาณนํ้าในดินน้อยที่สุดเท่าที่พืชจะสามารถนำไปเลี้ยงลำต้นได้โดยไม่เหี่ยวเฉา ถ้ามีปริมาณนํ้าในดินน้อยกว่านั้น พืชจะเหี่ยวเฉาทันที.
  11. จุดแข็ง
    หมายถึง น. จุดที่เข้มแข็ง, จุดที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอาชนะได้ยาก, ตรงข้ามกับ จุดอ่อน.
  12. จุดไต้ตำตอ
    หมายถึง (สำ) ก. พูดหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเอิญไปโดนเอาเจ้าตัวหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้นเข้าโดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้ตัว.
  13. จุติ
    หมายถึง [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิดหนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
  14. จุตูปปาตญาณ
    หมายถึง [-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺาน).
  15. จุทสมสุรทิน
    หมายถึง น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ.
  16. จุทสะ
    หมายถึง [จุดทะสะ] (แบบ) ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ).
  17. จุน
    หมายถึง ก. คํ้าหรือยันเพื่อปะทะปะทังไว้.
  18. จุนจู๋
    หมายถึง ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคำว่า สั้นจุนจู๋, จู๋ ก็ว่า.
  19. จุนทการ
    หมายถึง [จุนทะกาน] (แบบ) น. ช่างกลึง. (ป.; ส. กุนฺทกร).
  20. จุนสี
    หมายถึง [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อเป็นผลึกมีสูตร CuSO4·5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไปเข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  21. จุนเจือ
    หมายถึง ก. อุดหนุน, เผื่อแผ่.
  22. จุบ
    หมายถึง ก. เอาปากดูดโดยเร็วและแรง, อาการที่ปลาทำอย่างนั้น เรียกว่า ปลาจุบ.
  23. จุบจิบ
    หมายถึง ว. อาการที่กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กิน เป็น กินจุบกินจิบ, โบราณใช้ว่า กระจุบกระจิบ ก็มี.
  24. จุปาก
    หมายถึง ก. ทำเสียงด้วยปากดังจุ ๆ.
  25. จุมพฏ
    หมายถึง [-พด] น. เสวียน; รัดเกล้า, เทริด; ของที่เป็นวง. (ป.).
  26. จุมพรวด
    หมายถึง น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
  27. จุมพล
    หมายถึง [จุมพน] (โบ) น. จอมพล, นายทัพ, ผู้เป็นใหญ่กว่าพล.
  28. จุมพิต
    หมายถึง [-พิด] ก. จูบ. (ป.; ส. จุมฺพิต ว่า จูบด้วยปาก).
  29. จุมโพล่
    หมายถึง [-โพฺล่] น. ฝาปิดช่องบันไดหรือช่องทางขึ้นลงเรือดำน้ำหรือที่ดาดฟ้าเรือ.
  30. จุรณ,จูรณ
    หมายถึง [จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).
  31. จุรณมหาจุรณ,จุรณวิจุรณ
    หมายถึง [จุนมะหาจุน, จุนวิจุน] น. ของที่แหลกละเอียดมาก เช่น แหลกเป็นจุรณมหาจุรณ แหลกเป็นจุรณวิจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณมหาจุณ หรือ จุณวิจุณ ก็มี.
  32. จุรี
    หมายถึง (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ. (ข. จรี ว่า มีด, หอก, ดาบ).
  33. จุล,จุล-
    หมายถึง [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).
  34. จุลกฐิน
    หมายถึง น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทำตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทำอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด.
  35. จุลจอมเกล้า
    หมายถึง [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  36. จุลชีพ,จุลชีวัน,จุลชีวิน,จุลินทรีย์
    หมายถึง น. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ส่วนมากมีเซลล์เดียว. (อ. microbe, micro-organism).
  37. จุลทรรศน์
    หมายถึง น. กล้องขยายดูของเล็กที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า. (อ. microscope).
  38. จุลพน
    หมายถึง [จุนละ-] น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๖ ของมหาชาติ.
  39. จุลภาค
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ, จุดลูกนํ้า ก็เรียก; ภาคเล็ก.
  40. จุลวงศ์
    หมายถึง [จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
  41. จุลวรรค
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ในพระวินัยปิฎก; ชื่อมาตราปักษคณนา คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ปักษ์ขาด ๑ ปักษ์ เป็นจุลวรรค.
  42. จุลศักราช
    หมายถึง น. ศักราชน้อย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๑๑๘๑ เท่ากับจุลศักราช).
  43. จุลสาร
    หมายถึง น. สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน.
  44. จุลอุปรากร
    หมายถึง น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบทสนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).
  45. จุฬา
    หมายถึง น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวกุลา ก็เรียก.
  46. จุฬา
    หมายถึง น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
  47. จุฬามณี
    หมายถึง น. ปิ่น; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฬามณีเจดีย์, จุฑามณี ก็ว่า. (ป.; ส. จูฑามณี).
  48. จุฬาราชมนตรี
    หมายถึง น. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.
  49. จุฬาลักษณ์
    หมายถึง ว. มีลักษณะเลิศ, โฉมงาม.
  50. จุฬาลัมพา,จุฬาลำพา
    หมายถึง น. โกฐจุฬาลัมพา. (ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา).
  51. จุใจ
    หมายถึง ว. มากจนเป็นที่พอใจ.
  52. จุไร
    หมายถึง น. ไรจุก, ไรผม, (ราชา) พระจุไร.
  53. จุ่ง
    หมายถึง ก. จง, คำช่วยกริยาบอกความบังคับหรือความหวัง.
  54. จุ่น
    หมายถึง ว. ลักษณะสะดือที่โปนออกมา เรียกว่า สะดือจุ่น.
  55. จุ่ม
    หมายถึง ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจ่อมลงไปในของเหลวแล้วยกขึ้น เช่น เอาผ้าจุ่มนํ้า.
  56. จุ้งจัง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า.
  57. จุ้น
    หมายถึง น. ที่รองภาชนะเช่นถ้วยหรือป้าน ทำด้วยไม้หรือกระเบื้องเป็นต้น.
  58. จุ้น
    หมายถึง (ปาก) ก. จุ้นจ้าน.
  59. จุ้นจู๊
    หมายถึง น. ผู้จัดการเรือ, หัวหน้าและผู้จัดการเรื่องสินค้าในเรือ. (จ.).
  60. จุ้นจ้าน
    หมายถึง ก. เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หรือในเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวจนน่าเกลียด, (ปาก) จุ้น.
  61. จุ้ม
    หมายถึง ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งชุบหรือจุ่มลงไปในของเหลว เช่น เอาปากกาจุ้มหมึก.
  62. จุ้ย
    หมายถึง ว. เล็ก, น้อย, เช่น พระจอมจุ้ย.
  63. จุ๊กกรู๊
    หมายถึง ว. เสียงนกเขาขันคู, กรุกกรู๊ ก็ว่า.
  64. จุ๊บ
    หมายถึง น. หลอดสำหรับรับของไหลเช่นลมหรือไอนํ้าเป็นต้นให้ผ่านเข้าไป. (อ. tube).
  65. จุ๊บ
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงดูดปาก. ก. (ปาก) จูบ, ดูด.
  66. จุ๊บแจง
    หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cerithidea obtusa ในวงศ์ Potamididae เปลือกผิวขรุขระเวียนเป็นวง รูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม สีเทาอมดำ.
  67. จุ๊บแจง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  68. จุ๋งจิ๋ง
    หมายถึง ก. พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ทำเสียงเล็กเสียงน้อยน่าเอ็นดู, กระจุ๋งกระจิ๋ง ก็ว่า.
  69. จุ๋มจิ๋ม
    หมายถึง ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ น่าเอ็นดู, กระจุ๋มกระจิ๋ม ก็ว่า.
  70. จู
    หมายถึง น. ชื่อหมาชนิดหนึ่งตัวเล็ก ๆ ขนยาวปุกปุย เรียกว่า หมาจู.
  71. จูง
    หมายถึง ก. พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด เช่น จูงควาย จูงเด็ก. น. ชื่อวัยของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง.
  72. จูงจมูก
    หมายถึง ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนำไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน.
  73. จูงนางลีลา
    หมายถึง น. ชื่อท่ารำชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.
  74. จูงนางเข้าห้อง
    หมายถึง น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่องในรูปเป็นวงอย่างก้นหอย.
  75. จูงมือ
    หมายถึง ก. จับมือพากันไป.
  76. จูงใจ
    หมายถึง ก. ชักนำหรือเกลี้ยกล่อมเพื่อให้เห็นคล้อยตาม เช่น พูดจูงใจ.
  77. จูบ
    หมายถึง ก. เอาจมูกสัมผัสสูดแสดงความรักหรือความใคร่.
  78. จูบฝุ่น
    หมายถึง (ปาก) ก. หกล้มหน้าควํ่า.
  79. จู่
    หมายถึง ก. กรากหรือรี่เข้าใส่โดยไม่รู้ตัว. ว. ตรงถึง, ไม่รั้งรอ.
  80. จู่ ๆ
    หมายถึง ว. ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เช่น จู่ ๆ ก็มา.
  81. จู่ลู่
    หมายถึง ก. รี่เข้าไปตามทาง (ลู่ ว่า ทาง), ถลันเข้าไป; โดยปริยายหมายความว่า ดูถูก.
  82. จู่โจม
    หมายถึง ก. เข้ากระทำการโดยไม่ให้รู้ตัว.
  83. จู้
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
  84. จู้
    หมายถึง น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, กระจู้ หรือ อีจู้ ก็มี.
  85. จู้จี้
    หมายถึง ดู จี่ ๒.
  86. จู้จี้
    หมายถึง ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
  87. จู๊ด
    หมายถึง ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
  88. จู๋
    หมายถึง ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคำว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ห่อปากเข้ามา เช่น ทำปากจู๋.
  89. จู๋จี๋
    หมายถึง ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. ว. อาการที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า.
  90. จเร
    หมายถึง [จะ-] น. ผู้ดูแลทั่ว ๆ ไป, ผู้ตรวจตราทั่ว ๆ ไป, เช่น จเรตำรวจ จเรทหาร. ก. ตระเวนไป.
  91. จแจ้น
    หมายถึง (แบบ) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคำว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น. (จารึกสยาม).
  92. จ่ง
    หมายถึง (กลอน) ว. จง.
  93. จ่ม
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. บ่น. (จ่ม ไทยดำ ว่า บ่น).
  94. จ่อ
    หมายถึง ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปใกล้หรือเกือบจดสิ่งอื่น เช่น เอายาดมจ่อจมูก; มุ่งอยู่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำ จด เป็น จดจ่อ เช่น เขามีใจจดจ่อกับงาน.
  95. จ่อ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม.
  96. จ่อคิว
    หมายถึง (ปาก) ว. ใกล้ถึงลำดับที่จะได้หรือจะเป็น เช่น เขาจ่อคิวขึ้นเป็นหัวหน้า.
  97. จ่อม
    หมายถึง ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  98. จ่อม
    หมายถึง น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ หมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม.
  99. จ่อมจ่าย
    หมายถึง ก. ค่อยจับจ่าย, จ่ายทีละน้อย.
  100. จ่อย
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) ว. ผอม.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 9)"