พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 7)

  1. จำวัด
    หมายถึง ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
  2. จำศีล
    หมายถึง ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิดนอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจำศีล.
  3. จำหนับ
    หมายถึง ก. อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้, ใช้ จำนับ ก็มี. (แผลงมาจาก จับ).
  4. จำหนับ
    หมายถึง (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จังหนับ หรือ จํ๋าหนับ ก็ว่า.
  5. จำหน่าย
    หมายถึง ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จำหน่ายจากบัญชี. (แผลงมาจาก จ่าย).
  6. จำหระ
    หมายถึง น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย), ตำหระ ก็ว่า.
  7. จำหลอก
    หมายถึง [-หฺลอก] (กลอน) ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็นลวดลาย, เช่น จำหลักจำหลอกกลม ภบังอวจจำหลักราย. (สมุทรโฆษ).
  8. จำหลัก
    หมายถึง ก. สลัก, แกะให้เป็นลวดลาย.
  9. จำหล่อ
    หมายถึง น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จังหล่อ ก็เรียก.
  10. จำหัน
    หมายถึง ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
  11. จำหัน,จำหัน,จำหาย,จำหาย
    หมายถึง น. หมวก, เทริด.
  12. จำหาย
    หมายถึง ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
  13. จำหุด
    หมายถึง ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สำคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
  14. จำห้าประการ
    หมายถึง ว. มีเครื่องจองจำครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและไปติดกับขื่อทำด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จำครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
  15. จำอวด
    หมายถึง น. การแสดงโดยใช้ถ้อยคำ ท่าทาง ชวนให้ตลกขบขัน.
  16. จำเจ
    หมายถึง ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, ซํ้าซาก.
  17. จำเดิม
    หมายถึง บ. แต่ต้น, เริ่มแรก, แรก.
  18. จำเทิด
    หมายถึง (โบ) ก. เผ่นขึ้นสูง, งอกขึ้นสูง, สูงไสว.
  19. จำเนียน
    หมายถึง ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ. (แผลงมาจาก เจียน). (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
  20. จำเนียม
    หมายถึง ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจำเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
  21. จำเนียร
    หมายถึง ว. นาน, ช้า. (แผลงมาจาก เจียร).
  22. จำเบศ
    หมายถึง ความหมายอย่างเดียวกับ จำบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จำเบศจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  23. จำเป็น
    หมายถึง ว. ต้องเป็นอย่างนั้น, ต้องทำ, ขาดไม่ได้.
  24. จำเพาะ
    หมายถึง ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จำเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจากบ้านจึงไปไม่ได้.
  25. จำเริญ
    หมายถึง ก. เติบโต, งอกงาม, มากขึ้น, สมบูรณ์; ทิ้ง เช่น จำเริญยา, ตัด เช่น จำเริญเกศา. (แผลงมาจาก เจริญ).
  26. จำเรียง
    หมายถึง ก. ขับลำ, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (แผลงมาจาก เจรียง).
  27. จำเลย
    หมายถึง น. (กฎ) บุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว; ผู้ถูกฟ้องความ. (กลอน) ก. เฉลย, ตอบ. (ข. จํเลิย ว่า ผู้ตอบ).
  28. จำเลาะ
    หมายถึง ก. ทะเลาะ. (ข. เฌฺลาะ).
  29. จำเลาะตา
    หมายถึง [-เหฺลาะ-] น. ซีกไม้ไผ่ที่มีตาไม้ติดอยู่.
  30. จำเหียง
    หมายถึง ก. โค้งงอน เช่น งาเจียงจำเหียงแข. (ยวนพ่าย). (แผลงมาจาก เฉียง). (ข. จํเหียง ว่า ซีก, เสี้ยว).
  31. จำแทง
    หมายถึง (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรำท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
  32. จำแนก
    หมายถึง ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จำแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก แจก).
  33. จำแบ
    หมายถึง น. ชื่อปลาแห้งชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นริ้ว, ตำแบ ก็ว่า. ก. แผ่ออก.
  34. จำแพรก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ยืนต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
  35. จำแลง
    หมายถึง ก. แปลงตัว.
  36. จำแล่น
    หมายถึง ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล. (ม. คำหลวง มหาราช).
  37. จำโนทย์
    หมายถึง (โบ) ก. ฟ้อง, ร้องขอ, กล่าวหา. (แผลงมาจาก โจท, โจทย์).
  38. จิ
    หมายถึง (แบบ) ก. จะ เช่น จิปากทั้งลิ้นล้า เพื่อเจ้าเจียรจันทร์. (ทวาทศมาส).
  39. จิก
    หมายถึง ก. กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่ เช่น เอาเล็บจิกให้เป็นรอย เอาปลายเท้าจิกดินให้อยู่; (ปาก) โขกสับเมื่อเป็นต่อ เช่น เมื่อได้ท่าก็จิกเสียใหญ่.
  40. จิก
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Barringtonia วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [B. acutangula (L.) Gaertn.] จิกบ้าน หรือ จิกสวน [B. racemosa (L.) Roxb.] จิกเล [B. asiatica (L.) Kurz]. (๒) ดู กระโดน. (๓) ดู ตีนตุ๊กแก (๖).
  41. จิกปีก
    หมายถึง ก. งงจนไม่รู้จะทำอะไรได้ (มาจากอาการของไก่ที่ถูกตีจนงงแล้วเอาปากจิกปีกตัวเอง).
  42. จิกหัว
    หมายถึง ก. เอามือขยุ้มผมแล้วรั้งไป; บังคับให้พุ่งไป เช่น เครื่องบินจิกหัวลง; กดขี่, ข่มขี่, เช่น จิกหัวใช้.
  43. จิงจัง,จิ้งจัง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า.
  44. จิงจ้อ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Convolvulaceae เช่น จิงจ้อขาว จิงจ้อเหลี่ยม หรือ จี๋จ้อ [Operculina turpethum (L.) S. Manso] ลำต้นเป็นเหลี่ยมหรือมีครีบ ดอกสีขาว จิงจ้อใหญ่ จิงจ้อเหลือง หรือ จิงจ้อขน (Merremia vitifolia Hallier f.) ลำต้นกลม มีขนมาก ดอกสีเหลือง, ทั้ง ๒ ชนิดรากใช้ทำยาได้.
  45. จิงโจ้
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องแขวนให้เด็กดู.
  46. จิงโจ้
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรงใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัวไม่มีรกติดออกมา มีถุงที่หน้าท้องสำหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus, M. giganteus มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย.
  47. จิงโจ้
    หมายถึง น. ชื่อแมลงพวกมวนในวงศ์ Gerridae หรือ Gerrididae ลำตัวลีบและยาว โดยทั่วไปยาว ๑-๒ เซนติเมตร มีทั้งพวกที่มีปีกซึ่งอาจสั้นหรือยาวหรือไม่มีปีก ขาคู่หน้าสั้นใช้จับสัตว์เล็ก ๆ กิน ขาคู่กลางและคู่หลังยาวกว่าลำตัวมาก ที่ปลายขามีขนละเอียดปกคลุมแน่น สามารถวิ่งไปตามผิวนํ้าได้ อาศัยตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด ที่พบบ่อย ๆ ตามสระมักเป็นพวกที่อยู่ในสกุล Limnogonus, จิงโจ้นํ้า ก็เรียก.
  48. จิงโจ้
    หมายถึง น. เครื่องป้องกันใบจักรเรือไม่ให้สวะเข้าไปปะกันกระทบ และกันไม่ให้เพลาแกว่ง.
  49. จิงโจ้
    หมายถึง น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
  50. จิงโจ้น้ำ
    หมายถึง ดู จิงโจ้ ๒.
  51. จิต,จิต-
    หมายถึง [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
  52. จิตกาธาน
    หมายถึง [จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน. (ป., ส. จิตก + อาธาน).
  53. จิตกึ่งสำนึก
    หมายถึง น. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่. (อ. semiconscious).
  54. จิตต,จิตต-,จิตต์
    หมายถึง [จิดตะ-] (แบบ) น. จิต. (ป.).
  55. จิตตภาวนา
    หมายถึง (แบบ) น. การอบรมจิต.
  56. จิตตวิสุทธิ
    หมายถึง (แบบ) น. ความหมดจดของจิต คือหมดจดจากกิเลส.
  57. จิตตานุปัสสนา
    หมายถึง น. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.
  58. จิตนิยม
    หมายถึง [จิดตะ-] น. ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความแท้จริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น. (อ. idealism).
  59. จิตบำบัด
    หมายถึง [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
  60. จิตภาพ
    หมายถึง [จิดตะ-] น. ลักษณะทั่วไปของจิตที่แสดงให้เห็นเด่นชัด, บางทีใช้หมายถึงวิสัยสามารถของจิต. (อ. mentality).
  61. จิตร
    หมายถึง [จิด] (โบ) น. จิต, ใจ.
  62. จิตร,จิตร-,จิตร-
    หมายถึง [จิดตฺระ-] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์จิตรา เรียกว่า จิตรมาส คือ เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน. (ส. ไจตฺร; ป. จิตฺต).
  63. จิตร,จิตร,จิตร-,จิตร-
    หมายถึง [จิด, จิดตฺระ-] น. การวาดเขียน, การระบายสี, ลวดลาย. ว. งดงาม, สดใส, ที่เขียนงดงาม. (ป., ส.).
  64. จิตรกร
    หมายถึง น. ช่างวาดเขียน, ช่างวาดภาพ. (ป., ส.).
  65. จิตรกรรม
    หมายถึง น. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).
  66. จิตรจุล
    หมายถึง [จิดตฺระ-] (ราชา) น. เต่า. (ชื่อเต่าในภูริทัตชาดกว่า จิตฺตจูฬ).
  67. จิตรปทา
    หมายถึง น. ชื่อฉันท์ในวรรณพฤติ. (ป., ส.).
  68. จิตรลดา
    หมายถึง [จิดตฺระ-] น. เครือเถาชนิดหนึ่ง. (ส. แปลว่า หลากด้วยไม้เถาต่าง ๆ หรือว่าเป็นที่รวมแห่งไม้ทิพย์ชื่อจิตรลดา; ป. จิตฺตลตา).
  69. จิตรลดา
    หมายถึง น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง, คู่กับ มหาจิตรลดา.
  70. จิตรลดาวัน
    หมายถึง น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. จิตฺตลตาวน).
  71. จิตระ,จิตรา
    หมายถึง [จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).
  72. จิตรเลขา
    หมายถึง น. รูปภาพลายเส้น. (ส.; ป. จิตฺตเลขา).
  73. จิตวิทยา
    หมายถึง [จิดตะ-] น. วิชาว่าด้วยจิต, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต.
  74. จิตวิสัย
    หมายถึง [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  75. จิตสำนึก
    หมายถึง น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  76. จิตเวชศาสตร์
    หมายถึง [จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).
  77. จิตแพทย์
    หมายถึง [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
  78. จิตใจ
    หมายถึง น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
  79. จิตใต้สำนึก
    หมายถึง น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ. (อ. subconscious).
  80. จิตไร้สำนึก
    หมายถึง น. ความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก. (อ. un-conscious).
  81. จินดา
    หมายถึง น. ความคิด, ความนึก; แก้วมีค่า เช่น ทับทรวงดวงกุดั่นจินดาแดง. (อิเหนา).
  82. จินดามณี
    หมายถึง น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  83. จินดามัย
    หมายถึง ว. ที่สำเร็จด้วยความคิด. (ป., ส. จินฺตามย).
  84. จินดาหนา
    หมายถึง [-หฺนา] น. ต้นจันทน์. (ช.).
  85. จินดาหรา
    หมายถึง [-หฺรา] ว. ฉลาด. (ช.).
  86. จินต
    หมายถึง [จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).
  87. จินต-
    หมายถึง [จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).
  88. จินตกวี
    หมายถึง น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดและจินตนาการของตนเอง.
  89. จินตนาการ
    หมายถึง น. การสร้างภาพขึ้นในจิตใจ. (ป. จินฺตน + อาการ).
  90. จินตนิยม
    หมายถึง น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  91. จินตภาพ
    หมายถึง น. ภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้น, ภาพลักษณ์ ก็ว่า. (อ. image).
  92. จินต์
    หมายถึง [จินตะ-] ก. คิด. (ป., ส.).
  93. จินต์จล
    หมายถึง ก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้จินต์จล. (โลกนิติ). (ป. จินฺต ว่า คิด, จล ว่าหวั่นไหว).
  94. จินเจา
    หมายถึง น. ชื่อแพรจีนชนิดหนึ่ง มีดอกดวงโต.
  95. จิบ
    หมายถึง น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลำปักทางซ้ายและทางขวาเรียงกันเป็นลำดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียวกับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อเวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
  96. จิบ
    หมายถึง ก. ลิ้ม, ดื่มทีละนิด.
  97. จิบ
    หมายถึง (กลอน) น. นกกระจิบ.
  98. จิปาถะ
    หมายถึง ว. สารพัด, ไม่เลือกว่าอะไร, ทุกสิ่งทุกอย่าง.
  99. จิร,จิร-
    หมายถึง [-ระ-] ว. นาน, ช้า. (ป., ส.).
  100. จิรกาล
    หมายถึง น. กาลนาน, เวลาช้านาน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 7)"