พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 6)

  1. จานเจือ
    หมายถึง ก. เพิ่มเติม, ประสม; เผื่อแผ่, อุดหนุน, เจือจาน ก็ว่า.
  2. จานเชิง
    หมายถึง น. ภาชนะกระเบื้องชนิดหนึ่ง ลักษณะแบนกลมคล้ายจาน ยกขอบและมีเชิงอย่างพาน เดิมสั่งทำจากจีน มีทั้งชนิดเขียนลายครามและเขียนสีเบญจรงค์ ใช้ใส่อาหาร.
  3. จานเสียง
    หมายถึง น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็นร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่องแล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, แผ่นเสียง ก็เรียก.
  4. จาบ
    หมายถึง (โบ) ก. พูดล่วงเกิน.
  5. จาบ
    หมายถึง (กลอน) น. นกกระจาบ เช่น มีกุโงกกุงานแลกุงอน นกจิบจาบซอบ. (สมุทรโฆษ).
  6. จาบคา
    หมายถึง น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Meropidae ลำตัวเรียวบาง สีออกเขียว ปากสีดำ ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด สร้างรังเป็นโพรงในดินหรือตามหน้าผาเป็นกลุ่ม กินแมลง มีหลายชนิด เช่น จาบคาเคราแดง (Nyctyornis amictus) จาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) ซึ่งเดิมเรียก คับคา.
  7. จาบจ้วง
    หมายถึง ว. อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จ้วงจาบ ก็ว่า.
  8. จาบัล
    หมายถึง [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  9. จาบัลย์
    หมายถึง [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
  10. จาป
    หมายถึง [จาบ, จาปะ] (แบบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.).
  11. จาป
    หมายถึง [จาบ] (แบบ) น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จากจาปน้อยแนบอก แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. จาป; ส. ศาว).
  12. จาม
    หมายถึง น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ปัจจุบันส่วนใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในเขตประเทศเวียดนามตอนใต้.
  13. จาม
    หมายถึง ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ในทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  14. จามจุรี
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้นก้ามปู หรือต้นจามจุรีแดง [Samanea saman (Jacq.) F. Muell.] ซึ่งเป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี.
  15. จามจุรี
    หมายถึง ดู จามรี.
  16. จามร
    หมายถึง [-มอน] น. แส้ขนจามรี ด้ามยาว ปรกติสอดอยู่ในฝักแบนรูปคล้ายน้ำเต้า จัดเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง.
  17. จามรี
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos grunniens ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์จำพวกวัว ขนยาวมาก ละเอียดอ่อน สีนํ้าตาลเข้มจนถึงดำ เฉพาะบริเวณสวาบจะมีสีดำห้อยยาวลงมาเกือบถึงพื้น ช่วงเขากว้างมาก หางยาวเป็นพู่ อาศัยอยู่แถบภูเขาสูงในทิเบต, จมร จมรี หรือ จามจุรี ก็เรียก; เรียกแส้ที่ทำด้วยขนหางจามรีว่า แส้จามรี.
  18. จามีกร
    หมายถึง [-กอน] น. ทอง, เครื่องทอง. (ป., ส.).
  19. จาร
    หมายถึง [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  20. จาร,จาร-,จาร-
    หมายถึง [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  21. จารวาก
    หมายถึง [จาระ-] น. ลัทธิโลกายัต. (ดู โลกายัต).
  22. จาระบี
    หมายถึง น. นํ้ามันข้นเหนียวสำหรับหล่อลื่นและกันความสึกหรอของเครื่องจักรเป็นต้น, จระบี ก็ว่า. (ฮ. จรฺพี).
  23. จาระไน
    หมายถึง ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.
  24. จาริก,จารึก,จารึก
    หมายถึง น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
  25. จารี
    หมายถึง น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).
  26. จารีต
    หมายถึง [-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  27. จารีตนครบาล
    หมายถึง ก. ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยการทรมานจำเลย.
  28. จารีตประเพณี
    หมายถึง น. ประเพณีที่นิยมและประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว.
  29. จารึก
    หมายถึง ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
  30. จารุ
    หมายถึง (แบบ) น. ทองคำ. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).
  31. จาว
    หมายถึง ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
  32. จาว
    หมายถึง น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  33. จาว
    หมายถึง น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  34. จาว
    หมายถึง ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อยตามคำแนะนำ).
  35. จาว
    หมายถึง ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  36. จาว
    หมายถึง น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  37. จาว ๆ
    หมายถึง ว. ห่าง ๆ เช่น เนาผ้าจาว ๆ, จะจะ เช่น วางเครื่องข้าวยำจาว ๆ ให้เลือกกิน.
  38. จาวมะพร้าว
    หมายถึง น. (๑) มันจาวมะพร้าว. (ดู มันเสา). (๒) ชื่อเห็ดชนิด Clavatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง.
  39. จำ
    หมายถึง ก. กำหนดไว้ในใจ, ระลึกได้, เช่น จำหน้าได้.
  40. จำ
    หมายถึง (โบ) น. ชายผ้า เช่น เอาพระจำเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (อะหม จำ ว่า ชายผ้า).
  41. จำ
    หมายถึง ก. อาการที่ต้องฝืนใจทำ เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย. (นิ. นรินทร์).
  42. จำ
    หมายถึง ก. ลงโทษด้วยวิธีเอาโซ่ตรวนล่ามไว้ เช่น จำโซ่ จำตรวน, ลงโทษด้วยวิธีขัง เช่น จำคุก.
  43. จำกว่า
    หมายถึง ก. ให้ยิ่งขึ้น.
  44. จำกัด
    หมายถึง ก. กำหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จำกัดอายุ จำกัดความรู้.
  45. จำกัดความ
    หมายถึง ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กำหนดความหมาย.
  46. จำกัดความรับผิดชอบ
    หมายถึง น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
  47. จำกัดจำเขี่ย
    หมายถึง ก. จำกัดจนที่สุด, ใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด, กระเบียดกระเสียร.
  48. จำครบ
    หมายถึง ว. จำห้าประการ.
  49. จำคุก
    หมายถึง (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขังไว้ในเรือนจำ.
  50. จำงาย
    หมายถึง (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
  51. จำจอง
    หมายถึง ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น, จองจำ ก็ว่า.
  52. จำทวย
    หมายถึง (โบ) ก. ประจำหมู่.
  53. จำทวย
    หมายถึง (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรำ, เช่น จำทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).
  54. จำทับ
    หมายถึง (โบ) ก. โผลง, โจนลง, ทุ่มลง, ตกลง.
  55. จำทาบ
    หมายถึง (กลอน) ก. จับ, ถือ.
  56. จำนง
    หมายถึง ก. ประสงค์, มุ่งหวัง, ตั้งใจ. (แผลงมาจาก จง).
  57. จำนน
    หมายถึง ก. แพ้, ไม่มีทางสู้. (แผลงมาจาก จน).
  58. จำนรรจา
    หมายถึง [-นันจา] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
  59. จำนรรจ์
    หมายถึง [-นัน] (กลอน) ก. เจรจา, พูด, กล่าว.
  60. จำนวน
    หมายถึง น. ยอดรวมที่กำหนดนับไว้เป็นส่วน ๆ.
  61. จำนวนจริง
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนใด ๆ ซึ่งอาจเป็นจำนวนตรรกยะหรือจำนวนอตรรกยะ.
  62. จำนวนจินตภาพ
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b o.
  63. จำนวนตรรกยะ
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษและส่วนต้องเป็นจำนวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จำนวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซํ้าได้ เช่น (= ๐.๑), (= ๐.๑๒).
  64. จำนวนนับ
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนที่เกิดจากการนับ จำนวนที่ใช้แทนการนับ ได้แก่ ๑, ๒, ๓, ๔ ... .
  65. จำนวนบวก
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์.
  66. จำนวนลบ
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนเลขที่มีค่าต่ำกว่าศูนย์.
  67. จำนวนอตรรกยะ
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทไม่ซํ้าได้ เช่น (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕...), (= ๓.๑๔๑๕๙๒๖...).
  68. จำนวนเชิงซ้อน
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้เป็น a + bi โดย a และ b เป็นจำนวนจริง และ i๒ = -๑.
  69. จำนวนเต็ม
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนที่เป็นจำนวนนับ, จำนวนนับติดเครื่องหมายลบหรือศูนย์.
  70. จำนอง
    หมายถึง ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง. (แผลงมาจาก จอง).
  71. จำนับ
    หมายถึง [จำหฺนับ] (กลอน) ก. จับ, อาการที่ใช้มือจับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้, ใช้ จำหนับ ก็มี.
  72. จำนัล
    หมายถึง ก. แจจัน เช่น จำนัลจำนับรอบราย. (สมุทรโฆษ). (ข. จาล่, จัล, จำนัล ว่า ปะทะ). (ดู แจจน, แจจัน).
  73. จำนำ
    หมายถึง ก. ประจำ, เรียกผู้ซื้อขายหรือติดต่อกันเป็นประจำว่า เจ้าจำนำ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้. (แผลงมาจาก จำ).
  74. จำนำพรรษา
    หมายถึง ว. เรียกผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ ว่า ผ้าจำนำพรรษา.
  75. จำบัง
    หมายถึง ก. รบ เช่น คชจำบังข้าศึก. (ตะเลงพ่าย). น. ศึก, สงคราม; นักรบ. (จารึกสยาม). (ข. จํบาง, จมฺบำง ว่า การรบ, สงคราม).
  76. จำบัง
    หมายถึง ก. กำบังกาย, หายตัวไป, เช่น โจนจำบับจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  77. จำบับ
    หมายถึง ก. จับ เช่น โจนจำบับจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช). (ข. จํบาบ่ ว่า การปล้ำกัน, การประสานมือกัน).
  78. จำบ่ม
    หมายถึง ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จำบ่ม เช่น มะม่วงจำบ่ม.
  79. จำปา
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจำปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  80. จำปาขอม
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  81. จำปาดะ
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้; เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจำปาดะ. (ดู ขนุน ๑).
  82. จำปาทองเทศ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  83. จำปาทองเทศ
    หมายถึง น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  84. จำปาลาว
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  85. จำปาหอม
    หมายถึง ดู ลั่นทม.
  86. จำปาแขก
    หมายถึง ดู จำปีแขก (๑).
  87. จำปี
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia alba DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว คล้ายดอกจำปาแต่กลีบเล็กและหนากว่า บางพันธุ์สีนวลหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น.
  88. จำปีแขก
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Michelia figo (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกคล้ายดอกจำปีแต่เล็กกว่า กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาลมีขนหนานุ่ม กลีบดอกแข็งสีนวล กลิ่นหอมมาก, จำปาแขก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Pterospermum diversifolium Blume ในวงศ์ Sterculiaceae กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาล กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอมอ่อน.
  89. จำปูน
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Anaxagorea javanica Blume ในวงศ์ Annonaceae มีตามป่าดิบทางปักษ์ใต้ กลีบดอกแหลมหนาแข็ง ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาวนวล กลิ่นหอมมาก.
  90. จำพรรษา
    หมายถึง ก. อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
  91. จำพวก
    หมายถึง น. พวก, ประเภท, ชนิด, หมู่, เหล่า.
  92. จำรด
    หมายถึง [-หฺรด] (กลอน) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. (แผลงมาจาก จรด).
  93. จำรัส
    หมายถึง [-หฺรัด] ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง. (แผลงมาจาก จรัส).
  94. จำราญ
    หมายถึง (กลอน) ก. หัก, พัง, ทำลาย, กระจาย, ดับ. (แผลงมาจาก จราญ).
  95. จำราย
    หมายถึง (กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจำรายศักดิ์ โสภิต. (ทวาทศมาส).
  96. จำรูญ
    หมายถึง ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
  97. จำลอง
    หมายถึง น. อาน, สัปคับ.
  98. จำลอง
    หมายถึง ก. ถ่ายแบบ เช่น จำลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจำลอง, ที่ทำให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจำลอง.
  99. จำลองทอง
    หมายถึง น. เครื่องสัปคับจำพวกกูบ ใช้ผูกหลังช้างพัง.
  100. จำลาย
    หมายถึง (โบ) ก. สลัก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 6)"