พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 5)

  1. จับจอง
    หมายถึง (กฎ) ก. เข้าครอบครองที่ดินสาธารณะไว้เพื่อตน.
  2. จับจิต,จับใจ
    หมายถึง ว. ติดใจ, เป็นที่พอใจ.
  3. จับจ่าย
    หมายถึง ก. ใช้เงินซื้อหา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใช้สอย เป็น จับจ่ายใช้สอย.
  4. จับฉ่าย
    หมายถึง น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง; (ปาก) ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
  5. จับดำถลำแดง
    หมายถึง (สำ) ก. มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง, มุ่งอย่างหนึ่งกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  6. จับตัววางตาย
    หมายถึง (สำ) ก. กำหนดลงไปแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง, กำหนดตัวบุคคลให้ประจำหน้าที่โดยเฉพาะ.
  7. จับตา
    หมายถึง ว. ถูกตา, เหมาะตา, เป็นที่พอตา.
  8. จับตา,จับตา,จับตาดู
    หมายถึง ก. คอยเฝ้าสังเกต, จ้องระวังระไว.
  9. จับตาย
    หมายถึง ก. จับตัวมาให้ได้แม้ว่าจะต้องทำให้ตาย.
  10. จับปลาสองมือ
    หมายถึง (สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่างพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.
  11. จับปิ้ง
    หมายถึง น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).
  12. จับปูใส่กระด้ง
    หมายถึง (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.
  13. จับผิด
    หมายถึง ก. จับความผิดของผู้อื่น, สรรหาเอาผิดจนได้.
  14. จับพลัดจับผลู
    หมายถึง ก. จับผิด ๆ ถูก ๆ; บังเอิญเป็นไปโดยไม่ตั้งใจ.
  15. จับมือ
    หมายถึง ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.
  16. จับมือถือแขน
    หมายถึง (สำ) ก. ฉวยโอกาสล่วงเกินหญิงด้วยการจับมือจับแขนในเชิงชู้สาว.
  17. จับมือใครดมไม่ได้
    หมายถึง (สำ) ก. หาตัวผู้กระทำผิดไม่ได้.
  18. จับยาม
    หมายถึง ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา.
  19. จับยี่กี
    หมายถึง น. การเล่นพนันของจีนชนิดหนึ่ง มีไพ่ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑๒ แผ่น. (จ.).
  20. จับระบำ
    หมายถึง น. กระบวนรำท่าต่าง ๆ. ก. เริ่มฟ้อนรำ.
  21. จับลมปราณ
    หมายถึง น. วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้าย.
  22. จับลิงหัวค่ำ
    หมายถึง น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อเรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
  23. จับสั่น
    หมายถึง น. ชื่อไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้จับสั่น หรือ ไข้มาลาเรีย ก็เรียก. (อ. malaria fever, malaria, paludism).
  24. จับสายสิญจน์
    หมายถึง ก. ควบจับด้ายเส้นเดียวทบให้เป็น ๓ เส้น หรือควบด้าย ๓ เส้นทบให้เป็น ๙ เส้นเพื่อให้เหนียว.
  25. จับหลัก
    หมายถึง (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.
  26. จับหวัด
    หมายถึง (โบ) ก. ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมแก้หวัด.
  27. จับหัวเข่าพูด,จับเข่าคุยกัน
    หมายถึง (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  28. จับหืด
    หมายถึง ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  29. จับเขม่า
    หมายถึง ก. เอาเขม่าผสมนํ้ามันตานีเป็นต้นทาไรผมให้ดำ.
  30. จับเข่าคุยกัน,จับหัวเข่าพูด
    หมายถึง (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  31. จับเจี๋ยว
    หมายถึง น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสำหรับต้มนํ้า. (จ.).
  32. จับเจ่า
    หมายถึง ว. หงอยเหงา, หงอยก๋อย.
  33. จับเชิง
    หมายถึง ก. ตกปลอกช้าง, ล่ามเท้าช้าง.
  34. จับเดิม
    หมายถึง ว. จำเดิม.
  35. จับเปาะ
    หมายถึง (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
  36. จับเป็น
    หมายถึง ก. จับตัวมาให้ได้โดยไม่ทำให้ตาย.
  37. จับเวลา
    หมายถึง ก. ดูเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นในการแข่งขันกีฬา, ดูเวลาให้ตรงตามที่กำหนด.
  38. จับเสือมือเปล่า
    หมายถึง (สำ) ก. แสวงหาประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน.
  39. จับเส้น
    หมายถึง ก. บีบนวดเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว; โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน.
  40. จับแพะชนแกะ
    หมายถึง ก. ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้ลุล่วงไป.
  41. จับโปง
    หมายถึง (โบ) น. ลมที่ทำให้ปวดเมื่อยตามข้อต่าง ๆ.
  42. จับไข้
    หมายถึง ก. อาการที่เป็นไข้.
  43. จับได้ไล่ทัน
    หมายถึง (สำ) ก. รู้เท่าทัน เช่น เขาจับได้ไล่ทันว่าเป็นเรื่องไม่จริง.
  44. จับไม้จับมือ
    หมายถึง ก. จับมือจับแขนแสดงความสนิทสนม.
  45. จัมบก,จัมปกะ
    หมายถึง [จำบก] (แบบ) น. ต้นจำปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  46. จัมปา
    หมายถึง น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
  47. จัมมะ
    หมายถึง (แบบ) น. จรรม, หนังสัตว์. (ป.; ส. จรฺม).
  48. จัว
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. สามเณร.
  49. จั่น
    หมายถึง น. ช่อดอกหมากหรือช่อดอกมะพร้าวเมื่อยังอ่อนอยู่.
  50. จั่น
    หมายถึง น. ชื่อเบี้ยชนิด Cypraea moneta ในวงศ์ Cypraeidae หลังนูน ท้องเป็นร่อง ๆ เปลือกแข็งเรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้ต่างเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก.
  51. จั่น
    หมายถึง น. เครื่องดักสัตว์ทั้งในนํ้าและบนบก มีรูปคล้ายกรง มีหลายชนิด; เรียกประตูนํ้าอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวางกันว่า ปากจั่น.
  52. จั่น
    หมายถึง น. เครื่องประดับคอชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายทับทรวงและจี้ ใหญ่กว่าจี้ แต่ย่อมกว่าตาบและทับทรวง.
  53. จั่น
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Millettia brandisiana Kurz ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงหรือม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่วแต่ขนาดเล็กกว่า เวลาออกดอกไม่ใคร่มีใบ เป็นไม้ประดับที่งาม. -(๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อเห็ดชนิด Tricholoma crassum (Berk.) Succ. ในวงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดใหญ่ สีขาวนวล เนื้อหนา ก้านใหญ่ ด้านล่างมีครีบ กินได้, เห็ดตีนแรด หรือ เห็ดตับเต่าขาว ก็เรียก.
  54. จั่นดิน
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นรากสามสิบ. (ดู รากสามสิบ).
  55. จั่นหับ
    หมายถึง น. กรงดักสัตว์ ด้านหน้ามีประตูปิดเปิดได้.
  56. จั่นห้าว
    หมายถึง น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียวกับหน้าไม้ก็ได้.
  57. จั่ว
    หมายถึง น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคาสำหรับกันลมและแดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, หน้าจั่ว ก็ว่า.
  58. จั่ว
    หมายถึง ก. ลากไพ่จากกองมาเปิด, เปิดไพ่ในกอง.
  59. จั้ก ๆ
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงฝนตกแรง.
  60. จั้ง
    หมายถึง (โบ) ก. ตั้ง เช่น คือคชกลับกลอกจั้ง จญสีห์. (ยวนพ่าย).
  61. จั้งมั่ง
    หมายถึง ว. แข็งแรง, จังมัง ก็ว่า.
  62. จั้นหล่อ
    หมายถึง น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จังหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  63. จั๊กกิ้ม
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งจก. (ดู จิ้งจก).
  64. จั๊กเดียม
    หมายถึง [จั๊กกะ-] ก. กระดาก, เขินอาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ จั๊กจี้ เป็น จั๊กจี้จั๊กเดียม.
  65. จั๊กเล้อ
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งเหลน. (ดู จิ้งเหลน).
  66. จั๊กแหล่น
    หมายถึง [จั๊กกะแหฺล่น] (ปาก) ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
  67. จั๊วะ
    หมายถึง ว. คำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.
  68. จั๋ง
    หมายถึง (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จังหนับ จำหนับ หรือ จํ๋าหนับ ก็ว่า.
  69. จั๋ง
    หมายถึง น. ชื่อปาล์มชนิด Rhapis excelsa Henry ในวงศ์ Palmae ใบรูปพัด ปลูกเป็นไม้ประดับ, เท้าสาน ก็เรียก.
  70. จา
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. พูด, กล่าว.
  71. จาก
    หมายถึง ก. ออกพ้นไป เช่น จากบ้านจากเมือง จากลูกจากเมีย. บ. คำนำหน้านามบอกต้นทางที่มา เช่น ดื่มนํ้าจากแก้ว เขามาจากอยุธยา; ตั้งแต่ เช่น จากเช้าจดคํ่า.
  72. จาก
    หมายถึง น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
  73. จาก
    หมายถึง น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก; เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
  74. จากพราก,จากพาก
    หมายถึง [จากกะพรฺาก, จากกะพาก] น. ชื่อนกในวงศ์นกเป็ดนํ้า (ทางวรรณคดีนิยมว่า คู่ของนกนี้ต้องพรากจากกันจะครวญถึงกันในเวลากลางคืน), จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
  75. จากหลบ
    หมายถึง น. ตับจากทำเป็นคู่ใช้ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดเพื่อไม่ให้ฝนรั่วได้.
  76. จาคะ
    หมายถึง น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
  77. จาคี
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้มีการเสียสละ, ผู้นิยมทำทาน. (ป.; ส. ตฺยาคินฺ).
  78. จาง
    หมายถึง ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  79. จางปาง
    หมายถึง (ปาก) ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง; อีสานว่า จ่างป่าง.
  80. จางวาง
    หมายถึง (เลิก) น. ตำแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก, ตำแหน่งผู้กำกับการ, ตำแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือทรงกรม.
  81. จาด
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลำตัวยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลำตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, โพ ก็เรียก.
  82. จาด
    หมายถึง น. สีขาวใช้ทาฝาเรือนและอื่น ๆ.
  83. จาดตะกั่ว
    หมายถึง น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3·Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
  84. จาตุ,จาตุ-
    หมายถึง ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
  85. จาตุกรณีย์
    หมายถึง น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
  86. จาตุทสี
    หมายถึง [-ทะสี] น. ดิถีที่ ๑๔ (คือ วัน ๑๔ คํ่า). (ป. จาตุทฺทสี; ส. จตุรฺทศี).
  87. จาตุมหาราช
    หมายถึง น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า; เรียกหัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  88. จาตุมหาราชิก,จาตุมหาราชิกา
    หมายถึง น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
  89. จาตุร,จาตุร-
    หมายถึง [จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
  90. จาตุรงค,จาตุรงค-,จาตุรงค์
    หมายถึง [-ตุรงคะ-] ว. มีองค์ ๔, มีส่วน ๔. (ป. จาตุร + องฺค).
  91. จาตุรงคสันนิบาต
    หมายถึง น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  92. จาตุรนต์,จาตุรันต์
    หมายถึง (แบบ) น. เจ้าแห่งโลกหรือแห่งทิศทั้ง ๔. (ป., ส.).
  93. จาตุรนต์รัศมี
    หมายถึง น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
  94. จาตุรราชการ
    หมายถึง ดู จาตุกรณีย์.
  95. จาน
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).
  96. จาน
    หมายถึง น. ภาชนะรูปแบน ๆ สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ, ลักษณนามเรียกจานที่ไม่มีอะไรบรรจุว่า ใบ หรือ ลูก เช่น จานใบหนึ่ง จาน ๒ ลูก, ลักษณนามเรียกสิ่งของที่บรรจุอยู่ในจานว่าจาน เช่น ข้าวจานหนึ่ง ข้าว ๒ จาน, เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น จานเสียง, เรียกมะเขือชนิดหนึ่งว่า มะเขือจาน, คู่กับ มะเขือถ้วย.
  97. จาน
    หมายถึง ก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.
  98. จานจ่าย
    หมายถึง น. อุปกรณ์ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวเทียนในฝาสูบของเครื่องยนต์ตามจังหวะที่เหมาะสม เพื่อจุดระเบิดไอนํ้ามันเชื้อเพลิงผสมอากาศ.
  99. จานบิน
    หมายถึง น. วัตถุบิน ลักษณะคล้ายจาน ๒ ใบควํ่าประกบกัน เชื่อกันว่าเป็นยานอวกาศที่มาจากดาวดวงอื่น, จานผี ก็เรียก.
  100. จานผี
    หมายถึง ดู จานบิน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 5)"