พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 4)

  1. จักสาน
    หมายถึง น. เรียกเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวายเป็นต้นว่า เครื่องจักสาน.
  2. จักแหล่น
    หมายถึง [จักกะแหฺล่น] (ปาก) ว. จวนเจียน, เกือบ, หวุดหวิด, เช่น จักแหล่นจะไม่ทันรถไฟ.
  3. จัง
    หมายถึง (ปาก) ว. ยิ่งนัก เช่น เก่งจัง ร้อนจัง ของสิ่งนี้ถูกจัง; เต็มที่, เต็มแรง, เช่น ชนกันเข้าอย่างจัง.
  4. จังกวด
    หมายถึง น. จะกวด. (พจน. ๒๔๙๓). (ข. ตฺรกวต).
  5. จังกวด
    หมายถึง (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
  6. จังกอบ
    หมายถึง (โบ) น. ภาษีผ่านด่าน, ภาษีปากเรือ, ภาษีที่เก็บเพื่อใช้บำรุงท้องถิ่น. ก. ผูก, มัด, เชิงกอบ ก็เรียก.
  7. จังกา
    หมายถึง น. ไม้ขาหยั่ง.
  8. จังกูด
    หมายถึง น. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างคล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).
  9. จังก้า
    หมายถึง ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียมพร้อมที่จะยิง.
  10. จังงัง
    หมายถึง ว. อาการที่ตกตะลึงนิ่งงันอยู่.
  11. จังมัง
    หมายถึง น. ไม้สำหรับขัดก้นกระบุงและตะกร้าทั้ง ๔ มุมให้แน่นและแข็งแรง. ว. แข็งแรง, จั้งมั่ง ก็ว่า.
  12. จังลอน
    หมายถึง น. ปลาหรือเนื้อโขลกปั้นเป็นก้อนหรือเป็นแผ่นเคี่ยวกับนํ้ากะทิ สำหรับกินกับขนมจีนซาวนํ้า, บางทีใช้โขลกปลาปั้นเป็นก้อนเสียบไม้ปิ้งไฟ เรียกว่า จังลอนแห้ง, แจงลอน ก็ว่า.
  13. จังหนับ
    หมายถึง (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จำหนับ หรือ จ๋ำหนับ ก็ว่า.
  14. จังหน้า
    หมายถึง ว. เต็มหน้า, เต็มที่, เช่น เจอเข้าจังหน้า โดนเข้าจังหน้า.
  15. จังหรีด
    หมายถึง น. จิ้งหรีด. (ดู จิ้งหรีด).
  16. จังหล่อ
    หมายถึง น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก. (ลำดับสกุลเก่า; ลัทธิ). (จ. จั้ง ว่า กีด, ขวาง; โหล่ว ว่า ถนน).
  17. จังหวะ
    หมายถึง น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).
  18. จังหวะจะโคน
    หมายถึง (ปาก) น. จังหวะ.
  19. จังหวัด
    หมายถึง (กฎ) น. หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกัน และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครอง, (โบ) เมือง, หัวเมือง; ถิ่น, เขต, บริเวณ, เช่น อารามขึ้นคณะป่าแก้วในจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช. (ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา).
  20. จังหัน
    หมายถึง น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
  21. จังหัน
    หมายถึง น. กังหัน.
  22. จังออน
    หมายถึง น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.
  23. จังเก
    หมายถึง น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง). (ข. จงฺเกะ).
  24. จังเว็จ
    หมายถึง [จังเหฺว็ด] (กลอน) น. เจว็ด.
  25. จังโกฏก์
    หมายถึง (แบบ) น. ผอบ. (ป.).
  26. จังไร
    หมายถึง ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จัญไร ก็ว่า. (ข. จงฺไร).
  27. จัญไร
    หมายถึง ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
  28. จัณฑ,จัณฑ-,จัณฑ์
    หมายถึง [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.).
  29. จัณฑวาตา
    หมายถึง (แบบ) น. ลมร้าย เช่น จัณฑวาตารำพายพาน. (สมุทรโฆษ).
  30. จัณฑาล
    หมายถึง [จันทาน] ว. ตํ่าช้า. น. ลูกคนต่างวรรณะ. (ส. จณฺฑาล ว่า ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์).
  31. จัด
    หมายถึง ก. ตกแต่ง เช่น จัดบ้าน, ทำให้เรียบ, วางระเบียบ, เรียงตามลำดับ, เช่น จัดแถว จัดหนังสือ; นับ เช่น จัดว่าเป็นความดี.
  32. จัด
    หมายถึง ว. ยิ่ง, เต็มที่, เกินปรกติมาก, มากหรือหนักไปในทางใดทางหนึ่ง, เช่น ระเบียบจัด ธรรมเนียมจัด หิวจัด ร้อนจัด หนาวจัด แดดจัด; แก่เต็มที่ เช่น ผลไม้แก่จัด. (ข. จาส่).
  33. จัดการ
    หมายถึง ก. สั่งงาน, ควบคุมงาน, ดำเนินงาน.
  34. จัดจอง
    หมายถึง (โบ) น. ทุ่น, แพ, เรือน้อย, สัดจอง ก็ว่า. (ข. สาต่ ว่า ลอย, จง ว่า ผูก).
  35. จัดจ้า
    หมายถึง ว. สว่างมาก, มีแสงกล้า.
  36. จัดจ้าน
    หมายถึง ว. ปากกล้า, ปากจัด, เจ้าคารม.
  37. จัดตั้ง
    หมายถึง ก. ตั้งขึ้น, แต่งตั้งให้มั่นคง.
  38. จัดประกัน
    หมายถึง ก. ทำให้แน่นอน.
  39. จัดมั่น
    หมายถึง ก. ทำให้ได้โดยมั่นคง.
  40. จัดสรร
    หมายถึง ก. แบ่งส่วนไว้โดยเฉพาะ, ปันไว้ใช้เพื่อประโยชน์โดยเจาะจง.
  41. จัดหา
    หมายถึง ก. ไปเลือกเฟ้นหามา.
  42. จัดเจน
    หมายถึง ก. สันทัด, ชำนาญ, มีประสบการณ์มาก, เจนจัด ก็ว่า.
  43. จัดแจง
    หมายถึง ก. เตรียมการ.
  44. จัตตาฬีสะ
    หมายถึง (แบบ) ว. สี่สิบ. (ป.).
  45. จัตวา
    หมายถึง [จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
  46. จัตวาทัณฑี
    หมายถึง น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น (ชุมนุมตำรากลอน).
  47. จัตวาศก
    หมายถึง น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  48. จัตุ
    หมายถึง [จัดตุ] ว. สี่. (ป. จตุ; ส. จตุรฺ).
  49. จัตุร,จัตุร-
    หมายถึง [จัดตุระ-] ว. สี่. (ส. จตุร; ป. จตุ).
  50. จัตุรงคพล
    หมายถึง [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  51. จัตุรงคินีเสนา
    หมายถึง [จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  52. จัตุรงค์
    หมายถึง ว. จตุรงค์, องค์ ๔, ๔ เหล่า.
  53. จัตุรพักตร์
    หมายถึง ว. จตุรพักตร์, “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
  54. จัตุรภุช
    หมายถึง ว. จตุรภุช, “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
  55. จัตุรมุข
    หมายถึง น. เรียกอาคารที่มี ๔ มุข.
  56. จัตุรัส
    หมายถึง [-หฺรัด] น. เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่มีมุมภายในเป็นมุมฉากว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส.
  57. จัตุลังคบาท
    หมายถึง [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  58. จัตุสดมภ์
    หมายถึง [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  59. จัตุโลกบาล
    หมายถึง [จัดตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. (ป.).
  60. จัน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.
  61. จันทนา
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Tarenna hoaensis Pit. ในวงศ์ Rubiaceae เนื้อไม้หอม, จันทน์ขาว ก็เรียก.
  62. จันทน์
    หมายถึง น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม. (ป., ส.).
  63. จันทน์กะพ้อ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vatica diospyroides Symington ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นตามป่าดิบทางปักษ์ใต้และปลูกกันตามบ้าน ดอกขาว หอมคล้ายนํ้ามันจันทน์.
  64. จันทน์ขาว
    หมายถึง ดู จันทนา.
  65. จันทน์ชะมด
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Aglaia silreotris (M. Roem.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชื้นบางแห่ง เนื้อไม้หอม. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์ Sterculiaceae ขึ้นตามป่าชื้นบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม ก็เรียก.
  66. จันทน์ผา
    หมายถึง ดู จันทน์แดง.
  67. จันทน์หอม
    หมายถึง ดู จันทน์ชะมด (๒).
  68. จันทน์เทศ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Myristica fragrans Houtt. ในวงศ์ Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก.
  69. จันทน์แดง
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Dracaena loureiri Gagnep. ในวงศ์ Agavaceae ขึ้นตามเขาหินปูน เนื้อไม้ที่สารลงมีสีแดง, จันทน์ผา ก็เรียก.
  70. จันทร,จันทร-,จันทร์
    หมายถึง [จันทฺระ- ในกลอนบางทีอ่านเป็น จันทอน, จัน] น. ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).
  71. จันทรกลา
    หมายถึง [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลมหมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  72. จันทรกานต์
    หมายถึง น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสำคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้าเหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
  73. จันทรคติ
    หมายถึง น. วิธีนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินของดวงจันทร์เป็นหลัก เช่น ขึ้น ๑ คํ่าถึงแรม ๑๕ คํ่า เป็นการนับวันทางจันทรคติ เดือนอ้ายถึงเดือน ๑๒ เป็นการนับเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
  74. จันทรคราส
    หมายถึง [-คฺราด] (ปาก) น. “การกลืนดวงจันทร์” ตามความเข้าใจของคนโบราณที่เชื่อว่าพระราหูอมดวงจันทร์, จันทรุปราคา ก็เรียก. (ส.).
  75. จันทรพิมพ์
    หมายถึง น. ดวงเดือน, รูปที่แลดูแบนแห่งดวงจันทร์, จันทรมณฑล ก็ว่า. (ส.).
  76. จันทรภิม
    หมายถึง (โบ) น. เรียกเงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำนายจันทรุปราคาได้ถูกต้องว่า เงินจันทรภิม ในข้อความว่า เมื่อจันทรุปราคได้เงีนจันทรภิม. (สามดวง).
  77. จันทรมณฑล
    หมายถึง น. จันทรพิมพ์. (ส.).
  78. จันทรวงศ์
    หมายถึง น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระจันทร์, คู่กับ สุริยวงศ์. (ส.).
  79. จันทรวาร
    หมายถึง น. วันจันทร์, จันทวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  80. จันทรุปราคา
    หมายถึง [จันทฺรุปะราคา, จันทะรุบปะราคา] น. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้เงาของโลกตกลงบนดวงจันทร์บางส่วนหรือทั้งหมด, (ปาก) จันทรคราส. (ส.).
  81. จันทรเม็ด
    หมายถึง [จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).
  82. จันทรเศขร
    หมายถึง น. ผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น คือ พระอิศวร. (ส.).
  83. จันทวาร
    หมายถึง [จันทะวาน] น. วันจันทร์, จันทรวาร หรือ โสมวาร ก็ว่า.
  84. จันทัน
    หมายถึง น. ชื่อตัวไม้เครื่องบนแห่งเรือนอยู่ตรงกับขื่อสำหรับรับแปลานหรือรับระแนง.
  85. จันทันพราง
    หมายถึง น. ตัวไม้จันทันที่ไม่ได้อยู่บนหัวเสา.
  86. จันท์
    หมายถึง (แบบ) น. จันทร์, ดวงเดือน. (ป.; ส. จนฺทฺร).
  87. จันลอง
    หมายถึง น. จังลอน.
  88. จันลอง
    หมายถึง น. ลำธาร. (ข. ชฺรลง).
  89. จันอับ
    หมายถึง น. ชื่อขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่างรวมกัน เช่น ข้าวพอง ถั่วตัด งาตัด.
  90. จันเทา
    หมายถึง (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
  91. จันเลา,จันเลาะ
    หมายถึง น. ลำห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลำธาร).
  92. จันโจษ
    หมายถึง ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.
  93. จับ
    หมายถึง ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทำขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
  94. จับกลุ่ม
    หมายถึง ก. รวมกันเป็นหมู่.
  95. จับกัง
    หมายถึง น. กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน, ใช้เรียกผู้รับจ้างทำงานต่าง ๆ. (จ.).
  96. จับกิ้ม
    หมายถึง น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
  97. จับกุม
    หมายถึง ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.
  98. จับความ
    หมายถึง ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
  99. จับงูข้างหาง
    หมายถึง (สำ) ก. ทำสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.
  100. จับจด
    หมายถึง ว. ลักษณะที่ทำไม่จริงจัง ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 4)"