พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 2)

  1. จรมูก
    หมายถึง [จะระหฺมูก] (กลอน) น. จมูก. (ข. จฺรมุะ).
  2. จรรจา
    หมายถึง [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  3. จรรม,จรรม,จรรม-
    หมายถึง [จำ, จำมะ-] (แบบ) น. หนังสัตว์. (ส. จรฺมนฺ; ป. จมฺม).
  4. จรรมการ
    หมายถึง น. ช่างหนัง. (ส.; ป. จมฺมการ).
  5. จรรมขัณฑ์
    หมายถึง น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็นเครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  6. จรรยา
    หมายถึง [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  7. จรรยาบรรณ
    หมายถึง [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
  8. จรรโจษ
    หมายถึง [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
  9. จรรโลง
    หมายถึง [จัน-] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.
  10. จรลวง,จรล่วง
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. ล่วงไป, ลับไป.
  11. จรลาด,จรหลาด
    หมายถึง [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  12. จรลาย
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. ละลายไป, หายไป.
  13. จรลิ่ว
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  14. จรลี
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย.
  15. จรลู่
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปตามทาง, เที่ยวกลิ้งอยู่, เที่ยวกองอยู่.
  16. จรล่ำ,จรหล่ำ
    หมายถึง [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  17. จรวจ
    หมายถึง [จฺรวด] (แบบ) ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า).
  18. จรวด
    หมายถึง [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดยใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
  19. จรวด
    หมายถึง [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กำชฺรัวจ ว่า พลุ). ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี.
  20. จรวดจรี
    หมายถึง [จฺรวดจะรี] (แบบ) น. ยอดแหลมสูง.
  21. จรวดนำวิถี
    หมายถึง น. อาวุธปล่อยนำวิถีซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด. (อ. guided rocket).
  22. จรวดไจร
    หมายถึง [จะหฺรวดจะไร] (แบบ) ก. ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง จรวจไจร. (ยวนพ่าย).
  23. จรวัก
    หมายถึง [จะระหฺวัก] (กลอน) น. ตวัก.
  24. จรส
    หมายถึง [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  25. จรอก
    หมายถึง [จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).
  26. จรอก
    หมายถึง [จะหฺรอก] (กลอน) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์. (สุธนู).
  27. จระกล้าย
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  28. จระขาบ
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) น. ตะขาบ, ใช้ว่า จะขาบ ก็มี.
  29. จระคลับ
    หมายถึง [จะระคฺลับ] (กลอน) ว. มืด, ครึ้ม.
  30. จระคลุ่ม
    หมายถึง [จะระคฺลุ่ม] (กลอน) ว. มืดมัว, คลุ้ม.
  31. จระคล้าย
    หมายถึง [จะระคฺล้าย] (กลอน) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี, เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย. (กำสรวล).
  32. จระจุ่ม
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. ใส่, เผา, ทิ้ง, โยน.
  33. จระทก,จระเทิน
    หมายถึง [จะระทก, -เทิน] (กลอน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น; จับจด, โบราณเขียนเป็น จรเทิน ก็มี เช่น อ้าแม่อย่าจองจิตรจรเทิน ศุขเพลินภิรมย์สม. (ดุษฎีสังเวย).
  34. จระนำ
    หมายถึง [จะระ-] น. ซุ้มคูหาท้ายวิหารหรือท้ายโบสถ์มักเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า ซุ้มจระนำ. (ทมิฬ จาฬรัม ว่า หน้าต่าง).
  35. จระบาน
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. สู้รบ.
  36. จระบี
    หมายถึง [จะระ-] น. จาระบี.
  37. จระลิ่ง,จระลึง
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
  38. จระลุง,จะลุง
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).
  39. จระเข้
    หมายถึง [จอระ-] น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในวงศ์ Crocodylidae อาศัยบริเวณป่าริมนํ้า หนังเป็นเกล็ดแข็ง ปากยาวและปลายปากนูนสูงขึ้นเป็นช่องเปิดของรูจมูก เรียกว่า ก้อนขี้หมา หางแบนยาวใช้โบกว่ายนํ้า มักหากินในนํ้า ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จระเข้บึง จระเข้นํ้าจืด หรือ จระเข้สยาม (Crocodylus siamensis) จระเข้อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้นํ้าเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii), ตะเข้ หรือ อ้ายเข้ ก็เรียก, อีสานเรียก แข้, ปักษ์ใต้เรียก เข้; ชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง; เรียกธงผืนผ้ามีรูปจระเข้ตรงกลาง มักปักไว้ที่ท่านํ้าหน้าวัดแสดงว่าทอดกฐินแล้ว ว่า ธงจระเข้.
  40. จระเข้ขวางคลอง
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปมาไม่สะดวก.
  41. จระเข้คับคลอง
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการดำรงตนในสังคม.
  42. จระเข้ปากกระทุงเหว
    หมายถึง ดู ตะโขง.
  43. จระเข้หางยาว
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  44. จระแคง
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).
  45. จรัล
    หมายถึง [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
  46. จรัส
    หมายถึง [จะหฺรัด] (แบบ) ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง.
  47. จราก
    หมายถึง [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทำให้ลำบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่าขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  48. จราง
    หมายถึง [จะราง] (แบบ) ก. ผุดขึ้น เช่น ลางส่ำจรางมันผัน ม่ายม้า. (ยวนพ่าย). (ข. จฺราง ว่า ตั้งขึ้น, ขนชัน).
  49. จราจร
    หมายถึง [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
  50. จราญ
    หมายถึง [จะราน] (กลอน) ก. ผลัก, พัง, ทำลาย, กระจาย, ดับ. (ข. จฺราน ว่า ผลัก).
  51. จราย
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) ก. ทำลาย, กระจาย.
  52. จราว
    หมายถึง [จะ-] น. ตะพาบนํ้า เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์. (สมุทรโฆษ).
  53. จราว
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คำหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว ๔).
  54. จราส
    หมายถึง [จะหฺราด] ว. ตลอดตัว เช่น แถวจราสศุภลักษณ์. (ลอ). (ข. จราส ว่า ทวนจากล่างไปบน).
  55. จริก
    หมายถึง [จะหฺริก] (กลอน) ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก).
  56. จริก
    หมายถึง [จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  57. จริง,จริง ๆ
    หมายถึง [จิง] ว. แน่ เช่น ทำจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝันกลายเป็นความจริง.
  58. จริงจัง
    หมายถึง ว. แน่แท้ เช่น เชื่อถืออย่างจริงจัง, ไม่เป็นการเล่น เช่น ทำงานอย่างจริงจัง.
  59. จริงอยู่แต่,จริงอยู่ แต่,จริงอยู่...แต่
    หมายถึง สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างหน้า และแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง.
  60. จริงใจ
    หมายถึง ว. บริสุทธิ์ใจ, สุจริตใจ.
  61. จริต
    หมายถึง [จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).
  62. จริม,จริม-
    หมายถึง [จะริมะ-] ว. สุดท้าย เช่น จริมจิต ว่า จิตดวงสุดท้าย. (ป.).
  63. จริย,จริย-
    หมายถึง [จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).
  64. จริยธรรม
    หมายถึง น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม.
  65. จริยวัตร,จริยาวัตร
    หมายถึง น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
  66. จริยศาสตร์
    หมายถึง น. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ แสวงหาเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไหนถูกไม่ถูก ดีไม่ดี ควรไม่ควร และพิจารณาปัญหาเรื่องสถานภาพของค่าทางศีลธรรม. (อ. ethics).
  67. จริยศึกษา
    หมายถึง น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education).
  68. จริยา
    หมายถึง [จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น ธรรมจริยา.
  69. จริยาปิฎก
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์ที่ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าในชาติที่ล่วงแล้ว รวมอยู่ในขุทกนิกายแห่งสุตตันตปิฎก.
  70. จริว
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) ว. เกรียว.
  71. จริว
    หมายถึง [จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.
  72. จรี
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) น. มีด, หอก, ดาบ, เช่น บัดออกกลางสนามสองรา สองแขงขันหา ก็กุมจรีแกว่งไกว. (สมุทรโฆษ). (ข.).
  73. จรึง
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. (ดุษฎีสังเวย).
  74. จรุก
    หมายถึง [จะหฺรุก] (แบบ) น. หมู. (จินดามณี). (ข. ชฺรูก).
  75. จรุง,จรูง
    หมายถึง [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  76. จรูญ
    หมายถึง [จะรูน] (กลอน) ว. รุ่งเรือง, งาม.
  77. จรูส
    หมายถึง [จะหฺรูด] (แบบ) ว. สูง, กรวด, จรวด.
  78. จรแกว่ง
    หมายถึง [จะระแกฺว่ง] (กลอน) ก. แกว่ง.
  79. จล
    หมายถึง [จน] ก. ไหว, สั่น, เช่น จลวิจล. (ป.).
  80. จลนพลศาสตร์
    หมายถึง [จะละนะพนละ-, จนละนะพนละ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นด้วย. (อ. kinetics).
  81. จลนศาสตร์
    หมายถึง [จะละนะ-, จนละนะ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง โดยไม่คำนึงถึงแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนที่นั้น. (อ. kinematics).
  82. จลนี
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) น. เนื้อสมัน. (ป.).
  83. จลนี
    หมายถึง [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป.).
  84. จลา
    หมายถึง [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คำหลวง แปลจากคำ คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร).
  85. จลาจล
    หมายถึง [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
  86. จวก
    หมายถึง ก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา.
  87. จวง,จวงหอม
    หมายถึง ดู เทพทารู, เทพทาโร.
  88. จวงจันทน์
    หมายถึง น. เครื่องหอมที่เจือด้วยจวงและจันทน์.
  89. จวด
    หมายถึง น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลำตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลำตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทำเสียงได้.
  90. จวดลาก
    หมายถึง ดู แก้ว ๔.
  91. จวน
    หมายถึง น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด.
  92. จวน
    หมายถึง ว. เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้.
  93. จวน
    หมายถึง น. ผ้าชนิดหนึ่ง.
  94. จวนตัว
    หมายถึง ว. เข้าที่คับขัน, เข้าที่จำเป็น.
  95. จวนเจียน
    หมายถึง ว. หวุดหวิด, เฉียด.
  96. จวนแจ
    หมายถึง ว. กระชั้นชิด (ใช้เกี่ยวกับเวลา).
  97. จวบ
    หมายถึง น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง.
  98. จวบจวน
    หมายถึง ว. จนถึง, ถึงที่.
  99. จวัก
    หมายถึง [จะหฺวัก] น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จ่า หรือ ตวัก ก็ว่า.
  100. จอ
    หมายถึง น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สำหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 2)"