พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 10)

  1. จ่า
    หมายถึง น. หัวหน้า, หัวโจก, เช่น จ่าฝูง จ่าโขลง; ยศทหารและตำรวจชั้นประทวน เช่น จ่าตรี จ่าสิบตำรวจ, บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก เช่น จ่าแผลงฤทธิรอนราญ จ่าเร่งงานรัดรุด, ตำแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง เช่น จ่าศาล; การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงตํ่า.
  2. จ่า
    หมายถึง ก. บอก, เขียนบอก; ถูกปรับ (ในการเล่นโยนหลุมเป็นต้น).
  3. จ่า
    หมายถึง น. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า.
  4. จ่ากลอง
    หมายถึง น. คนตีกลองนำกลองชนะ.
  5. จ่าง
    หมายถึง ก. สว่าง.
  6. จ่าปี่
    หมายถึง น. คนเป่าปี่ประกอบกลองชนะ.
  7. จ่ามงกุฎ
    หมายถึง น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วยใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).
  8. จ่าย
    หมายถึง ก. เอาออกใช้หรือให้ เช่น จ่ายเครื่องแบบ, โดยปริยายหมายความว่า ซื้อ ก็มี เช่น จ่ายกับข้าว.
  9. จ่ายตลาด
    หมายถึง ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด.
  10. จ่ายสด
    หมายถึง (ปาก) ก. ซื้อด้วยเงินสด.
  11. จ่ารง
    หมายถึง น. ชื่อปืนโบราณชนิดหนึ่ง.
  12. จ่าหน้า
    หมายถึง ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
  13. จ่าหวัก
    หมายถึง น. จวัก, ตวัก.
  14. จ้น
    หมายถึง ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
  15. จ้วง
    หมายถึง ก. กิริยาที่เอาภาชนะเช่นขันเอื้อมลงไปตักนํ้าขึ้นมาโดยแรง; อาการที่เอาพายพุ้ยนํ้าโดยเร็วอย่างพายเรือแข่ง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ตีหรือฟันสุดแขน เช่น จ้วงตี จ้วงฟัน.
  16. จ้วงจาบ
    หมายถึง ว. อาจเอื้อม, ล่วงเกินผู้อื่นด้วยวาจา, จาบจ้วง ก็ว่า.
  17. จ้อ
    หมายถึง ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ.
  18. จ้อก,จ้อก ๆ
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมา.
  19. จ้อกวอก
    หมายถึง ว. ขาวมาก (มักใช้แก่หน้าที่ผัดแป้งไว้ขาวเกินไป).
  20. จ้อกแจ้ก
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น, เสียงของคนมาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูดกันจนฟังไม่ได้ศัพท์.
  21. จ้อง
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ร่ม. (อนันตวิภาค ว่า จ่อง).
  22. จ้อง
    หมายถึง ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  23. จ้องหน่อง
    หมายถึง น. เครื่องทำให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วยเชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
  24. จ้องเต
    หมายถึง น. ต้องเต.
  25. จ้อน
    หมายถึง ดู กระจ้อน ๑.
  26. จ้อน
    หมายถึง ว. แคระ, เล็ก, แกร็น; เฟ็ด, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง, เช่น นุ่งผ้าจ้อน.
  27. จ้อมป้อม
    หมายถึง ว. จอมเปาะ.
  28. จ้อย
    หมายถึง ว. ไม่ได้วี่แวว, ไร้วี่แวว, เช่น หายจ้อย เงียบจ้อย.
  29. จ้อย
    หมายถึง ว. เล็ก, น้อย, เช่น เรื่องจ้อย.
  30. จ้อย,จ้อย,จ้อย ๆ
    หมายถึง ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, ในคำว่า พูดจ้อย หรือ พูดจ้อย ๆ.
  31. จ้ะ
    หมายถึง ว. คำรับ (ใช้เป็นสามัญทั่วไป).
  32. จ้า
    หมายถึง ว. จัด, ยิ่ง, แรง, (ใช้แก่สี แสง หรือเสียง) เช่น สีจ้า แสงจ้า.
  33. จ้าง
    หมายถึง ก. ให้ทำงานหรือทำของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทำงานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำงานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทำของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำของเรียก ผู้รับจ้าง.
  34. จ้าง
    หมายถึง น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้างให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  35. จ้าน
    หมายถึง ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  36. จ้าละหวั่น
    หมายถึง ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, จะละหวั่น ก็ใช้.
  37. จ้าว
    หมายถึง (โบ) น. เจ้า.
  38. จ้ำ
    หมายถึง ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  39. จ้ำ
    หมายถึง น. รอยฟกชํ้าดำเขียว.
  40. จ้ำ
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae บางชนิดดอกและยอดอ่อนกินได้เรียก ผักจํ้า เช่น ชนิด A. arborescens Wall. ex A. DC..
  41. จ้ำจี้
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  42. จ้ำจี้จ้ำไช
    หมายถึง ว. อาการที่พร่ำพูดหรือสอน. ก. พร่ำพูดหรือสอน.
  43. จ้ำม่ำ
    หมายถึง ว. คำประกอบลักษณะอ้วน ให้รู้ว่าอ้วนน่ารัก (โดยมากใช้เฉพาะเด็ก).
  44. จ้ำเบ้า
    หมายถึง ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
  45. จ๊วก
    หมายถึง ว. คำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จั๊วะ ก็ว่า.
  46. จ๊อก
    หมายถึง ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.
  47. จ๊อก ๆ
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงนํ้าที่ไหลตกลงมาเบา ๆ; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ก็ว่า.
  48. จ๊ะ
    หมายถึง ว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.
  49. จ๊ะ
    หมายถึง ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
  50. จ๊ะจ๋า
    หมายถึง ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูดจ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขากำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่ อย่าไปกวนเขา.
  51. จ๊ะเอ๋
    หมายถึง น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งที่ผู้หนึ่งโผล่หน้าหรือเปิดหน้าแล้วพูดว่า “จ๊ะเอ๋” กับอีกผู้หนึ่งซึ่งมักเป็นเด็ก.
  52. จ๋ง
    หมายถึง (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. (กฎ. ๒).
  53. จ๋วง
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นสนเขา. (ดู สน ๑).
  54. จ๋วงเครือ
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นรากสามสิบ. (ดู รากสามสิบ).
  55. จ๋อ
    หมายถึง น. คำใช้เรียกลิงหรือเด็กที่ซนอย่างลิงว่า อ้ายจ๋อ.
  56. จ๋อง
    หมายถึง (ปาก) ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก.
  57. จ๋อย
    หมายถึง ว. คำแต่งคำ เหลือง หรือ หวาน ให้รู้ว่าเหลืองหรือหวานจริง ๆ เช่น เหลืองจ๋อย หวานจ๋อย.
  58. จ๋อย
    หมายถึง ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย.
  59. จ๋อย,จ๋อย,จ๋อย ๆ
    หมายถึง ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, เช่น พูดจ๋อย พูดจ๋อย ๆ.
  60. จ๋อแจ๋
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด.
  61. จ๋ะ
    หมายถึง ว. เสียงประกอบคำเรียก เช่น แม่จ๋ะ (เป็นเสียงสั้นจากคำ จ๋า).
  62. จ๋ะ
    หมายถึง ว. เสียงประกอบคำถาม.
  63. จ๋า
    หมายถึง ว. คำขานรับ; คำลงท้ายคำร้องเรียก เช่น หนูจ๋า.
  64. จ๋ำหนับ
    หมายถึง (ปาก) ว. เต็มที่, เต็มแรง, จั๋ง จังหนับ หรือ จำหนับ ก็ว่า.
  65. เจ
    หมายถึง น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
  66. เจดีย,เจดีย-,เจดีย์,เจดีย์
    หมายถึง [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย; ส. ไจตฺย).
  67. เจดียฐาน,เจดียสถาน
    หมายถึง น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ.
  68. เจดีย์
    หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียนเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เช่น ชนิด Turritella terebra.
  69. เจดีย์ทิศ
    หมายถึง น. เจดีย์บริวารตั้งอยู่บนฐานไพทีหรือลานประทักษิณล้อมเจดีย์ประธาน มี ๔ องค์ เหมือนดังประจำทิศต่าง ๆ ตามคตินิยมทางจักรวาล.
  70. เจต,เจต-
    หมายถึง [เจด, เจตะ-, เจดตะ-] น. สิ่งที่คิด, ใจ. (ป.; ส. เจตสฺ).
  71. เจตคติ
    หมายถึง [เจตะ-] น. ท่าทีหรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. (อ. attitude).
  72. เจตจำนง
    หมายถึง [เจด-] น. ความตั้งใจมุ่งหมาย, ความจงใจ.
  73. เจตนา
    หมายถึง [เจดตะนา] ก. ตั้งใจ, จงใจ, มุ่งหมาย. น. ความตั้งใจ, ความจงใจ, ความมุ่งหมาย. (ป., ส.).
  74. เจตนารมณ์
    หมายถึง น. ความมุ่งหมาย.
  75. เจตพังคี
    หมายถึง [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cladogynos orientalis Zipp. ex Span. ในวงศ์ Euphorbiaceae ท้องใบขาว รากใช้ทำยาได้.
  76. เจตภูต
    หมายถึง [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  77. เจตมูลเพลิง
    หมายถึง [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Plumbago วงศ์ Plumbaginaceae เช่น เจตมูลเพลิงแดง (P. indica L.) ดอกสีแดง และ เจตมูลเพลิงขาว (P. zeylanica L.) ดอกสีขาว, รากของทั้ง ๒ ชนิด มีรสเผ็ดร้อน ใช้ทำยาได้.
  78. เจตมูลเพลิงฝรั่ง
    หมายถึง ดู พยับหมอก ๒.
  79. เจตสิก
    หมายถึง [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
  80. เจติย,เจติย-
    หมายถึง [-ติยะ-] (แบบ) น. เจดีย์. (ป.).
  81. เจน
    หมายถึง ว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชำนาญ เช่น เจนสังเวียน,จำได้แม่นยำ เช่น เจนทาง.
  82. เจนจบ
    หมายถึง ว. ชำนาญทั่ว, รอบรู้, ได้พบได้เห็นมามาก.
  83. เจนจัด
    หมายถึง ก. สันทัด,ชำนาญ, มีประสบการณ์มาก, จัดเจน ก็ว่า.
  84. เจนสนาม
    หมายถึง ก. ออกสนามมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  85. เจนสังเวียน
    หมายถึง ก. ขึ้นชกบนสังเวียนบ่อย, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  86. เจนเวที
    หมายถึง ก. ขึ้นเวทีมามากแล้ว, โดยปริยายหมายความว่า มีความชำนาญ, ช่ำชอง.
  87. เจนใจ
    หมายถึง ว. ขึ้นใจ, แม่นยำในใจ.
  88. เจรจา
    หมายถึง [เจนระจา] ก. พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ. (ส. จรฺจา).
  89. เจริญ
    หมายถึง [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทำให้งอกงาม, เช่น เจริญทางพระราชไมตรี เจริญสัมพันธไมตรี, มากขึ้น; ทิ้ง เช่น เจริญยา, จำเริญยา ก็ว่า; ตัด เช่น เจริญเกศา, จำเริญเกศา ก็ว่า; สาธยาย, สวด, (ในงานมงคล) เช่น เจริญพระพุทธมนต์.
  90. เจริญตาเจริญใจ
    หมายถึง ว. งาม, ต้องตาต้องใจ.
  91. เจริญพร
    หมายถึง เป็นคำเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคำรับ.
  92. เจริญพันธุ์
    หมายถึง ว. มีความสามารถในการสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์.
  93. เจริญรอย
    หมายถึง ก. ประพฤติ เช่น เจริญรอยตามผู้ใหญ่.
  94. เจริญสมณธรรม
    หมายถึง ก. บำเพ็ญสมณธรรม.
  95. เจริญอาหาร
    หมายถึง ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทำให้บริโภคอาหารได้มาก เช่น ยาเจริญอาหาร.
  96. เจริด
    หมายถึง [จะเหฺริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  97. เจรียง
    หมายถึง [จะเรียง] (แบบ) ก. ขับลำ, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (ข. เจฺรียง).
  98. เจลียง
    หมายถึง [จะเลียง] น. ชื่อไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวัน.
  99. เจว็ด
    หมายถึง [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  100. เจษฎา
    หมายถึง [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารำ; กรรม, การทำด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทำ, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ (หน้าที่ 10)"