พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 4)

  1. กรรเช้า
    หมายถึง [กัน-] (โบ) น. กระเช้า.
  2. กรรเหิม
    หมายถึง [กัน-] (โบ; กลอน) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
  3. กรรเอา
    หมายถึง [กัน-] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กระเอา) ว. กลมกล่อม เช่น ไพเราะรสหวาน บรรสานกรรเอาเอาใจ. (สมุทรโฆษ).
  4. กรรแซง
    หมายถึง [กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).
  5. กรรแทก
    หมายถึง [กัน-] ก. กระแทก, เขียนเป็น กันแทก ก็มี เช่น หัวล้านชาวไร่ไล่ปาม เข้าขวิดติดตาม กันแทกก็หัวไถดินฯ. (สมุทรโฆษ).
  6. กรรแทรก
    หมายถึง [กันแซก] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก).
  7. กรรแสง
    หมายถึง [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระแสง) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา. (สมุทรโฆษ).
  8. กรรแสง
    หมายถึง [กัน-] (โบ) น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ดู กันแสง).
  9. กรรโชก
    หมายถึง [กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กำโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
  10. กรรโหย
    หมายถึง [กัน-] (โบ; กลอน) ก. โหย, คร่ำครวญ, เช่น มีกระเรียนร้องก้องกรรโหย. (สมุทรโฆษ).
  11. กรรไกร
    หมายถึง [กันไกฺร] น. ตะไกร. (เลือนมาจาก กรรไตร). (ดู ตะไกร).
  12. กรรไตร
    หมายถึง [กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).
  13. กรลุมพาง
    หมายถึง [กระ-] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรในใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  14. กรวด
    หมายถึง [กฺรวด] น. ก้อนหินเล็ก ๆ เขื่องกว่าเม็ดทราย. (ข. คฺรัวสฺ).
  15. กรวด
    หมายถึง [กฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคำประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  16. กรวด
    หมายถึง [กฺรวด] ก. หลั่งนํ้า เช่น นํ้าพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
  17. กรวดน้ำ
    หมายถึง ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งนํ้า; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย, มักใช้ว่า กรวดนํ้าควํ่ากะลา หรือ กรวดนํ้าควํ่าขัน.
  18. กรวน
    หมายถึง [กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
  19. กรวบ,กร๊วบ
    หมายถึง [กฺรวบ, กฺร๊วบ] ว. เสียงดังเช่นเคี้ยวถูกของแข็ง.
  20. กรวม
    หมายถึง [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวมตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กำกวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
  21. กรวย
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจำปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
  22. กรวย
    หมายถึง น. ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ น้ำตาลปีบ เป็นต้น หยอดในกรวยใบตองว่า ขนมกรวย, กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยงสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และคู่สวดในการบวชนาค เรียกว่า กรวยอุปัชฌาย์และกรวยคู่สวด; (วิทยา) รูปตันมีลักษณะฐานกลมและแหลมเรียวไปโดยลำดับ เรียกว่า รูปกรวย. (อ. cone).
  23. กรวย
    หมายถึง (โบ) ก. สักหรือแทงด้วยแหลน เช่น กรวยปลา.
  24. กรวยบ้าน
    หมายถึง ดู กรวย
  25. กรวยป่า
    หมายถึง ดู กรวย
  26. กรวยเชิง
    หมายถึง น. ลายที่ทำเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
  27. กรวิก
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] (แบบ) น. นกการเวก. (ไตรภูมิ). (ป., ส. กรวีก).
  28. กรวิก
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๓ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป.; ส. กรวีก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  29. กรสานต์
    หมายถึง [กฺระ-] (โบ; กลอน) ว. กระสานติ์, สงบ, ราบคาบ, เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย).
  30. กรสาปน,กรสาปน์
    หมายถึง [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทองร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชนทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คำหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  31. กรสุทธิ์
    หมายถึง [กะระ-] น. “การชำระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. (ส. กรศุทฺธิ).
  32. กรอ
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  33. กรอ
    หมายถึง ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก, ลำบาก).
  34. กรอ
    หมายถึง ก. ม้วนด้ายเข้าหลอดด้วยไนหรือเครื่องจักร; ควง เช่น กรเกาะขอกรอธาร เงือดง้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
  35. กรอ
    หมายถึง ก. แต่งให้เรียบ เช่น กรอฟัน กรอไม้.
  36. กรอก
    หมายถึง [กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจำนวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอกมะขามกรอก.
  37. กรอก
    หมายถึง น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
  38. กรอกรุย
    หมายถึง ก. ทำท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
  39. กรอกแกรก
    หมายถึง [กฺรอกแกฺรก] (โบ) น. การเล่นพนันชนิดหนึ่ง. (ราชกิจจา. ล. ๑).
  40. กรอกแกรก
    หมายถึง [กฺรอกแกฺรก] ว. เสียงอย่างเสียงใบไม้แห้งกระทบกัน.
  41. กรอง
    หมายถึง [กฺรอง] ก. ร้อย เช่น กรองมาลัย = ร้อยดอกไม้; ถัก, ทอ, เช่น กรองแฝก กรองคา.
  42. กรอง
    หมายถึง [กฺรอง] ก. เอาของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น กรองทราย, เอาฝุ่นละอองหรือของสกปรกออก เช่น กรองน้ำมัน กรองอากาศ, ใช้เครื่องกรองมีผ้าเป็นต้น คัดเอาผงหรือกากออกจากนํ้าหรือสิ่งที่เป็นน้ำ เช่น กรองน้ำ กรองกะทิ.
  43. กรอง
    หมายถึง [กฺรอง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระชอน.
  44. กรอง
    หมายถึง [กฺรอง] (กลอน) น. กำไล, โดยมากใช้ประกอบกับคำอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กำไลเท้า กรองได = กำไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ, สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา). [ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].
  45. กรองกรอย
    หมายถึง ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์; ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), ตองตอย ก็ใช้; (กลอน; ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย. (สังข์ทอง).
  46. กรองทอง
    หมายถึง น. ผ้าโปร่งอันทอหรือถักด้วยเส้นลวดทองหรือไหมทอง.
  47. กรอด
    หมายถึง [กะหฺรอด] ดู ปรอด
  48. กรอด
    หมายถึง [กฺรอด] ว. เซียวลง เช่น ผอมกรอด; เสียงดังอย่างเสียงกัดฟัน.
  49. กรอบ
    หมายถึง [กฺรอบ] น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ขอบเขตกำหนด เช่น ทำงานอยู่ในกรอบ.
  50. กรอบ
    หมายถึง ว. แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย, เปราะ; (ปาก) แทบดำรงตนไปไม่รอด เช่น จนกรอบ.
  51. กรอบหน้า
    หมายถึง น. เครื่องประดับขอบหน้าผากเป็นรูปกระจังเป็นต้น.
  52. กรอบเกรียบ
    หมายถึง (โบ) ว. มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ, เกรียบกรอบ ก็ว่า.
  53. กรอบเช็ดหน้า
    หมายถึง น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, เช็ดหน้า หรือ วงกบ ก็เรียก.
  54. กรอบแกรบ
    หมายถึง ว. เต็มที เช่น แห้งกรอบแกรบ จนกรอบแกรบ; มีเสียงดังอย่างเสียงเหยียบถูกของแห้งหรือกรอบ.
  55. กรอม
    หมายถึง [กฺรอม] ว. ระทม, เจ็บชํ้าอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ.
  56. กรอม
    หมายถึง [กฺรอม] ว. ปกหรือคลุมยาวลงมาเกินควร เช่น นุ่งผ้าซิ่นกรอมส้น.
  57. กระ
    หมายถึง ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กำแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ - กระทำ, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  58. กระ
    หมายถึง น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Eretmochelys imbricata ในวงศ์ Cheloniidae หลังเป็นเกล็ดแผ่นโต ๆ ดูเหมือนซ้อนเหลื่อมกันอย่างกระเบื้องมุงหลังคาสีนํ้าตาลลายเหลือง ปากงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว ขาแบนเป็นพาย มีไข่กลมเปลือกนิ่มเหนียว ไข่ตามหาดทรายครั้งละ ๑๕๐-๒๕๐ ฟอง. (ข. กราส่).
  59. กระ
    หมายถึง น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
  60. กระ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  61. กระกร
    หมายถึง (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  62. กระกรับกระเกรียบ
    หมายถึง (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คำหลวง กุมาร).
  63. กระกรี๊ด
    หมายถึง (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  64. กระกรุ่น
    หมายถึง (กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
  65. กระกลับกลอก
    หมายถึง (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตำราช้างคำฉันท์).
  66. กระกวด
    หมายถึง (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  67. กระกอง,ตระกอง
    หมายถึง (แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).
  68. กระกัด
    หมายถึง (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคำหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
  69. กระกัติ
    หมายถึง (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  70. กระกี้
    หมายถึง น. ต้นตะเคียน. (ข.).
  71. กระกูล
    หมายถึง (เลิก) น. ตระกูล. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  72. กระคน
    หมายถึง (กลอน) น. ประโคน คือ สายรัดจากใต้สัปคับไปที่อกช้างหลังขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกัน โยงใต้ท้องช้างและที่หน้าขาหน้าไปจากสายชนักที่คอช้าง.
  73. กระคาย
    หมายถึง (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  74. กระคุก
    หมายถึง (โบ) ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า. (ไตรภูมิ).
  75. กระงกกระงัน
    หมายถึง (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อยพี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  76. กระงกกระเงิ่น
    หมายถึง ว. งก ๆ เงิ่น ๆ.
  77. กระงอด,-กระงอด
    หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระเง้า เป็น กระเง้ากระงอด.
  78. กระง่องกระแง่ง
    หมายถึง ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรง ทำให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ ง่องแง่ง ก็ว่า.
  79. กระง่อนกระแง่น
    หมายถึง ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, ง่อนแง่น ก็ว่า.
  80. กระจก
    หมายถึง น. แก้วที่ทำเป็นแผ่น; โรคต้อชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้อกระจก. (ป., ส. กาจ = แก้ว, ดินที่ใช้ทำแก้ว).
  81. กระจกตา
    หมายถึง น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออกพื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตร ประกอบอยู่เบื้องหน้าของดวงตา.
  82. กระจกนูน
    หมายถึง น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวควํ่า สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.
  83. กระจกฝ้า
    หมายถึง น. กระจกโปร่งแสงคือแสงลอดผ่านได้บ้าง แต่ตาไม่สามารถมองทะลุผ่านไปเห็นวัตถุอีกข้างหนึ่งได้.
  84. กระจกหุง
    หมายถึง น. กระจกสีชนิดบาง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีสีต่าง ๆ ใช้ประดับอาคาร วัตถุ หรือเครื่องใช้เป็นต้น.
  85. กระจกเงา
    หมายถึง น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อนกลับได้.
  86. กระจกเว้า
    หมายถึง น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.
  87. กระจง
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  88. กระจร
    หมายถึง (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
  89. กระจร
    หมายถึง (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  90. กระจอก
    หมายถึง น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Passeridae ตัวลาย มี ๔ ชนิด ชนิดที่มีชุกชุมอาศัยตามชายคาบ้านเรือน เรียก กระจอกบ้าน (Passer montanus) อีก ๓ ชนิด คือ กระจอกตาล (P. flaveolus) กระจอกป่าท้องเหลือง (P. rutilans) และกระจอกใหญ่ (P. domesticus).
  91. กระจอก
    หมายถึง (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้า เล็กลาน หล็อนแฮ. (ตำราช้างคำโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
  92. กระจอก
    หมายถึง น. ลักษณะแมวอย่างหนึ่ง สีตัวดำทั้งหมดมีขนสีเทาล้อมรอบปาก ตาสีเหลือง เรียกว่า แมวกระจอก. (โชค-โบราณ).
  93. กระจอก
    หมายถึง ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
  94. กระจอกงอกง่อย
    หมายถึง ว. ยากจนเข็ญใจ.
  95. กระจอกชวา
    หมายถึง น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Padda oryzivora ในวงศ์ Estrildidae มีถิ่นกำเนิดในเกาะชวาและเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เคยนำมาเลี้ยงใช้เสี่ยงทาย จึงเรียกว่า นกหมอดู.
  96. กระจอกเทศ
    หมายถึง น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus ในวงศ์ Struthionidae ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.
  97. กระจองงอง,กระจองงอง ๆ
    หมายถึง ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  98. กระจองหง่อง,กระจ๋องหง่อง
    หมายถึง ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
  99. กระจองอแง
    หมายถึง ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรำคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็กแดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง.
  100. กระจอนหู
    หมายถึง (ถิ่น) น. ตุ้มหู. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 4)"