พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 3)

  1. กรพินธุ์
    หมายถึง [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คำหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
  2. กรภุม
    หมายถึง [กอระ-] (โบ) น. กระพุ่ม เช่น สนธยากรภุมบุษปบังคมบำบวงสรณ. (อนิรุทธ์).
  3. กรม
    หมายถึง [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุ :ํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุ ํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
  4. กรม
    หมายถึง [กฺรม] ดู เหมือดโลด
  5. กรม
    หมายถึง [กฺรม] (โบ; กลอน) ย่อมาจากคำว่า กรรม เช่น อวยสรรพเพียญชนพิธี- กรมเสร็จกำนนถวาย. (ดุษฎีสังเวย).
  6. กรม
    หมายถึง [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  7. กรม
    หมายถึง [กฺรม] (แบบ) น. ลำดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุ ํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุ ํ = ครอบครัวหนึ่ง].
  8. กรม
    หมายถึง [กฺรม] (โบ) ย่อมาจากคำว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ยมิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
  9. กรมกรอม
    หมายถึง ก. ระทมใจจนเหี่ยวแห้ง, ตรมตรอม ก็ว่า.
  10. กรมการ
    หมายถึง [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
  11. กรมการจังหวัด
    หมายถึง น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
  12. กรมการนอกทำเนียบ
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  13. กรมการพิเศษ
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  14. กรมการอำเภอ
    หมายถึง (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละคนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
  15. กรมการในทำเนียบ
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
  16. กรมท่า
    หมายถึง [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า. ว. สีขาบ, สีนํ้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  17. กรมท่าขวา
    หมายถึง [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับชนชาวแขก.
  18. กรมท่าซ้าย
    หมายถึง [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับชนชาวจีน.
  19. กรมธรรม์
    หมายถึง [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  20. กรมธรรม์ประกันภัย
    หมายถึง (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  21. กรมนา
    หมายถึง [กฺรมมะ-] ดู กรม
  22. กรมวัง
    หมายถึง [กฺรมมะ-] น. แผนกราชการที่บริหารกิจการในพระราชสำนัก; ข้าราชการแผนกนี้ เช่น กรมวังรับสั่งใส่เกศี. (อิเหนา).
  23. กรมศักดิ์
    หมายถึง [กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกำหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรงหนักเบาของความผิดที่กระทำ. (สามดวง).
  24. กรมเกรียม
    หมายถึง ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้ว่า เกรียมกรม ตรมเตรียม หรือ เตรียมตรม ก็มี เช่น จักขานความที่เกรียมกรม. (กฤษณา).
  25. กรร
    หมายถึง [กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.
  26. กรร
    หมายถึง [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
  27. กรร
    หมายถึง [กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
  28. กรร-
    หมายถึง [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
  29. กรรกง
    หมายถึง [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จำเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
  30. กรรกฎ
    หมายถึง [กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  31. กรรกศ
    หมายถึง [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
  32. กรรชิง
    หมายถึง [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่นรับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้ายร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกำมะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและนํ้าเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
  33. กรรชิด
    หมายถึง [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
  34. กรรซ้นน
    หมายถึง [กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คำหลวง กุมาร).
  35. กรรฐา
    หมายถึง [กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
  36. กรรฐ์
    หมายถึง [กัน] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
  37. กรรณ
    หมายถึง [กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
  38. กรรณ-
    หมายถึง [กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
  39. กรรณยุคล
    หมายถึง [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
  40. กรรณา
    หมายถึง [กัน-] (กลอน) ดู กรรณ, กรรณ-.
  41. กรรณิกา
    หมายถึง [กัน-] (แบบ) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺณิกา ว่า ฝักบัว, ช่อฟ้า; ป. กณฺณิกา).
  42. กรรณิการ์
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Nyctanthes arbortristis L. ในวงศ์ Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบขาว หลอดดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี.
  43. กรรดิ
    หมายถึง [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
  44. กรรดิก
    หมายถึง [กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).
  45. กรรดึก
    หมายถึง [กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).
  46. กรรตุ,กรรตุ-
    หมายถึง [กัด, กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำ. (ป. กตฺตุ; ส. กรฺตฺฤ).
  47. กรรตุการก
    หมายถึง [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
  48. กรรตุวาจก
    หมายถึง [กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
  49. กรรตุสัญญา
    หมายถึง [กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).
  50. กรรทบ
    หมายถึง [กัน-] (กลอน) ก. กระทบ เช่น ฟองฟัดซัดดล กรรทบนาวี. (สรรพสิทธิ์).
  51. กรรบาสิก,กรรปาสิก
    หมายถึง [กับบา-, กับปา-] (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก).
  52. กรรบาสิกพัสตร์
    หมายถึง [กับบาสิกะ-] น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). (ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
  53. กรรบิด
    หมายถึง [กัน-] น. มีด, ราชาศัพท์ว่า พระกรรบิด. (ข. กำบิต ว่า มีด).
  54. กรรบูร
    หมายถึง [กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจรมา. (สมุทรโฆษ).
  55. กรรปุระ
    หมายถึง [กัน-] (กลอน) น. ศอก. (ดู กโบร).
  56. กรรพุม,กรรพุ่ม
    หมายถึง [กัน-] (โบ; แผลงมาจาก กระพุ่ม) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม. (ม. คำหลวง ทศพร); พุ่ม เช่น กรรพุมมาลย์ = พุ่มดอกไม้.
  57. กรรภิรมย์
    หมายถึง [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสำรับหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนำช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
  58. กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
    หมายถึง [กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.
  59. กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
    หมายถึง [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  60. กรรมกร
    หมายถึง [กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
  61. กรรมกรณ์
    หมายถึง [กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
  62. กรรมการ
    หมายถึง (โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).
  63. กรรมการ
    หมายถึง [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  64. กรรมการก
    หมายถึง [กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.
  65. กรรมการิณี
    หมายถึง [กำมะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).
  66. กรรมขัย
    หมายถึง [กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).
  67. กรรมคติ
    หมายถึง [กำมะคะติ] น. ทางดำเนินแห่งกรรม. (ส. กรฺม + ส., ป. คติ ว่า ที่ไป).
  68. กรรมชรูป
    หมายถึง [กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).
  69. กรรมชวาต
    หมายถึง [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
  70. กรรมฐาน
    หมายถึง [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺาน).
  71. กรรมบถ
    หมายถึง [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
  72. กรรมพันธุ์
    หมายถึง [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  73. กรรมวาจก
    หมายถึง [กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.
  74. กรรมวาจา
    หมายถึง [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).
  75. กรรมวาจาจารย์
    หมายถึง [กำมะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สำเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  76. กรรมวิธี
    หมายถึง [กำมะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม.
  77. กรรมวิบาก
    หมายถึง [กำมะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).
  78. กรรมศาลา
    หมายถึง [กำมะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).
  79. กรรมสัมปาทิก
    หมายถึง [กำมะสำปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  80. กรรมสิทธิ์
    หมายถึง [กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  81. กรรมสิทธิ์รวม
    หมายถึง (กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
  82. กรรมัชวาต
    หมายถึง [กำมัดชะ-] ดู กรรมชวาต
  83. กรรมาชีพ
    หมายถึง [กำ-] น. คำเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).
  84. กรรมาธิการ
    หมายถึง [กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  85. กรรมาร
    หมายถึง [กำมาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
  86. กรรมเวร
    หมายถึง [กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  87. กรรม์
    หมายถึง [กัน] (กลอน) น. กรรม.
  88. กรรม์ภิรมย์
    หมายถึง ดู กรรภิรมย์
  89. กรรลี
    หมายถึง [กัน-] น. โทษ. (ส. กลี แผลงเป็น กระลี และแผลง กระลี เป็น กรรลี).
  90. กรรลึง
    หมายถึง [กัน-] (กลอน; แผลงมาจาก กระลึง) ก. จับ.
  91. กรรษก
    หมายถึง [กัดสก] (แบบ) น. ชาวนา. (ส. กรฺษก; ป.กสฺสก).
  92. กรรสะ
    หมายถึง [กัน-] (ราชา) ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).
  93. กรรหาย
    หมายถึง [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  94. กรรุณา
    หมายถึง [กฺระ-] (โบ) น. กรุณา เช่น ถ้าทรงพระกรรุณา. (สามดวง).
  95. กรรเกด
    หมายถึง [กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์. (ทวาทศมาส).
  96. กรรเจียก
    หมายถึง [กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่าหู].
  97. กรรเจียกจอน
    หมายถึง น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
  98. กรรเชอ
    หมายถึง [กัน-] (โบ) น. กระเชอ.
  99. กรรเชียง
    หมายถึง [กัน-] น. เครื่องพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสำหรับพาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี.
  100. กรรเชียงปู
    หมายถึง [กัน-] น. เรียกขาคู่สุดท้ายของปูในวงศ์ Portunidae เช่น ปูม้า ปูทะเล ซึ่งปล้องปลายมีลักษณะแบนคล้ายใบพาย, กระเชียงปู ก็เรียก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 3)"