พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 2)

  1. กติกา
    หมายถึง [กะ-] น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (กฎ) หนังสือสัญญา; ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).
  2. กติกาสัญญา
    หมายถึง (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศ. (อ. pact).
  3. กตเวทิตา
    หมายถึง [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
  4. กตเวที
    หมายถึง [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  5. กถา
    หมายถึง [กะ-] น. ถ้อยคำ, เรื่อง, คำอธิบาย, คำกล่าว. (ป.).
  6. กถามรรค
    หมายถึง [-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).
  7. กถามรรคเทศนา
    หมายถึง [-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. (ส. -เทศนา ว่า การแสดง).
  8. กถามุข
    หมายถึง น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง. (ป.; ส. -มุข ว่า หน้า).
  9. กถิกาจารย์
    หมายถึง [กะถิกาจาน] (แบบ) น. อาจารย์ผู้กล่าว. (ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
  10. กทรรป
    หมายถึง [กะทับ] (แบบ) ก. กำหนัด เช่น ตรูกามกทรรปหฤทัย. (สมุทรโฆษ). (ส. กนฺทรฺป ว่า กามเทพ).
  11. กทลี
    หมายถึง [กะทะ-] (แบบ) น. กล้วย. (ป.).
  12. กน
    หมายถึง (โบ) ก. มัว, คอย, เฝ้า, เช่น จะกนกินแต่นํ้าตาอนาทร. (นิ. ลอนดอน).
  13. กน
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  14. กนก
    หมายถึง [กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาสเช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).
  15. กนิษฐ-
    หมายถึง [กะนิดถะ-] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).
  16. กนิษฐ
    หมายถึง [กะนิดถะ-] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).
  17. กนิษฐภคินี
    หมายถึง น. น้องหญิง. (-ป., ส. ภคินี ว่า น้องหญิง).
  18. กนิษฐภาดา
    หมายถึง น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).
  19. กนิษฐา
    หมายถึง (กลอน) น. น้องสาว, คู่กับ เชษฐา คือ พี่ชาย; (ราชา) นิ้วก้อย ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).
  20. กนิษฐ์
    หมายถึง [กะนิด] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).
  21. กบ
    หมายถึง น. (๑) ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่าใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก.
  22. กบ
    หมายถึง น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่างหรือประตู ทำหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  23. กบ
    หมายถึง ก. ประกบ.
  24. กบ
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายนํ้าดำนํ้าได้เร็ว มักวางไข่ในนํ้า เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในนํ้าเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  25. กบ
    หมายถึง ดู คางคก
  26. กบ
    หมายถึง ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
  27. กบ
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด ว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ.
  28. กบ
    หมายถึง น. เครื่องมือช่างไม้สำหรับไสไม้ ทำหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  29. กบฏ
    หมายถึง [กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).
  30. กบดาน
    หมายถึง ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้นํ้า เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา.
  31. กบทู
    หมายถึง น. สันแห่งหลังคาเรือน, ไม้ข่มข้างกลอน.
  32. กบทูด
    หมายถึง น. ชื่อกบภูเขาขนาดใหญ่ชนิด Rana blythii ในวงศ์ Ranidae ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ตัวยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร อาศัยในป่าดงดิบชื้นตามลำธารบนภูเขา.
  33. กบนา
    หมายถึง น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลายสีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  34. กบบัว
    หมายถึง น. ชื่อกบชนิด Rana erythraea ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว ขนาดเล็กกว่ากบนา มักอาศัยอยู่ตามกอบัว จึงมีผู้เรียกว่า เขียดบัว และร้องเสียงจิ๊ก ๆ บางครั้งจึงเรียกว่า เขียดจิก.
  35. กบาล
    หมายถึง [กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).
  36. กบินทร์
    หมายถึง [กะ-] (แบบ) น. พญาลิง, กเบนทร์ ก็ว่า. (ป., ส. กปิ = ลิง + ส. อินฺทฺร = ผู้เป็นใหญ่).
  37. กบิล
    หมายถึง [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คำนี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด,จำพวก, ตระกูล).
  38. กบิล
    หมายถึง [กะบิน] (แบบ) น. ลิง. (ส. กปิล).
  39. กบี่
    หมายถึง [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
  40. กบี่ธุช
    หมายถึง ดู กระบี่ธุช
  41. กบูร
    หมายถึง [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
  42. กบเต้น
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).
  43. กบเต้นกลางสระบัว
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
  44. กบเต้นต่อยหอย
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า คิดยิ่งแสนแค้นยิ่งศรเสียบทรวงหมอง.
  45. กบเต้นสลักเพชร
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บเรียมห่างจางรักให้ใจเรียมหวน.
  46. กบเต้นสามตอน
    หมายถึง น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บคำจำคิดจิตขวย.
  47. กบเลือกนาย
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
  48. กบแจะ
    หมายถึง (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
  49. กบในกะลาครอบ
    หมายถึง (สำ) น. ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.
  50. กปณ
    หมายถึง [กะปะนะ] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป.).
  51. กปณก
    หมายถึง [กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณ).
  52. กปณา
    หมายถึง [กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ).
  53. กปิ
    หมายถึง [กะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน. (พากย์). (ป., ส.).
  54. กปิตัน
    หมายถึง (โบ) น. กัปตัน, นายเรือ; หัวหน้าหมู่ชน.
  55. กม
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด ว่า แม่กม หรือ มาตรากม.
  56. กม
    หมายถึง (โบ) ก. กุม เช่น เกลือกเจ้าแม่มาคิดคม ครุบคั้นกินกม บไว้บวางตัวตู. (เสือโค).
  57. กมณฑลาภิเษก
    หมายถึง [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อนํ้าสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อนํ้า + ส. อภิเษก = รด).
  58. กมณฑโลทก
    หมายถึง [กะมนทะ-] (แบบ) น. นํ้าในหม้อ เช่น ชำระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = นํ้า).
  59. กมล
    หมายถึง น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  60. กมล-
    หมายถึง [กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  61. กมล
    หมายถึง [กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
  62. กมลา
    หมายถึง [กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  63. กมลาศ
    หมายถึง [กะมะลาด] (กลอน) น. บัว; ใจ. (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต).
  64. กมลาสน์
    หมายถึง [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
  65. กมัณฑลุ
    หมายถึง [กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
  66. กมุท
    หมายถึง [กะมุด] (แบบ) น. บัว เช่น ส่งดวงกมุทให้กัณหา. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป., ส. กุมุท ว่า บัวสายดอกขาว).
  67. กมเลศ
    หมายถึง [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ในสันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
  68. กร
    หมายถึง [กอน] น. ผู้ทำ, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น กรรมกร เกษตรกร. (ป.).
  69. กร
    หมายถึง [กอน] น. แสง, ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่น รัชนีกร. (ป.).
  70. กร
    หมายถึง [กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อนดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).
  71. กรก
    หมายถึง [กะหฺรก] (แบบ) น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ. (ป., ส.).
  72. กรก-
    หมายถึง [กะระกะ-] (แบบ) น. ลูกเห็บ เช่น กรกวรรษ = ฝนลูกเห็บ. (ป., ส.).
  73. กรกช
    หมายถึง [กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  74. กรกฎ
    หมายถึง [กอระกด] (แบบ) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน); ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ ในจักรราศี. (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  75. กรกฎาคม
    หมายถึง [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
  76. กรกฏ
    หมายถึง [กอระกด] (แบบ) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร. (ม. ร่ายยาว มหาพน); ชื่อกลุ่มดาวรูปปู เรียกว่า ราศีกรกฎ เป็นราศีที่ ๓ ในจักรราศี. (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
  77. กรกัติ
    หมายถึง [กฺระกัด] (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  78. กรง
    หมายถึง [กฺรง] น. สิ่งที่ทำเป็นซี่ ๆ สำหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  79. กรงทอง
    หมายถึง (ราชา) น. เรียกเปลที่ทำเป็นลูกกรง ว่า พระกรงทอง.
  80. กรงเล็บ
    หมายถึง น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
  81. กรชกาย
    หมายถึง [กะระชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย. (ดู กรัชกาย).
  82. กรณฑ์
    หมายถึง [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่นํ้า เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
  83. กรณฑ์
    หมายถึง [กฺรน] (คณิต) น. เรียกเครื่องหมาย ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธีหาค่าจากจำนวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น จะได้ ๗ จะได้ -๓.
  84. กรณิการ์
    หมายถึง [กะระ-] น. กรรณิการ์.
  85. กรณี
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทำ).
  86. กรณีย-
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
  87. กรณีย
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
  88. กรณียกิจ
    หมายถึง น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทำ.
  89. กรณียะ
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
  90. กรณีย์
    หมายถึง [กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
  91. กรด
    หมายถึง [กฺรด] (ปาก) ว. ยิ่ง, มาก, เช่น ไวเป็นกรด ฉลาดเป็นกรด.
  92. กรด
    หมายถึง [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  93. กรด
    หมายถึง [กฺรด] น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกานํ้า. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
  94. กรด
    หมายถึง [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่งมาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  95. กรด
    หมายถึง [กฺรด] ว. คมมีลักษณะที่กัดกร่อนหรือตัดสิ่งของได้ เช่น นํ้ากรด = นํ้าที่คม ลมกรด = ลมที่คม.
  96. กรน
    หมายถึง [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลำคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอหอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
  97. กรนทา
    หมายถึง [กฺรน-] (โบ) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
  98. กรนนเช้า
    หมายถึง [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
  99. กรบ
    หมายถึง [กฺรบ] น. เครื่องแทงปลา ทำด้วยไม้ ๓ อัน มัดติดกัน มีลักษณะคล้าย ๓ เส้า สวมเหล็กแหลมที่ปลาย ด้ามรูปงอคล้ายไม้เท้า.
  100. กรบูร
    หมายถึง [กะระบูน] น. การบูร.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 2)"