พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 10)

  1. กระลำพุก
    หมายถึง ดู ตะลุมพุก ๓.
  2. กระลิง
    หมายถึง (กลอน) ก. จับ, ถือ, โดยมากใช้เป็น กระลึง.
  3. กระลี
    หมายถึง น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.
  4. กระลึง
    หมายถึง (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ).
  5. กระลุมพาง
    หมายถึง น. กลองหน้าเดียว, โบราณเขียนเป็น กรลุมพาง ก็มี.
  6. กระลุมพุก
    หมายถึง (ปาก) น. ไม้ตะลุมพุก.
  7. กระลุมพุก
    หมายถึง ดู ตะลุมพุก ๓.
  8. กระลุมพุก
    หมายถึง (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก ๒).
  9. กระลุมพู
    หมายถึง น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู).
  10. กระลูน
    หมายถึง (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  11. กระลู่น์
    หมายถึง ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
  12. กระวน
    หมายถึง (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
  13. กระวนกระวาย
    หมายถึง ก. วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข.
  14. กระวัด
    หมายถึง [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
  15. กระวาด,-กระวาด
    หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระวี และ กระวูด เป็น กระวีกระวาด และ กระวูดกระวาด.
  16. กระวาน
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ).
  17. กระวาน
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
  18. กระวาย
    หมายถึง (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคำ กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
  19. กระวายกระวน
    หมายถึง ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
  20. กระวิน
    หมายถึง น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทำด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน.
  21. กระวิน
    หมายถึง (โบ) ว. สีนํ้าตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).
  22. กระวี
    หมายถึง น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
  23. กระวี
    หมายถึง (โบ) ก. แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี).
  24. กระวีกระวาด
    หมายถึง ว. รีบเร่งอย่างไม่นอนใจ.
  25. กระวีชาติ
    หมายถึง น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  26. กระวูดกระวาด
    หมายถึง ว. กระวีกระวาด, ทำโดยเร็วอย่างลมพัดวูดวาด.
  27. กระว่า
    หมายถึง (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
  28. กระศก
    หมายถึง [-สก] (โบ) ก. ข้อน. (จินดามณี).
  29. กระศัย
    หมายถึง (เลิก) น. กระษัย.
  30. กระษัตริย์
    หมายถึง [-สัด] (โบ) น. กษัตริย์.
  31. กระษัตรี
    หมายถึง [-สัดตฺรี] (โบ) น. ผู้หญิง.
  32. กระษัย
    หมายถึง [-ไส] น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
  33. กระษัยกล่อน
    หมายถึง [-ไสกฺล่อน] น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณ ทำให้ร่างกายผอมแห้ง เกิดจากโรคกล่อน.
  34. กระษาปณ์
    หมายถึง [-สาบ] น. เงินตราที่ทำด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. (ส. การฺษาปณ; ป. กหาปณ).
  35. กระษิร
    หมายถึง [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
  36. กระสง
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลำตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดำ.
  37. กระสน,-กระสน
    หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระเสือก เป็น กระเสือกกระสน.
  38. กระสบ
    หมายถึง น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
  39. กระสม
    หมายถึง น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สำหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว).
  40. กระสรวล
    หมายถึง [-สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์).
  41. กระสร้อย
    หมายถึง น. ปลาสร้อย. (ดู สร้อย ๒).
  42. กระสวน
    หมายถึง น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.
  43. กระสวย
    หมายถึง น. เครื่องบรรจุด้ายสำหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า.
  44. กระสอบ
    หมายถึง น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สำหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ.
  45. กระสอบทราย
    หมายถึง น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  46. กระสะ
    หมายถึง น. ดินหรือหินหรือทรายเป็นต้นที่อยู่ในบ่อแร่ ซึ่งให้ผลเป็นสินค้าแก่ผู้ทำแร่, ขี้ผงของแร่.
  47. กระสัง
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
  48. กระสัง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลำต้นอวบนํ้า.
  49. กระสัน
    หมายถึง ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  50. กระสับกระส่าย
    หมายถึง ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
  51. กระสา
    หมายถึง น. ชื่องูชนิดหนึ่ง เช่น งูไซงูกระสา. (ไตรภูมิ).
  52. กระสา
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Ciconiidae ขนาดใหญ่เกือบเท่านกกระเรียน ปากหนายาวปลายแหลมตรง คอและขายาว เวลาบินคอจะยืดตรงเหมือนนกกระเรียน ทำรังด้วยกิ่งไม้อยู่บนยอดไม้สูง ๆ กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น กระสาขาว (Ciconia ciconia) กระสาคอดำ (Ephippiorhynchus asiaticus).
  53. กระสา
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
  54. กระสานติ์
    หมายถึง (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เขียนเป็น กรสานต์ ก็มี เช่น ดำรงกรษัตรให้กรสานต์. (ยวนพ่าย). (กระ + ป. สนฺติ; ส. ศานฺติ).
  55. กระสาบ
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓).
  56. กระสาบ
    หมายถึง น. หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. (ปาเลกัว).
  57. กระสาย
    หมายถึง น. เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยาทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  58. กระสินธุ
    หมายถึง (โบ; กลอน) น. แม่นํ้า เช่น กระแสกระสินธุสงสาร. (อุเทน). (กระ + ป., ส. สินฺธุ).
  59. กระสือ
    หมายถึง น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
  60. กระสือ
    หมายถึง น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลานไปตามพื้นดิน สามารถทำแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็นจังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
  61. กระสือ
    หมายถึง น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  62. กระสือดูด
    หมายถึง น. เรียกผลกล้วยที่แกร็นทั้งเครือ. (ปาก) ว. เรียกคนที่ซูบซีด.
  63. กระสุงกระสิง
    หมายถึง ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว).
  64. กระสุน
    หมายถึง น. เครื่องยิงมีคัน ใช้สายโก่งยิงด้วยลูกดินปั้นกลมซึ่งเรียกว่า ลูกกระสุน; ลูกปืน.
  65. กระสุนปืน
    หมายถึง น. ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน.
  66. กระสุนวิถี
    หมายถึง น. ทางแห่งกระสุน, วิถีกระสุน ก็ว่า.
  67. กระสูทธิ์
    หมายถึง น. กรสุทธิ์. (ดู กรสุทธิ์).
  68. กระสูบ
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลำตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดำ ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดำ ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.
  69. กระส่าย,-กระส่าย
    หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.
  70. กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง
    หมายถึง (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.
  71. กระหน
    หมายถึง (โบ) ก. ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย. (ข. กฺรหล่).
  72. กระหนก
    หมายถึง น. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.
  73. กระหนก
    หมายถึง (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด.
  74. กระหนกกินรี,กระหนกนฤมิต
    หมายถึง ดู กระหนกนารี.
  75. กระหนกนารี
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Rhektophyllum mirabile N.E. Br. ในวงศ์ Araceae ต้นมีไหลเลื้อยเหนือพื้นดินแยกออกไปเป็นต้นใหม่ได้ ใบคล้ายใบบอนสี มีลายขาวตามเส้นใบ, กระหนกกินรี กระหนกนฤมิต บอนลายกระหนก หรือ แม้นเขียน ก็เรียก.
  76. กระหนาก
    หมายถึง (แผลงมาจาก ขนาก) ดู ขนาก.
  77. กระหนาบ
    หมายถึง ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ).
  78. กระหนาบคาบเกี่ยว
    หมายถึง ว. ประชิดเหลื่อมลํ้ากัน.
  79. กระหน่อง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  80. กระหน่ำ
    หมายถึง ว. ซํ้า ๆ ลงอย่างหนัก.
  81. กระหมวด
    หมายถึง ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
  82. กระหมวด
    หมายถึง น. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.
  83. กระหมอบ
    หมายถึง (กลอน) ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที. (คาวี).
  84. กระหมั่ง
    หมายถึง (กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อ กระหมั่ง. (ลอ).
  85. กระหมิด,-กระหมิด
    หมายถึง ใช้เข้าคู่กับคำ กระหมุด เป็น กระหมุดกระหมิด.
  86. กระหมิบ
    หมายถึง ก. ทำปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.
  87. กระหมุดกระหมิด
    หมายถึง ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  88. กระหมุบ
    หมายถึง ก. เต้นตุบ ๆ. (แผลงมาจาก ขมุบ).
  89. กระหมุบกระหมิบ
    หมายถึง ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  90. กระหมุ่น
    หมายถึง (โบ) ว. มุ่น; ขุ่น เช่น นํ้าใช้และนํ้าฉัน นานหลายวันเป็นกระหมุ่น. (ขมุ่น หรือ ขนุ่น ทางเหนือว่า ขี้ตะกอน, ทางใต้ใช้ว่า หมวน).
  91. กระหม่อม
    หมายถึง น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  92. กระหม่อมบาง
    หมายถึง (สำ) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกนํ้าค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
  93. กระหม่า
    หมายถึง (โบ) ก. ประหม่า, สะทกสะท้าน, พรั่นใจ, เช่น กระมลบ้ากระหม่ามะเมอ. (สมุทรโฆษ).
  94. กระหยด
    หมายถึง (โบ; แผลงมาจาก ขยด) ก. ถด, ถอย, เขยิบ, เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  95. กระหยบ
    หมายถึง (โบ) ก. หมอบ เช่น ฟุบกบกระหยบเงียบมิเกรียบไว้. (มโนห์รา); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) แอบ, ซ่อน, ซุก.
  96. กระหยะ
    หมายถึง น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแลผงเลือดไร. (อภิไธยโพธิบาทว์). (แผลงมาจาก ขยะ).
  97. กระหยัง
    หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสำหรับใส่ของ.
  98. กระหยับ
    หมายถึง (กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).
  99. กระหยาง
    หมายถึง ดู กระยาง ๑.
  100. กระหยิ่ม
    หมายถึง ก. กริ่ม คือ ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. (แผลงมาจาก ขยิ่ม).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ก (หน้าที่ 10)"