พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม

คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ

รวมคำในภาษาไทย ประเภท คำนาม

คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. กามจาริน
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ไปตามอำเภอใจ
  2. กามายุส
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ที่อยู่อย่างสบาย
  3. การันต์
    หมายถึง “ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคำว่า “การันต์” (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์
  4. กาศยป
    หมายถึง ครุฑ, บุตรของฤษี กัศยป และ นางวินตา
  5. กาศยปิ
    หมายถึง ครุฑ, บุตรของฤษี กัศยป และ นางวินตา
  6. ขเคศวร
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นใหญ่แห่งนก
  7. คคเนศวร
    หมายถึง ครุฑ, เจ้าแห่งฟ้า, เจ้าแห่งอากาศ
  8. ครุฑมาน
    หมายถึง ครุฑ, เจ้าแห่งนก
  9. คำพ้องความ
    หมายถึง คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า
  10. คำพ้องรูป
    หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  11. คำพ้องเสียง
    หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
  12. คำไวพจน์
    หมายถึง ดู ไวพจน์
  13. จิราท
    หมายถึง ครุฑ, ผู้กินนาค
  14. ตรัสวิน
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เคลื่อนที่เร็ว
  15. ทัณฑฆาต
    หมายถึง ชื่อเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง มีรูปดังนี้ ( ์ ) ไม้ทัณฑฆาต ก็ว่า
  16. นาคนาศนะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  17. นาคานดก
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  18. นาคานตกะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค
  19. ภูธเรศ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  20. ภูธเรศวร
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  21. ภูนาถ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  22. ภูนายก
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  23. ภูบดินทร์
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  24. ภูบดี
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  25. ภูบาล
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  26. ภูป
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  27. ภูภุช
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  28. ภูเนตุ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  29. ภูเบนทร์
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  30. ภูเบศ
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  31. ภูเบศวร์
    หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)
  32. มัณฑะเลย์
    หมายถึง น. มัณฑะเลย์ เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียง
  33. รสชาติ
    หมายถึง [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย
  34. รสายนะ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ว่องไวดุจปรอท
  35. รักตปักษ์
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีปีกสีแดง
  36. วัชรชิต
    หมายถึง ครุฑ, ผู้พิชิตสายฟ้า
  37. วิษณุรถ
    หมายถึง ครุฑ, เป็นพาหนะของพระวิษณุ
  38. สรรปาราติ
    หมายถึง ครุฑ, ศัตรูแห่งงู
  39. สิตามัน
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีหน้าสีขาว
  40. สิทธัตถะ
    หมายถึง พระนามพระพุทธเจ้า
  41. สิทธัตถะ
    หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว
  42. สุธาหรณ์
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต
  43. สุบรรณ
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีปีกงาม
  44. สุวรรณกาย
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีกายสีทอง
  45. สุเรนทรชิต
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ชนะพระอินทร์
  46. ส้มเหม็น
    หมายถึง ส้มเขียวหวานอ่อน ที่ปกติแล้วหากส้มเขียวหวานเป็นลูกดก ชาวสวนต้องทำการเด็ดลูกที่อ่อนบางส่วนทิ้งเพื่อให้เหลือจำนวนหมาะสมที่จะโตสวย บางส่วนก็ทิ้งลงร่องน้ำปล่อยเป็นปุ๋ยไป แต่ก็มีบางส่วนนำมาปรุงอาหารที่ออกรสเปรี้ยวเพื่อไม่ให้เสียเปล่า
  47. หญ้าแพรก
    หมายถึง ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้
  48. หญ้าแพรก
    หมายถึง สามัญชน, คนธรรมดา
  49. อนุภรรยา
    หมายถึง เมียน้อย
  50. อนุภริยา
    หมายถึง เมียน้อย
  51. อมฤตาหรณ์
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต
  52. เฌอเอม
    หมายถึง ชะเอม ก็ว่า
  53. เดือน
    หมายถึง หน่วยการนับวัน เป็นส่วนของปีโดยปกติเดือนจะมี 30 วันหรือ 4 สัปดาห์โดยประมาณ และใน 1 ปีจะมีทั้งหมด 12 เดือน
  54. เดือน
    หมายถึง ส่วนของปี โดยปรกติมี ๓๐ วัน.
  55. เดือน
    หมายถึง ดวงจันทร์
  56. เบญจธรรม
    หมายถึง ธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล
  57. เบญจธรรม
    หมายถึง หลักธรรม 5 ประการที่ควรปฏิบัติ
  58. เบญจศีล
    หมายถึง ศีล ๕ ได้แก่ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย คู่กับ เบญจธรรม
  59. เมียน้อย
    หมายถึง หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวงหรือไม่ได้จดทะเบียน
  60. เวนไตย
    หมายถึง ครุฑ, บุตรของนางวินตา กับ ฤษี กัศยป
  61. เศวตโรหิต
    หมายถึง ครุฑ, ผู้มีสีขาวและแดง
  62. เหม็น
    หมายถึง ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น
  63. โสตทัศนูปกรณ์
    หมายถึง อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, โสตทัศนอุปกรณ์ ก็ว่า
  64. ใบอนุญาต
    หมายถึง เอกสารอนุญาตให้ทำกิจหรือให้มีสิทธิตามขอ ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่
  65. ไม้ทัณฑฆาต
    หมายถึง เครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ( ์ ) ทัณฑฆาต ก็ว่า
  66. ไวพจน์
    หมายถึง คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)
  67. ไวพจน์
    หมายถึง (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม"